จีนออกกฏใหม่คุม’เทสลา’ถ่ายโอนข้อมูลบนท้องถน

Loading

  จีนออกกฏใหม่คุม’เทสลา’ถ่ายโอนข้อมูลบนท้องถนน ขณะที่บรรดาผู้สังเกตุการณ์ มีความเห็นว่า ร่างกฏระเบียบใหม่นี้จะยิ่งเพิ่มความตึงเครียดให้แก่ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐและจีนมากขึ้น เมื่อวันพุธ (12 พ.ค.)สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน เผยแพร่ร่างกฏระเบียบใหม่ที่ห้ามให้มีการถ่ายโอนข้อมูลการจราจรบนท้องถนนในจีน ที่ไม่ผ่านการอนุมัติและห้ามถ่ายโอนตำแหน่งที่ตั้งของยานพาหนะ ตลอดจนภาพและข้อมูลอื่นๆที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ในกล้องและเซนเซอร์ติดรถยนต์ ซึ่งข้อห้ามล่าสุดนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรถยนต์อัจฉริยะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั้งคันของบริษัทเทสลา และค่ายรถยนต์อื่นๆ เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา “นายเทา หลิน” รองประธานฝ่ายกิจการภายนอกของเทสลาในจีน เปิดเผยว่า ในฐานะที่เทสลาเป็นบริษัทดำเนินกิจการในจีน บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของจีน โดยต้องรวบรวมข้อมูลจากรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลาในจีนเก็บไว้ในประเทศจีนอย่างปลอดภัย เพื่อบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวและความมั่นคงของจีนไปยังสหรัฐ ข้อมูลจากรถยนต์อัจฉริยะของเทสลาในอนาคตทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถยนต์ เมื่อเดือนมี.ค.เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนได้ตรวจสอบด้านความปลอดภัยในรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลา และแสดงความกังวลเกี่ยวกับกล้องภายในห้องผู้โดยสารและกล้องภายนอกอีก 8 ตัวที่ติดตั้งบนรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลา รวมถึงการเชื่อมกับข้อมูลการติดต่อในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งอาจมีผลทำให้ข้อมูลส่วนตัวและเกี่ยวกับความมั่นคงของจีนเล็ดลอดถูกส่งไปยังสหรัฐ   ————————————————————————————————————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ          / วันที่เผยแพร่ 14 พ.ค.2564 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937920

สหรัฐฯ พบ จีนทุ่มเงินนับสิบล้านผ่านกิจการสื่อเพื่อขยายอิทธิพลในหมู่ชาวอเมริกัน

Loading

รายงานล่าสุดจากหน่วยงานตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐฯ ชี้ว่า จีนได้ทุ่มงบประมาณสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เพื่อลงทุนในธุรกิจกระจายเสียงและกิจการสื่อต่างๆ ของตน เพื่อขยายอิทธิพลในสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา รายงานการตรวจสอบภายใต้กฎหมาย Foreign Agents Registration Act (FARA) ของสหรัฐฯ ที่รวบรวมโดย Center for Responsive Politics ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยอิสระไม่หวังผลกำไรในกรุงวอชิงตัน ระบุว่า สถานีโทรทัศน์ China Global Television Network (CGTN) ซึ่งรัฐบาลกรุงปักกิ่งเป็นเจ้าของ ทุ่มงบจำนวนกว่า 50 ล้านดอลลาร์เพื่อขยายการปฏิบัติการในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว โดยงบนี้คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของการใช้จ่ายของรัฐบาลจีนในการสร้างอิทธิพลต่อความคิดเห็นของชาวอเมริกันและนโยบายของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ CGTN เริ่มออกอากาศในสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2012 สถานีโทรทัศน์จีนแห่งนี้ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่ลงทุนในสหรัฐฯ อย่างสมบูรณ์นัก และรายงานการใช้จ่ายบางส่วนที่ประมาณ 43 ล้านดอลลาร์สำหรับปี ค.ศ. 2019 อย่างไรก็ดี การเปิดเผยตัวเลขที่ครบถ้วนที่ใช้จ่ายในปีที่แล้วออกมาของ CGTN ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ทำให้ทีมงานผู้รวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่า จีนใช้เงินเกือบ 64…

‘ฮ่องกง’ผ่านกม.รักชาติ ใครไม่จงรักภักดีต่อ’จีน’ต้องถูกปลด-ห้ามลงสมัครเลือกตั้ง

Loading

  ‘ฮ่องกง’ผ่านกม.รักชาติ ใครไม่จงรักภักดีต่อ’จีน’ต้องถูกปลด-ห้ามลงสมัครเลือกตั้ง 13 พฤษภาคม 2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน กฎหมายฉบับใหม่ของฮ่องกงที่ทดสอบ “ความรักชาติ” ในหมู่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแล้วเมื่อวันพุธ จะเริ่มบังคับใช้ทันทีในเดือนนี้ ซึ่งจะให้อำนาจรัฐบาลปลดหรือห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งหากพบว่าบุคคลนั้น “ไม่จงรักภักดี” ต่อทางการฮ่องกงหรือจีน รัฐบาลฮ่องกงเสนอร่างฉบับนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ หนึ่งวันหลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า จำเป็นต้องมีบทบัญญัติที่สร้างความมั่นใจว่า มีแต่ “คนรักชาติ” เท่านั้นที่ได้บริหารฮ่องกง รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า การลงมติของสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่ปราศจากฝ่ายค้านเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม มีสมาชิกเห็นชอบร่างกฎหมายฉบับนี้ 40 คน และมีเพียง 1 คนงดออกเสียง กฎหมายฉบับนี้บังคับว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนจะต้องให้ “คำสัตย์ปฏิญาณจงรักภักดี” ที่จะต้องปฏิบัติตามตลอดสมัยดำรงตำแหน่ง ผู้ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายนี้มีตั้งแต่เจ้าหน้าที่รัฐ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาและสภานิติบัญญัติ หรือกระทั่งผู้พิพากษา สมาชิกสภาเขตมากกว่า 470 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นเพียงตำแหน่งเดียวที่ชาวฮ่องกงสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในการเลือกผู้แทนของตน ก็อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ด้วย โดยมีรายงานว่าสมาชิกไม่ต่ำกว่า 26 คน ลาออกในช่วงไม่เดือนที่ผ่านมา บางคนเป็นเพราะไม่ต้องการเอ่ยคำสัตย์ปฏิญาณ และมีอีกหลายคนโดนจับกุมภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ กฎหมายฉบับใหม่นี้จะให้อำนาจรัฐมนตรียุติธรรมของฮ่องกงดำเนินการกับนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ที่ดูเหมือนละเมิดคำสัตย์ปฏิญาณ ตาม “รายการเชิงลบ” ที่บรรยายถึงพฤติการณ์ไม่รักชาติไว้อย่างกว้างๆ มีตั้งแต่การดูหมิ่นธงชาติ…

จีนสร้างฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฝึก “AI” รู้จักรุ่นเครื่องบิน ตรวจจับเรือรบ

Loading

  กลุ่มสื่อต่างประเทศ รายงาน (1 พ.ค.) สภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) เปิดเผยว่า “FAIR1M” ฐานข้อมูลภาพการสำรวจระยะไกลความละเอียดสูงชุดใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าชุดข้อมูลที่คล้ายกันที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ หลายสิบหรือหลายร้อยเท่า ศาสตราจารย์ฟู่ คุน Fu Kun นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยข้อมูลการบินและอวกาศของสถาบันในปักกิ่งได้รับเงินทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ในการใช้ดาวเทียมสังเกตการณ์ “Gaofen” สร้างฐานข้อมูลที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงมากกว่า 15,000 ภาพ โดยมีฉากประกอบข้อมูล 1 ล้านภาพ ซึ่งเทียบกับฐานข้อมูล VEDAI ของฝรั่งเศสซึ่งมีเพียงประมาณ 3,600 ภาพ ฐานข้อมูล FAIR1M มีข้อมูลโดยละเอียดของสถานที่มากกว่าล้านแห่งในประเทศจีน และสามารถรู้จักข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ เช่น ลักษณะเครื่องบินแต่ละรุ่น และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเรือรบกับเรือโดยสาร ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ทหารใช้ดาวเทียมสอดแนมเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ จนเมื่อในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น การนับจำนวนรถบรรทุกสินค้าบนท้องถนนในเมือง หรือแม้แต่ในระดับประเทศ ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานได้…

รัฐบาลจีนฟัน 33 แอพละเมิดกฎเก็บข้อมูลส่วนตัวลูกค้า

Loading

  33 แอพพลิเคชั่นในจีน รวมทั้งบริษัทในเครือ Baidu และ Tencent ละเมิดกฎการเก็บข้อมูลส่วนตัวลูกค้า หน่วยงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (CAC) ระบุว่า พบ 33 แอพพลิเคชัน รวมทั้งแอพพลิเคชันให้บริการซอฟท์แวร์นำทางของบริษัท Baidu และTencent สองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ละเมิดกฎของทางการ โดยส่วนใหญ่เก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของตัวเอง จากการตรวจสอบแอพพลิเคชันที่เป็นที่นิยมของชาวจีนของ CAC ยังพบว่าแอพพลิเคชันเหล่านี้เก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าโดยไม่ได้รับความยินยอม และยังพยายามโน้มน้าวให้ลูกค้าอนุญาตให้แอพพลิเคชันเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อในสมาร์ทโฟน หลังจากนี้ ผู้ให้บริการแอพพลิเคชันดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 10 วันทำการ มิเช่นนั้นจะถูกลงโทษ แต่ CAC ไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา CAC ออกกฎห้ามผู้ให้บริการแอพพลิเคชันปฏิเสธไม่ให้บริการพื้นฐานกับลูกค้าที่ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็นซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้ (1 พ.ค.) และยืนยันว่าจะปกป้องสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ทางการจีนเริ่มเข้ามาควบคุมบริษัทอินเทอร์เน็ตหลังจากบริษัทเหล่านี้มีอิทธิพลกับชีวิตชาวจีนในแทบจะทุกด้าน ทั้งยังครอบครองข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจำนวนมหาศาลจากการให้บริการออนไลน์ อาทิ แอพพลิเคชันช็อปปิ้งออนไลน์ บริการเรียกรถสาธารณะ เป็นต้น AFP PHOTO / FILES / FRED DUFOUR   ——————————————————————————————————————————————————————…

ญี่ปุ่นเผยถูกสายลับ “กองทัพจีน” เจาะระบบคอมพิวเตอร์

Loading

  ตำรวจญี่ปุ่นสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานและบริษัทเกือบ 200 แห่งในญี่ปุ่น โดยสงสัยว่าเป็นฝีมือของแฮกเกอร์ที่เกี่ยวพันกับกองทัพจีน หน่วยงานสำคัญของญี่ปุ่นที่ถูกแฮกเกอร์ที่คาดว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเจาะข้อมูล เช่น สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือ จั๊กซ่า, บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ, มหาวิทยาลัยเคโอ รวมทั้งสถาบันวิจัยชั้นสูงหลายแห่งของแดนอาทิตย์อุทัย สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่นยอมรับว่า ระบบคอมพิวเตอร์ถูกลักลอบเจาะในปี 2559 แต่ไม่เปิดเผยว่ามีข้อมูลรั่วไหลหรือถูกดัดแปลงแก้ไข ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์นี้ดำเนินการโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า Tick ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของกองทัพจีน     ตำรวจญี่ปุ่นระบุตัว วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนคนหนึ่งที่ใช้รหัสประจำตัวปลอม เพื่อเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายแห่งในญี่ปุ่น ชายในวัย 30 ปีผู้นี้ต้องสงสัยว่าเคยลักลอบเข้าใช้เซิร์ฟเวอร์หลายแห่งโดยใช้ชื่อปลอมต่าง ๆ กัน และส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นไปยังกลุ่มแฮกเกอร์ “Tick” นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักศึกษาชาวจีนอีกคนหนึ่งที่เช่าเซิร์ฟเวอร์หลายเซิร์ฟเวอร์ในญี่ปุ่น โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมเพื่อแสดงตัวตน และจากการสืบสวนพบว่านักศึกษารายนี้เกี่ยวข้องกับกองทัพจีน ขณะนี้ วิศวกรชายและนักศึกษารายนี้ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นแล้ว     กองทัพจีนมีหน่วยที่ใช้รหัสว่า 61419 มีฐานที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง คาดว่าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายคัตสีโนบุ คาโต เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น พูดถึงเรื่องนี้โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นฝีมือของใครว่า “การโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยราชการและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มีการจัดองค์กรและมีความล้ำหน้ามากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญเพื่อรับมือการโจมตีเหล่านี้”.…