ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับผู้สูงอายุ มุกไม่ใหม่ แต่ผู้ใหญ่ควรรู้!

Loading

  วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับผู้สูงอายุ เพราะมิจฉาชีพมีแนวโน้มพุ่งเป้าหมายไปที่ผู้สูงอายุทางออนไลน์มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัยที่ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างทันการณ์ ซึ่งช่องโหว่นี้ถูกใช้เป็นช่องทางการทำทุจริตและฉ้อโกงของกลุ่มมิจฉาชีพ ดังนั้น เพื่อก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเองมีความต้องการที่จะมองหาคนที่จะสามารถสอนอธิบายเครื่องมือใหม่ๆ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้องการรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมและแตกต่างจากคนทั่วไป บทความนี้ได้รวบรวมเคล็ดลับด้านความปลอดภัย ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุจะไม่ตกเป็นเหยื่อกลอุบายของกลุ่มมิจฉาชีพทางออนไลน์ วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับผู้สูงอายุ มุกไม่ใหม่ แต่ผู้ใหญ่ควรรู้! เปิดใช้งานการตั้งค่าความปลอดภัยเหล่านี้ในโทรศัพท์มือถือ 1. เปิดตั้งค่าล็อกโทรศัพท์ โดยคุณมีสามตัวเลือกหลักเกี่ยวกับการล็อกโทรศัพท์: รหัสผ่าน , PIN หรือไบโอเมตริกซ์ รหัสผ่านเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุด ตามหลักการแล้ว รหัสผ่านของคุณควรมีความยาวอย่างน้อย 12 ตัวอักษรและประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขปนกันไป คุณอาจตั้งรหัสด้วยแบบนี้ดังนั้นรหัสผ่านที่มีชื่อคู่สมรสของคุณและปีที่คุณพบจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  2. ซ่อนการแสดงตัวอย่างการแจ้งเตือน เพราะเป็นความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แม้ว่าโทรศัพท์ของคุณจะล็อกอยู่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น หากคุณทำโทรศัพท์หาย ทุกคนสามารถอ่านข้อความของคุณได้ และคนแปลกหน้าอาจเห็นข้อมูลที่คุณต้องการเก็บไว้เป็นส่วนตัวได้  3. เปิดอัปเดตอัตโนมัติสำหรับแอปและความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ จะได้ไม่จำเป็นต้องมองหาแอปที่ยังไม่ได้อัปเดตด้วยตนเองเพื่อคอยกดปุ่ม Update โดยทั้ง App Store และ Play Store จะอัปเดตแอปให้คุณโดยอัตโนมัติ แต่เช็กให้แน่ใจว่าคุณใช้ Wi-Fi เพื่อที่การดาวน์โหลดจะไม่เกี่ยวกับใช้บนเครื่อข่ายมือถือ 4G ,…

กลยุทธ์การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ / ธวัช เพลินประภาพร

Loading

  ณ ปัจจุบัน การบริหารจัดการด้าน Cyber Security เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ การจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและแข็งแกร่งพร้อมที่จะรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ จำเป็นต้องขับเคลื่อนควบคู่กับ 3 องค์ประกอบหลัก คือ People, Process และ Technology ซึ่งถ้าสิ่งหนึ่ง สิ่งใดไม่พร้อม อาจจะทำให้เกิดช่องโหว่ที่ทำให้ถูกโจมตีและการเกิดภัยคุกคามได้ ขณะเดียวกัน ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญกับกฎหมาย PDPA โดยมุ่งเน้นเรื่อง Policy และ Notice เพื่อรองรับการบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จนมองข้ามการดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงระบบปฏิบัติการ และแอปพลิเคชันต่างๆ ภายในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน เนื่องจากหากเกิดช่องโหว่ขึ้นแล้ว อาจทำให้เกิดความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กรได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กันไปเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์จากทั้งภายในและภายนอก ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทางไซเบอร์สามารถส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทุกวงการอย่างต่อเนื่อง เพราะในปัจจุบัน รูปแบบการโจมตีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากเหตุการณ์ใหญ่ที่มีข่าวเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย จะพบว่า Attacker ใช้การโจมตีในทุกรูปแบบไว้ในเหตุการณ์เดียว เช่น การเริ่มโจมตีโดยการส่งอีเมลหลอกลวง (Phishing) เพื่อหาทางให้เข้าถึงระบบของเหยื่อได้ หลังจากนั้นก็จะพยายามขโมยข้อมูลสำคัญๆ ของเหยื่อออกมาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ และหลังจากนั้น ก็ทำการเข้ารหัสข้อมูลในระบบเพื่อให้ระบบไม่สามารถใช้งาน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่…