ศัตรูมีหนาว! กองทัพจีนคืบหน้าครั้งสำคัญ วิจัยอาวุธเลเซอร์ยิงได้ไกลทุกพิสัยตามต้องการ

Loading

แฟ้มภาพจากนาวิกโยธินสหรัฐฯ   นักวิทยาศาสตร์ของประสบความคืบหน้าครั้งสำคัญในงานวิจัยพัฒนาอาวุธเลเซอร์พลังงานสูง ที่สามารถยิงเป้าหมายได้ไกลเท่าใดก็ได้ตามความปรารถนาของผู้ปฏิบัติการ โดยไม่สามารถขัดขวางและประสิทธิภาพของมันก็ไม่ลดลงแม้แต่น้อย   บรรดานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีป้องกันตนเองแห่งชาติ ในเมืองฉางชา ประเทศจีน เผยแพร่ผลการวิจัยของพวกเขาที่ผ่านการตรวจทานจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ในวารสาร Acta Optica Sinica ในเดือนนี้ อ้างว่าได้พัฒนาระบบหล่อเย็นใหม่หนึ่งขึ้นมา ซึ่งมันทำให้การปฏิบัติการเลเซอร์พลังงานสูงแบบไร้ขีดจำกัดนั้นมีความเป็นได้ โดยปราศจากผลกระทบของภาวะร้อนเกินไปแต่อย่างใด   “นี่คือความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบเลเซอร์พลังงานสูง” ทีมงานวิจัยกล่าวในเอกสารการวิจัย “ลำแสงคุณภาพสูง ไม่ได้แค่สามารถผลิตออกมาในวินาทีแรก แต่มันยังคงศักยภาพไว้อย่างไม่มีขีดจำกัด”   ระบบหล่อเย็นจะควบคุมการไหลของกระแสแก๊ส สำหรับเข้าไปขจัดความร้อนภายในอาวุธเลเซอร์ ป้องกันการสั่นและเหตุติดขัดต่าง ๆ มันสามารถปฏิบัติการได้นานขึ้น มีพิสัยทำการเพิ่มขึ้นและมีพลานุภาพการโจมตีมากกว่าเดิม จากคำกล่าวอ้างของพวกนักวิจัย พร้อมเน้นว่ากว่า 60 ปีนับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เลเซอร์ทับทิมเป็นครั้งแรก พวกนักพัฒนาอาวุธไม่เคยสามารถสร้าง “ลำแสงมรณะที่สามารถจัดการกับเป้าหมายต่าง ๆ อย่างทันทีทันใดได้เลย”   สหรัฐฯ ได้ยกเลิกโครงการอาวุธเลเซอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดบางส่วนไปแล้ว แม้มันสามารถสอยร่วงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในการทดสอบ “เหตุผลที่แท้จริงของการยกเลิกโครงการต่าง ๆ เหล่านี้คือ พลานุภาพการทำลายล้างของมันไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง” จากความเห็นของเหล่านักวิทยาศาสตร์จีน   อาวุธลักษณะนี้มักก่อลำแสงพลังงานสูงที่ทำให้อุณหภูมิแก๊สพุ่งสูงระหว่างการเดินทาง ขณะที่มันพุ่งผ่านอากาศ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วน ผลกระทบนี้อาจทำให้ลำแสงบิดเบี้ยว บั่นทอนความแม่นยำและความเข้มข้นของมัน นอกจากนี้…

จีนแถลงตอบโต้ศัตรูที่พยายามยุยงให้เกิดการปฏิวัติสีในจีน

Loading

  กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีน (Ministry of State Security – MSS) ออกแถลงการณ์ในบัญชีแอปพลิเคชัน WeChat เมื่อ 15 ส.ค.66 ระบุว่าใจความสำคัญว่า “ความมั่นคงทางการเมือง เป็นรากฐานของความมั่นคงของชาติ” เพื่อตอบโต้ศัตรูที่พยายามยุยงให้เกิดการปฏิวัติสีในจีน   แกนหลักของ “ความมั่นคงทางการเมือง” อยู่ที่ “ความมั่นคงของพลังอำนาจและระบบการเมือง” ซึ่งก็คือการรักษาความเป็นผู้นำและสถานะการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) รวมทั้งปกป้องระบบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีน ดังนั้น หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติของจีนจะให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงทางการเมืองเสมอ   แถลงการณ์ยังชี้แจงว่า การปกป้องความมั่นคงทางการเมืองเป็นผลประโยชน์พื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศจีน หน่วยงานความมั่นคงของจีนทำงานโดยยึดประชาชนเป็นหลัก จึงต้องระมัดระวังในการควบคุมความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชนจีน ทั้งนี้ การปกป้องความมั่นคงทางการเมืองถือเป็นภารกิจหลัก ขณะเดียวกันก็ยังคงเสริมสร้างความมั่นคงแบบดั้งเดิม เช่น ความมั่นคงทางทหารและดินแดน ตลอดจนความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม เช่น เทคโนโลยี การคลัง และชีววิทยา   ได้ยกกรณีความพยายามที่จะล้มล้างอำนาจทางการเมืองในปี 2559 ของนาย Su ทหารฝ่ายเสนาธิการเกษียณอายุราชการจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน นาย Su ติดต่อบุคคลขององค์กรต่างชาติที่เป็นปรปักษ์ต่อจีน และมีการแสดงความคิดเห็นตอบโต้ทางอินเทอร์เน็ต โดยวางแผนที่จะซื้ออาวุธและสมรู้ร่วมคิดเพื่อดำเนินการที่รุนแรง…

กองทัพจีนเปิดตัวฝูงโดรน ‘ซ่อมแซมตัวเองได้’ มาพร้อมเทคโนโลยี AR

Loading

  กองทัพอากาศจีนเปิดตัวโดรนอัจฉริยะไร้คนขับซึ่งใช้เทคโนโลยี Integrated Intelligent Interaction System ขับเคลื่อนโดรนเป็นฝูงพร้อมเทคโนโลยีซ่อมแซมตัวเอง และระบบโต้ตอบความเป็นจริงเสริม (AR) ทำให้ทหารภาคพื้นดินสามารถควบคุมโดรนพร้อมกันทีละหลายลำได้   รายงานระบุว่า อัลกอริทึมอัจฉริยะที่ติดตั้งบนโดรนแต่ละตัวสามารถทำงานเป็นทีมได้เหมือนฝูงผึ้ง ซึ่งสร้างความสามารถในการป้องกันการรบกวนแก่ฝูงโดรน   ในการทดสอบมาตรการตอบโต้การรบกวน ฝูงโดรนหลายสิบตัวสูญเสียการสื่อสารและการนำทางกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน แต่สามารถกู้คืนการเชื่อมโยงได้โดยใช้อัลกอริทึมป้องกันการรบกวนของโดรนตัวอื่นในฝูงโดยอัตโนมัติ   ฝูงโดรนสามารถจัดเส้นทางบินอย่างอิสระ ครอบคลุมพื้นที่กว้าง เพื่อค้นหาและทำลายเป้าหมาย   ระบบนี้สามารถเพิ่มการรับรู้สถานการณ์ของทหารในสนามรบได้อย่างมีนัยสำคัญผ่านโดรนลาดตระเวน รวมถึงการส่งโดรนไปปฏิบัติภารกิจโจมตี และข้ามผ่านเส้นทางบนภูมิประเทศที่ซับซ้อน   ที่ผ่านมา จีนเป็นผู้พัฒนาโดรนขั้นสูงมากมาย เช่น เครื่องบินไร้คนขับ เรือไร้คนขับ และยานพาหนะอื่น โดยการพัฒนาอุปกรณ์ไร้คนขับจะสร้างความได้เปรียบในการสู้รบ     ที่มา  สำนักข่าวโกลบอลไทมส์ แฟ้มภาพ  CCTV       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

ไบเดนลงนามคำสั่งห้ามการลงทุนด้านเทคโนโลยีบางอย่างในจีน

Loading

  ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ลงนามในคำสั่งที่จะห้ามการลงทุนบางอย่างของสหรัฐฯ ในเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อนในจีน และกำหนดให้รัฐบาลแจ้งการระดมทุนในภาคส่วนเทคโนโลยีอื่น ๆ   คำสั่งที่รอคอยมานานอนุญาตให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ห้ามหรือจำกัดการลงทุนบางอย่างของสหรัฐฯ ในหน่วยงานของจีนใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศควอนตัม และระบบปัญญาประดิษฐ์บางระบบ   ไบเดน กล่าวในจดหมายถึงสภาคองเกรสว่าเขากำลังประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อจัดการกับภัยคุกคามจากความก้าวหน้าของประเทศต่าง ๆ เช่น จีน “ในด้านเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อนและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญต่อการทหาร หน่วยข่าวกรอง การเฝ้าระวัง หรือความสามารถทางไซเบอร์”   ข้อเสนอกำหนดเป้าหมายการลงทุนในบริษัทจีนที่พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อออกแบบชิปและเครื่องมือเพื่อผลิต ซึ่งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ครองพื้นที่เหล่านั้น และรัฐบาลจีนกำลังเร่งทำงานเพื่อสร้างทางเลือกที่พัฒนาขึ้นเอง   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจจุดชนวนความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยืนยันว่าข้อห้ามดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศที่ “รุนแรงที่สุด” และไม่แบ่งแยกเศรษฐกิจที่พึ่งพาซึ่งกันและกันสูงของทั้งสองประเทศ   ชัค ชูเมอร์ ผู้นำพรรคเดโมแครตในวุฒิสภายกย่องคำสั่งของไบเดน โดยกล่าวว่า “เป็นเวลานานเกินไปแล้ว ที่เงินของอเมริกาได้ช่วยกระตุ้นการเติบโตของกองทัพจีน ทุกวันนี้ สหรัฐฯ กำลังดำเนินขั้นตอนแรกเชิงกลยุทธ์เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนของอเมริกาไม่ได้ให้ทุนแก่ความก้าวหน้าทางทหารของจีน” เขากล่าวว่าสภาคองเกรสต้องรักษาข้อจำกัดในกฎหมายและปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ   แต่นักการเมืองพรรครีพับลิกันกล่าวว่าคำสั่งของ…

CAC ยกร่างกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

  สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (CAC) เผยว่าได้ยกร่างกฎควบคุมความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า   CAC ชี้ว่าต้องมีการควบคุมให้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในจุดประสงค์เฉพาะและต้องมีความจำเป็นที่พอเหมาะ ภายใต้มาตรการเชิงป้องกันที่เข้มงวด   นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ายังต้องได้รับความยินยอมจากปัจเจกบุคคล อีกทั้งยังควรใช้ระบบการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์หากมีประสิทธิภาพเท่ากัน   ในร่างกฎของ CAC ยังห้ามการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนและการจับภาพในห้องพักโรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และสถานที่อื่น ๆ ที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัว   การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยสาธารณะเท่านั้นและต้องมีป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดวางอยู่ใกล้ ๆ ด้วย     ที่มา   Reuters       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                     /…

สหรัฐฯ ลั่นยังพร้อมแชร์ข่าวกรองให้ ‘ญี่ปุ่น’ หลังมีข่าวถูก ‘แฮ็กเกอร์จีน’ เจาะเครือข่ายไซเบอร์ทางทหาร

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยืนยันวานนี้ (8 ส.ค.) ว่ายังคงเชื่อมั่นและพร้อมที่จะแบ่งปันข่าวกรองให้ญี่ปุ่น หลังสื่อดังในอเมริกาออกมาแฉว่าหน่วยแฮ็กเกอร์ทางทหารของจีนได้ทำการเจาะเครือข่ายข้อมูลด้านกลาโหมที่เปราะบางที่สุดของญี่ปุ่นได้แล้ว   หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เผยแพร่รายงานเมื่อวันจันทร์ (7) โดยอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นทั้งอดีตและปัจจุบันซึ่งระบุว่า แฮ็กเกอร์ของกองทัพจีนได้เจาะเครือข่ายกลาโหมชั้นความลับของญี่ปุ่นเมื่อปี 2020 และสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแสนยานุภาพทางทหารของกองกำลังญี่ปุ่น ตลอดจนแผนงาน และผลการประเมินข้อบกพร่องต่าง ๆ   ฮิโรคาซุ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุในงานแถลงข่าววานนี้ (8 ส.ค.) ว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถยืนยันได้มีข้อมูลด้านความมั่นคงใด ๆ รั่วไหลออกไปหรือไม่   อย่างไรก็ตาม วอชิงตันโพสต์อ้างข้อมูลจากอดีตนายทหารสหรัฐฯ คนหนึ่งซึ่งยอมรับว่า ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้จัดว่า “รุนแรงและเลวร้ายอย่างน่าตกตะลึง” และผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ถึงขั้นต้องบินไปโตเกียวเพื่อหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น ซึ่งขอให้ทางสหรัฐฯ แจ้งเรื่องนี้ให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทราบ   วอชิงตันโพสต์ระบุด้วยว่า แม้ญี่ปุ่นจะยกระดับป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายข้อมูลกลาโหม แต่เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์ออกนามหลายคนเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้ “ยังไม่เพียงพอ” ที่จะสกัดหน่วยจารกรรมจีน และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการแชร์ข้อมูลข่าวกรองที่มากยิ่งขึ้นระหว่างเพนตากอนกับกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในอนาคต   ล่าสุด ซาบรีนา ซิงห์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานของวอชิงตันโพสต์ โดยขอให้โตเกียวเป็นฝ่ายชี้แจงเอง แต่ย้ำว่าสหรัฐฯ…