ปธน.ฝรั่งเศส ประกาศเพิ่มงบประมาณทางทหาร ป้องกันภัยคุกคามหลายด้าน

Loading

    ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส เดินทางตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ทหารที่ฐานทัพอากาศมง-เดอ-มาร์ซง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส และเปิดเผยว่า โลกกำลังเข้าสู่ความขัดแย้งในยุคใหม่ หลังจากที่สงครามในยูเครนดำเนินมา 11 เดือน ความขัดแย้งต่างๆ ในโลกมีความซับซ้อนกว่าเดิม ทำให้ฝรั่งเศสต้องเพิ่มความเข้มแข็งในการป้องกัน เพื่อปกป้องอิสรภาพ ความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของฝรั่งเศส กรอบงบประมาณ ปี 2567-2573 จึงมีการตั้งงบประมาณการทหารไว้ที่ 413,000 ล้านยูโร (447,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นจาก 295,000 ล้านยูโร (320,000 ล้านดอลลาร์) ในปี 2562-2568 ซึ่งหมายความว่าภายในปี 2573 งบประมาณทางทหารของฝรั่งเศสจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่านับตั้งแต่เขาเป็นประธานาธิบดีในปี 2560 ซึ่งงบประมาณเหล่านี้จะนำไปปรับปรุงคลังแสงนิวเคลียร์ให้ทันสมัย รวมถึงเพิ่มการลงทุนกับโดรนและหน่วยข่าวกรองทางทหาร   แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกและมีอาวุธนิวเคลียร์ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ได้จัดส่งอาวุธสนับสนุนยูเครนเพิ่มเติม ซึ่งกลาโหมฝรั่งเศส ชี้แจงว่า ในปัจจุบันฝรั่งเศสมีปฏิบัติการทางทหารในแอฟริกา และลดงบประมาณทางทหารเป็นเวลานานหลายปีทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ในคำกล่าวล่าสุด ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ไม่ได้ประกาศสนับสนุนอาวุธเพิ่มเติมให้แก่ยูเครน แต่กล่าวว่าฝรั่งเศสต้องเตรียมพร้อมสำหรับยุคใหม่ที่มีภัยคุกคามสะสม…

ญี่ปุ่นเปิดแผนติดเขี้ยวเล็บทางกลาโหม ครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง

Loading

Japan’s Prime Minister Fumio Kishida attends a press conference in Tokyo, Japan, on Dec. 16, 2022.   ญี่ปุ่นเปิดเผยในวันศุกร์ว่าได้เตรียมแผนเสริมความแข็งแกร่งทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยตั้งงบประมาณไว้ที่ 3 แสน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามรายงานของรอยเตอร์   ภายใต้แผนดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลเรื่องสงครามทั้งจากในภูมิภาคเอเชียและการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ญี่ปุ่นจะซื้อขีปนาวุธที่สามารถยิงไปถึงจีน และเตรียมพร้อมหาเกิดความขัดแย้งที่กินเวลายืดเยื้อ   แผนเพิ่มความเข็งแกร่งทางทหารที่จะกินเวลา 5 ปีนี้ ที่จะทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่จัดงบประมาณกลาโหมมูลค่าสูงสุดอันดับสามของโลก มีนัยสำคัญตรงที่ตามประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นมีนโยบายไม่ฝักใฝ่การใช้สงครามในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง   ประเทศที่ใช้งบประมาณด้านกลาโหมมากที่สุดสองอันดับแรกคือสหรัฐฯ ตามมาด้วยจีน   นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ กล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นและชาวแดนอาทิตย์อุทัย กำลังอยู่ ณ จุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ เขากล่าวว่าแผนเพิ่มศักยภาพทางทหารนี้ “คือคำตอบของข้าพเจ้าต่อสิ่งท้าทายมากมายด้านความมั่นคงที่เรากำลังเผชิญอยู่”   รัฐบาลของคิชิดะ กังวลว่า รัสเซียกำลังสร้างตัวอย่างที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ เช่น การที่จีนอาจรุกรานไต้หวัน…