จบยาก! ฟิลิปปินส์โวยถูก ‘ยามฝั่งจีน’ คุกคามหนัก-ฉีดน้ำขวางเรือส่งเสบียงทหาร

Loading

รัฐบาลฟิลิปปินส์ออกมาประณามหน่วยยามฝั่งจีนว่า “กระทำการข่มขู่คุกคามโดยปราศจากการยั่วยุ และใช้กลยุทธ์อันตราย” รวมถึงการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสกัดเรือของฟิลิปปินส์ที่พยายามเข้าไปส่งเสบียงให้แก่ทหารซึ่งประจำการในเขตน่านน้ำพิพาททะเลจีนใต้ จีนอ้างอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด และได้ส่งกองเรือหลายร้อยลำออกไปปฏิบัติภารกิจตรวจการณ์ทางทะเล รวมถึงกองเรือบางส่วน

ร่างกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกงมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาการแทรกแซงและการจารกรรมจากต่างชาติ

Loading

นายคริส ถัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงของฮ่องกง ระบุว่า ร่างกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกงฉบับใหม่ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กฎหมายสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง จะมุ่งเป้าไปที่การอุดช่องโหว่จากการแทรกแซง การสอดแนม และการจารกรรมจากต่างประเทศ

28 ประเทศ-อียู ร่วมลงนามใน “ปฏิญญาความปลอดภัยของเอไอ”

Loading

ประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด 28 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร, สหรัฐ, จีน และสหภาพยุโรป (อียู) ร่วมลงนามในปฏิญญาความปลอดภัยของปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเห็นพ้องถึง “ความจำเป็นในการดำเนินการระหว่างประเทศ” ระหว่างการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับเอไอครั้งแรกของโลก ซึ่งมีผู้นำทางการเมืองและผู้นำด้านเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร เจาะลึกภัยก่อการร้ายยุคใหม่ ใกล้ไทยกว่าที่คิด!?

Loading

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ให้สัมภาษณ์พิเศษรายการ “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” ทางช่องยูทูบ Siamrathonline ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2566 วิเคราะห์สถานการณ์โลกที่ร้อนระอุจากสงครามระหว่างอิสราเอล กับปาเลสไตน์ และสัญญาณก่อการร้ายหวนคืนในทวีปยุโรป

ศรีลังกาไฟเขียวเรือจีนสำรวจทางทะเล แม้อินเดียกังวลเป็นพาหนะสอดแนม

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ว่ากระทรวงการต่างประเทศศรีลังกาออกแถลงการณ์ ว่าอนุญาตให้เรือสำรวจ “ซื่อ เยี่ยน 6” ( Shi Yan 6 ) ของจีน ซึ่งจอดเทียบท่าในกรุงโคลัมโบ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา สามารถดำเนินการสำรวจทางทะเล ในเขตชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ “ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด” เป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 ต.ค.

จีนเตรียมปรับปรุงกฎหมายการรักษาความลับของรัฐครั้งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ

Loading

เมื่อ 25 ต.ค.66 จีนเผยแพร่รายละเอียดของร่างกฎหมายว่าด้วยการรักษาความลับของรัฐฉบับปรับปรุง โดยเพิ่มมาตราใหม่ครอบคลุมด้านการศึกษา เทคโนโลยี และการใช้อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหาร นับเป็นการปรับปรุงร่างกฎหมายการรักษาความลับของรัฐครั้งใหญ่ครั้งที่สองตั้งแต่ประกาศใช้ปี 2531