จีนเตือนนักเรียนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะถูกล่อลวงโดยหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ

Loading

ในโพสต์บนบัญชี WeChat เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนักศึกษาแซ่จางที่คว้าตำแหน่ง “มหาวิทยาลัยชั้นนำ” ในต่างประเทศ แม้ว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่นั่นไม่ผ่าน ประเทศจีน ในปี 2

ช็อก นักเขียนออสเตรเลีย ถูกศาลจีนตัดสินประหาร แต่ให้รอลงอาญา ข้อหาสายลับ

Loading

เมื่อ 5 ก.พ. 2567 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ดร.หยาง เฮงจุน (Yang Hengjun) นักวิชาการและนักเขียนชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีน ถูกศาลในกรุงปักกิ่งตัดสินประหารชีวิตโดยให้รอลงอาญาในข้อหาเป็นสายลับ กระทำผิดกฎหมายจารกรรม หลังถูกจับกุมที่สนามบินเมื่อ 5 ปีก่อน

นายหน้าเปิดโปงวิธีลอบส่งเงินสู่เกาหลีเหนือ

Loading

JUNGMIN CHOI / BBC ฮวัง จี-ซอง อดีตผู้แปรพักตร์มายังเกาหลีใต้เมื่อปี 2009 ผันตัวมาเป็นนายหน้าส่งเงินเข้าไปในเกาหลีเหนือ   “มันเหมือนกับภาพยนตร์สายลับและคนก็เอาชีวิตไปแขวนไว้บนเส้นด้าย” ฮวัง จี-ซอง นายหน้าชาวเกาหลีใต้ซึ่งช่วยผู้แปรพักตร์เกาหลีเหนือส่งเงินกลับไปให้ทางบ้านมากกว่า 10 ปี กล่าว   ฮวัง เล่าว่า เมื่อหลายปีที่แล้ว ชาวเกาหลีเหนือ บัญญัติคำศัพท์ขึ้นมาคำหนึ่งว่า “กิ่งก้านฮัลลาซาน” เพื่อเรียกกลุ่มคนที่รับความช่วยเหลือจากผู้แปรพักตร์เกาหลีเหนือในเกาหลีใต้ คำนี้ตั้งขึ้นจากชื่อภูเขาฮัลลาซาน ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงบนเกาะเจจู   “คนที่มาจากครอบครัวของกิ่งก้านสาขาฮัลลาซานเป็นคู่สมรสที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด และดีกว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ด้วยซ้ำ”   ผลสำรวจจากฐานข้อมูลสิทธิมนุษยชนของชาวเกาหลีเหนือเมื่อปี 2023 ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้แปรพักตร์ราว 400 คน พบว่า ผู้แปรพักตร์จำนวน 63% โอนเงินกลับไปให้ครอบครัวในเกาหลีเหนือ แต่ด้วยการปราบปรามของทางการที่เพิ่มขึ้นทั้งในเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ การส่งเงินข้ามประเทศยิ่งเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น   ตอนนี้การส่งเงินกลับไปยังเกาหลีเหนือกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากมากกว่าเดิม เพราะต้องใช้เครือข่ายนายหน้าและคนส่งเงินที่ซ่อนตัวอย่างลับ ๆ ทั่วทั้งเกาหลีใต้ จีน และเกาหลีเหนือ การติดต่อสื่อสารในทางลับต้องใช้โทรศัพท์ที่ลักลอบโทรจากชายแดนจีนเข้าไปยังพื้นที่ชนบทห่างไกล โดยใช้ชื่อเข้ารหัสหรือชื่อโค้ดในการติดต่อ   ผลประโยชน์จากการเป็นนายหน้าส่งเงินนั้นสูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะการส่งเงินผิดกฎหมายทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้…

อ่วม! อดีตโปรแกรมเมอร์ซีไอเอ เจอคุก 40 ปี ฐานปล่อยข้อมูลลับใน WikiLeaks

Loading

FILE PHOTO REUTERS   สำนักข่าวรอยเตอร์และบีบีซีรายงานว่า นายโจชัว ชูลท์ อดีตเจ้าหน้าที่โปรแกรมเมอร์ของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ) วัย 35 ปี ถูกตัดสินจำคุก 40 ปี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ จากการจารกรรมข้อมูลลับครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของซีไอเอและมีภาพอนาจารเด็กไว้ในครอบครอง   เจสซี เฟอร์แมน ผู้พิพากษาศาลแขวงสหรัฐได้ตัดสินให้ นายชูลท์จำคุก 40 ปีในข้อหาจารกรรม เจาะข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดูหมิ่นศาล ให้การเท็จต่อสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) และมีภาพอนาจารเด็กไว้ในครอบครอง ถึงแม้ว่าชูลท์จะให้การปฏิเสธ แต่เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในหลายข้อหาในการไต่สวนคดีของศาลรัฐบาลกลาง 3 ครั้งในปี 2020, 2022 และ 2023   ชูลท์ทำงานเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับศูนย์ข่าวกรองทางไซเบอร์ ซึ่งทำหน้าที่จารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ต่อองค์กรก่อการร้ายและรัฐบาลต่างชาติ เขาได้เผยแพร่ข้อมูลลับให้แก่เว็บไซต์ WikiLeaks ที่มีชื่อเรียกการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าวว่า Vault 7 และ WikiLeaks ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ซีไอเอทำการสอดแนมรัฐบาลต่างชาติ และองค์กรผู้ก่อการร้ายโดยการเจาะระบบโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเพื่อใช้เป็นเครื่องดักฟัง ลงบนเว็บไซต์ในเดือนมีนาคม 2017   อัยการระบุว่า…

จีนเตือนพลเมืองระวัง ‘กับดักน้ำผึ้ง’ ถูกสาวงามแปลกหน้าล่อลวงให้ร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองต่างชาติ

Loading

กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีน ประกาศผ่านแอปพลิเคชัน WeChat เตือนพลเมืองให้ระวัง ‘สาวงามแปลกหน้า’ ที่อาจพยายามล่อลวงให้พวกเขาตกไปอยู่ในมือของหน่วยข่าวกรองต่างชาติ โดยยกตัวอย่างกรณีพลเมืองชายถูกล่อลวงไปยังไนต์คลับแห่งหนึ่งในต่างประเทศ และต่อมาถูกหน่วยข่าวกรองต่างชาติแบล็กเมล

HPE เผยว่าถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์หน่วยข่าวรัสเซียเจาะระบบอีเมล

Loading

Hewlett Packard Enterprise (HPE) เปิดเผยว่าแฮ็กเกอร์ที่น่าจะเชื่อมโยงกับรัสเซียเจาะเข้าไปในระบบอีเมลบนคลาวด์และขโมยข้อมูลจากแผนกไซเบอร์และแผนกอื่น ๆ โดยสันนิษฐานว่าผู้แฮ็กน่าจะเป็นกลุ่มที่ชื่อ Cozy Bear ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย (SVR)