พบข้อมูลรหัสผ่านกว่า 1,400 ล้านรายชื่อพร้อมให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บใต้ดิน

Loading

ทีมนักวิจัยจาก 4iQ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย ออกมาเปิดเผยถึงฐานข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในรูปของ Plain-text ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รวมแล้วกว่า 1,400 ล้านรายการ เปิดให้ดาวน์โหลดผ่าน Dark Web หรือเว็บใต้ดินรวมไปถึง Torrent   ฐานข้อมูลดังกล่าวถูกค้นพบบนฟอรัมเว็บบอร์ดใต้ดินเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา เป็นฐานข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในรูปของ Plain-text ที่รวบรวมมาจากเหตุการณ์ Data Breach ในอดีตจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2017 จำนวนมากกว่า 252 ครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ข้อมูลใหม่ที่เพิ่งรั่วออกสู่สาธารณะ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งประกอบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และอีเมล รวมแล้วประมาณ 1,400 ล้านรายการ และมีขนาดไฟล์ใหญ่ถึง 41 GB ฐานข้อมูลกว่า 1,400 ล้านรายการนี้ ประกอบด้วยบัญชีผู้ใช้ที่หลุดมาจาก Bitcoin, Pastebin, LinkedIn, MySpace, Netflix, YouPorn, Last.FM, Zoosk, Badoo, RedBox รวมไปถึงเกมอย่าง Minecraft…

ข้อมูลลับสุดยอดของกองทัพสหรัฐและ NSA หลุดจาก Amazon S3

Loading

UpGuard บริษัทที่ให้บริการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยได้พบเซิร์ฟเวอร์ S3 อีกตัวหนึ่งที่เป็นของหน่วยงานข่าวกรอง (INSCOM) ภายใต้ความดูแลของ NSA และกองทัพสหรัฐ สืบเนื่องจากเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ UpGuard ได้พบข้อมูลรั่วไหลใน Amazon S3 ของ DOD ไปแล้วซึ่งมีข้อมูล Social Media จากคนทั่วโลกกว่า 1.8 พันล้านโพสต์  นักวิจัยพบ VM ที่มีข้อมูลลับสุดยอด นักวิจัยกล่าวว่าพบไฟล์เสมือนของเครื่อง Linux พร้อมกับ Virtual Hard drive (ที่เก็บข้อมูลของเครื่อง) แม้ว่าจะไม่สามารถนำบูตเครื่องขึ้นมาหรือเข้าถึงไฟล์ใน Virtual Hard drive ได้เนื่องจากมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยของกลาโหม (DOD) ที่ให้เข้าถึงเครื่องได้จากเครือข่ายภายในเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยสามารถค้นหาเนื้อหาของไฟล์ใน SSD image ที่เก็บข้อมูลสำคัญซึ่งบางไฟล์ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทลับสุดยอดและความมั่นคงปลอดภัยของบุคคลต่างชาติ ไฟล์ที่หลุดออกมามีร่องรอยของแพลตฟอร์ม Red Disk ในโฟลเดอร์ของ VM ดังกล่าวได้ชี้ไปถึงระบบที่เป็นส่วนหนึ่งของ Red Disk หรือแพลต์ฟอร์มการประมวลผลของ Cloud ที่ถูกใช้ในระบบกระจายข่าวกรองภาคพื้นของกองทัพ (DGCS-A) โดยกระทรวงกลาโหม ซึ่งตอนแรก Red Disk ถูกคาดหวังว่าจะใช้เป็นศูนย์รวมข้อมูลของหน่วยข่าวกรองเพื่อให้กองทัพสหรัฐได้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทันท่วงทีตามสิทธิ์ของผู้ใช้งาน โดยใช้เงินลงทุนไปกว่า…

โจมตีตู้เอทีเอ็ม ช่องทำเงินของมัลแวร์

Loading

เทรนด์ไมโคร รายงานภาพรวมการโจมตีตู้เอทีเอ็ม ช่องทางทำเงินของมัลแวร์ทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แนะวิธีลดความเสี่ยงทั้งธนาคารลูกค้าผู้ใช้งาน นายเอ็ด คาบรีรา  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์  บริษัท เทรนด์ ไมโคร  ได้เผยแพร่บทความระบุว่า   เทรนด์ ไมโคร และศูนย์อาชญากรรมไซเบอร์แห่งยุโรป (European Cybercrime Center – EC3) ของ ยูโรโพล (Europol) ได้รายงานเกี่ยวกับภาพรวมของมัลแวร์เอทีเอ็มให้กับสาธารณชนได้รับทราบ  โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานของปี 2559 ที่มีการเผยแพร่ในรูปแบบส่วนตัวไปยังสถาบันการเงินและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รายงานนี้ครอบคลุมข้อมูลทุกด้านของมัลแวร์ที่ตั้งเป้าโจมตีเครื่องเอทีเอ็ม รวมถึงผู้กระทำผิดที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี ปัจจุบันเครื่องเอทีเอ็มพร้อมให้บริการสำหรับการโอนเงินระหว่างบุคคล (P2P) โดยมีความโดดเด่นในเรื่องของความพร้อมบริการเงินสด มีต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลง รองรับสกุลเงินต่างๆ และสามารถซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า Crypto Currency ได้ และรายงานข้อมูลที่ได้จากระบบ Coin ATM Radar พบว่า ปัจจุบันมีเครื่องเอทีเอ็มสำหรับบิตคอยน์แล้วเป็นจำนวนเกือบ 1,600 เครื่องทั่วโลก ทั้งนี้ ในอนาคตจะเห็นการทำธุรกรรมเงินสดแบบไม่ต้องใช้บัตร แต่ดำเนินการผ่านโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี Near Field Communication (NFC), Bluetooth และ…

WikiLeaks แฉ Source Code เครื่องมือสอดแนมของ CIA

Loading

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา WikiLeaks ได้เปิดเผยถึงเครื่องมือชุดใหม่ของ CIA รวมไปถึง Source Code ของเครื่องมือที่เรียกว่า Hive ที่สามารถใช้เพื่อควบคุมมัลแวร์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ก่อนหน้านี้ WikiLeaks ได้เคยปล่อยเอกสารที่เป็นของเครื่องมือเหล่านี้ เมื่อเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมแต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ออกมาแสดง Source Code ของชุดเครื่องมือสอดแนมที่ CIA ครอบครองอยู่ Julian Assange ผู้ก่อตั้ง WikiLeaks ได้พูดว่านี่คือซีรี่ย์ใหม่ของเรื่องราวที่เรียกว่า ‘Vault 8’ (เป็นการตั้งชื่อเรื่องราวที่อ้างถึงขึ้นมาเอง) โดย Hive เป็นเพียงแค่ปฐมบทของการเปิดฉากในตอนนี้เท่านั้นและได้รวมรวบ Source Code ของเครื่องมือที่เคยอ้างถึงใน Vault 7  “การเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักข่าวสายสืบสวน ผู้เขี่ยวชาญด้าน Forensic และสาธาราณชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อพิสูจน์และเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบโครงสร้างของ CIA ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังอ้างถึง Hive ว่าได้แก้ปัญหาสำคัญในการทำงานของมัลแวร์ที่ CIA ในเรื่องของมัลแวร์ที่ถูกฝังในเครื่องเหยื่อว่าถ้าหากไม่สามารถติดต่อกับส่วนควบคุมได้อย่างมั่งคงปลอดภัย มันก็ไร้ประโยชน์แม้ว่ามัลแวร์ตัวนั้นจะมีความซับซ้อนแค่ไหนก็ตาม” –WikiLeaks กล่าวในเว็บของตน เมื่อเดือนมีนาคม WikiLeaks ได้รับเอกสารและเครื่องมือเจาะระบบที่ถูกขโมยมาจาก CIA แต่ว่าพวกเขายังไม่เปิดเผยถึง Code เนื่องจากอาจเผยให้เห็นช่องโหว่หรือ Bug ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข…

กรณี Deloitte ยังไม่จบ! ข้อมูล Login สำหรับ VPN และ Proxy ถูกเปิดสาธารณะ เปิด RDP ให้เข้าจากภายนอกโดยตรงได้จำนวนมาก

Loading

ยังไม่จบกับเรื่องราวของ Deloitte ที่เพิ่งมีเหตุข้อมูลรั่วไป อ่านต่อได้ที่ (ยืนยัน Deloitte ถูกแฮ็ค ข้อมูลอีเมลลูกค้ารั่วสู่สาธารณะ) ล่าสุดนี้มีการพบหลักฐานมากมายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยของ Deloitte เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นกรณี Credential ของ VPN ถูกเปิดเผยบน GitHub, Credential ของ Proxy ถูกเผยบน Google+ และยังมีการเปิดให้เชื่อมต่อ RDP เข้าไปยังบริการสำคัญภายใน Deloitte จากภายนอกโดยตรงได้อีกจำนวนมาก ในวันอังคารที่ผ่านมาได้มีผู้พบการเปิดเผยข้อมูล VPN Username, Password และวิธีการใช้งานของ Deloitte บน GitHub ที่เปิดสาธารณะ และปัจจุบันได้ถูกลบออกไปแล้ว รวมถึงยังมีกรณีที่พนักงานของ Deloitte เองได้ทำการอัปโหลดข้อมูล Login Credential สำหรับบริการ Proxy ภายใน Deloitte ขึ้นไปบน Google+ มาแล้วเป็นเวลากว่า 6 เดือน ก่อนจะถูกลบออกไปเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ Dan Tentler…

ยืนยัน Deloitte ถูกแฮ็ค ข้อมูลอีเมลลูกค้ารั่วสู่สาธารณะ

Loading

Deloitte หนึ่งในสี่บิ๊กโฟว์บริษัทด้านการตรวจสอบบัญชี ออกแถลงการณ์ยอมรับ ระบบของบริษัทถูกโจมตีไซเบอร์ ส่งผลให้ข้อมูลความลับ ได้แก่ อีเมลและเอกสารสำคัญของลูกค้าถูกขโมยออกไป Deloitte เป็นหนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีสี่แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้บริการทั้งด้านการบัญชีและที่ปรึกษา ได้แก่ การสอบบัญชี การทำบัญชี การวางแผนยุทธศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการการเงิน และการควบคุมประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการจัดหางานและที่ปรึกษาภาษีอากร รวมถึงการให้บริการธุรกิจแก่รัฐบาลและสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดำเนินการในตลาดเกิดใหม่ รายงานจาก The Guardian ระบุว่า Deloitte แถลงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ระบบอีเมลของบริษัทถูกแฮ็คเกอร์โจมตีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 จนถึงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ลูกค้าส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น “ส่วนน้อยมากๆ” ได้รับผลกระทบ Deloitte ค้นพบว่าบริษัทของตนถูกโจมตีเมื่อเดือนมีนาคม แต่เชื่อว่าแฮ็คเกอร์ (ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร) น่าจะเข้าถึงระบบอีเมลตั้งแต่ช่วยประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2016 ที่ผ่านมา โดยแฮ็คเกอร์ประสบความสำเร็จในการเข้าถึง Email Sever ของ Deloitte ผ่านทางการใช้ชื่อบัญชี Admin ซึ่งไม่ได้ถูกตั้งค่าให้ใช้การพิสูจน์ตัวตนแบบ 2-Factor Authentication ส่งผลให้แฮ็คเกอร์สามารถเข้าถึง Mailbox บนระบบปฏิบัติการ Windows ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นไปได้สูงที่แฮ็คเกอร์สามารถเข้าถึง ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หมายเลข IP…