Great Firewall จากจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคมืดของเสรีภาพในโลกอินเทอร์เน็ต

Loading

Great Firewall คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน มีความเป็นไปได้ว่าโมเดลที่ทำให้รัฐสามารถควบคุม คัดกรอง การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนกำลังถูกนำมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีระบบสอดส่องของรัฐเกิดในประเทศที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยังมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือดิจิทัลจำกัด อาจนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อและผู้ใช้งาน ด้วยเหตุผลความกังวลว่าจะถูกจับตามอง เทคโนโลยี firewall ไม่ได้ติดตั้งยากเหมือนที่คิด เพียงแค่ปรับแต่งเล็กน้อย เช่น ภาษาและคำสำคัญของแต่ละประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้สามารถปรับแต่งค่าบางอย่างได้ตามสถานการณ์ได้   ถ้าพูดคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ ในยุคนี้ก็คงโดนหรี่ตามองว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา” เพราะมันกลายเป็นความปกติสามัญเหมือนแอปเปิลตกจากต้นตามแรงโน้มถ่วง สำหรับบางประเทศ โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สัจธรรม แต่เป็นทางเลือกที่พวกเขาอยากเปิดรับเฉพาะบางแง่มุม การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของโลกอาจเป็นโอกาส แต่ของแถมคือภัยคุกคาม ‘ความมั่นคง’ ของรัฐ ชนชั้นนำ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้รัฐต้องสรรหานวัตกรรมต่างๆ มารับมือในแบบของตัวเอง โดยไม่ถึงขั้นสุดโต่งปิดตายการไหลเวียนของข้อมูลเสียสนิท จนปิดกั้นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรม ‘Great Firewall’ คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน แม้จะเชื่อมต่อได้จริง แต่ก็ไม่เปิดเสรีจนผู้นำรัฐกังวล จะเป็นอย่างไร หากโครงสร้างอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย เพราะลงล็อกตอบโจทย์กับความกังวลของผู้วางนโยบายอินเทอร์เน็ตของรัฐต่างๆ หลังจากจีนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำได้ จนเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้านใกล้เรือนเคียงของเราเอง อย่างเมียนมาและกัมพูชา ต้องทำตาม เพื่อร่วมสำรวจสถานการณ์เสรีภาพในอินเทอร์เน็ตร่วมกัน DigitalReach…

จีนคุม ‘แอปฯ มือถือ’ ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เกินจำเป็น เริ่มพ.ค. นี้

Loading

  จีนคุม ‘แอปฯ มือถือ’ ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เกินจำเป็น เริ่มพ.ค. นี้ สำนักกำกับดูแลไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน (CAC) รายงานว่าทางการจีนออกแนวปฏิบัติห้ามผู้ให้บริการแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นอย่างผิดกฎหมาย แนวปฏิบัติดังกล่าวระบุว่าแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือไม่สามารถปฏิเสธการเข้าถึงบริการของผู้ใช้ได้ หากผู้ใช้ปฏิเสธจะแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น ขอบเขตข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ 39 ประเภท เช่น แอปพลิเคชันนำทางอาจเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ ต้นทางและปลายทางของผู้ใช้ หรือแอปพลิเคชันส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ บัญชีการส่งข้อความ และบัญชีของผู้ติดต่อ ทั้งนี้ สำนักฯ เผยว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวมีเป้าหมายควบคุมการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ เพื่อรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป ข้อมูลจาก สำนักข่าวซินหัว ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : thebangkokinsight           / วันที่เผยแพร่ 23 มี.ค.2564 Link : https://www.thebangkokinsight.com/579175/

จีนสั่งห้ามขับรถ “เทสลา” เข้าเขตทหาร หวั่นสอดแนมเขี้ยวเล็บมังกร

Loading

    กลุ่มสื่อต่างชาติ รายงาน (20 มี.ค.) วอลล์ สตรีท เจอร์นัล (The Wall Street Journal) หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำอ้างแหล่งข่าวระบุว่า กองทัพจีนมีคำสั่งห้ามขับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเทสลา (Tesla) เข้าสู่เขตที่ทำการของกองทัพ และอาคารที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่กองทัพ มาตรการดังกล่าวเกิดจากความกังวลว่ากล้องของเทสลาจะเก็บภาพและข้อมูลของกองทัพ และส่งกลับไปยังสหรัฐฯ รายงานระบุว่า กล้องแบบรอบทิศทาง (Multi-direction) และระบบเซนเซอร์อาจเปิดเผยที่ตั้งของกองทัพ ทำให้ข้อมูลลับของกองทัพรั่วไหล ทำให้ผู้ขับรถยนต์เทสลาจะต้องจอดรถยนต์อยู่ด้านนอกเขตการทหาร ปัจจุบัน รถยนต์ของเทสลาได้รับติดตั้งกล้องขนาดเล็กรอบคัน ช่วยให้คนขับสามารถจอดรถยนต์ และใช้ระบบนำทางอัตโนมัติ (autopilot) และ ระบบขับขี่ด้วยตนเอง (self-driving) นอกจากนี้ เทสลามีกล้องภายในห้องโดยสาร เพื่อตรวจสอบได้ว่าคนขับกำลังมองไปยังถนนหรือไม่ รถยนต์ดังกล่าวยังบันทึกข้อมูลสถานที่และช่วงเวลาการใช้รถยนต์ รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์มือถือ หากมีการเชื่อมต่อระบบกับรถยนต์ ทั้งนี้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นเทสลา อิงค์ ร่วงลงกว่าร้อยละ 4 เมื่อวันศุกร์ (19 มี.ค.)   ———————————————————————————————————————————————————– ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์     /…

จีนเรียก 3 ยักษ์เทคโนโลยี คุมการใช้ deepfake บนแพลตฟอร์ม

Loading

    รอยเตอร์ส รายงาน (18 มี.ค.) – หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้มีคำสั่งเรียกบริษัท เทคโนโลยีในประเทศ 11 ราย รวมถึง อาลีบาบากรุ๊ป, เทนเซนต์และไบต์แดนซ์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ‘deepfake’ บนแพลตฟอร์มของตน ผู้ดูแลระบบไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี(18 มี.ค.) ว่ากระทรวงความมั่นคงสาธารณะได้พูดคุยกับบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับ“ การประเมินความปลอดภัย” และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแอปโซเชียลปลอมภาพและเสียง ซึ่ง Kuaishou (ไคว่โส่ว) ของบริษัท Beijing Kuaishou Technology และ เสี่ยวหมี่ คอร์ป เข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน รายงานข่าวกล่าวว่า บริษัททั้งหมด ยังไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นใด ๆ Deepfakes คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอหรือไฟล์เสียงที่สมจริงเกินจริง แต่เป็นของปลอม โดยทำเหมือนบุคคลเป็นผู้พูดหรือทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ทำ จีนได้เพิ่มการตรวจสอบยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมผูกขาดและการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลยังแจ้งให้ บริษัทต่างๆ“ ดำเนินการประเมินความปลอดภัยด้วยตนเอง” และส่งรายงานไปยังรัฐบาลเมื่อพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่หรือบริการข้อมูลใหม่ที่ “มีความสามารถในการขับเคลื่อนสังคม” ทั้งนี้ บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ของจีน ได้ลอกเลียนแบบแอปเสียง Clubhouse…

ศาลจีนเบิกตัวพลเมืองแคนาดา ไต่สวนคดีความมั่นคง

Loading

  จีนนำตัวชาวแคนาดา 1 ใน 2 คนที่ถูกฟ้องข้อหาจารกรรม ขึ้นศาลเป็นครั้งแรก หลังถูกควบคุมตัวมานานกว่า 2 ปี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองตานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ว่า ศาลประชาชนระดับกลางแห่งมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เบิกตัว นายไมเคิล สปาวอร์ นักธุรกิจสัญชาติแคนาดา ขึ้นศาลเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นการปรากฏตัวต่อศาลครั้งแรกของสปาวอร์ นับตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อเดือน ธ.ค. 2561 และอัยการสั่งฟ้องสปาวอร์ เมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว ในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับทางราชการ และการส่งข้อมูลนั้นให้กับ “กองกำลังต่างชาติ”   Michael Spavor, one of two Canadians detained by Beijing more than two years ago on suspicion of espionage, is set to…

‘จีน’ เต้น! เจอผู้ประท้วงเมียนมา ขู่ระเบิดท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน

Loading

  “จีน” ประชุมฉุกเฉินร่วมกับ “เมียนมา” เรียกร้องขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมัน หลังผู้ประท้วงขู่ระเบิด ไม่พอใจท่าทีจีนในเหตุการณ์ประท้วงรัฐประหาร ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองเมียนมา ที่ร้อนระอุ ซึ่งกองกำลังรักษาความมั่นคงได้ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามผู้ประท้วงชาวเมียนมาต้านรัฐประหาร ทางด้านรัฐบาลปักกิ่ง ได้จัดประชุมฉุกเฉินระดับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศเมียนมา เพื่อขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมันระหว่างจีนกับเมียนมา ที่อยู่ในฝั่งเมียนมามีความยาว 795 กม. เว็บไซต์สํานักข่าวอิระวดีอ้างเอกสารลับว่า นายไป๋ เทียน อธิบดีกรมกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ขอให้รัฐบาลทหารเมียนมารับรองความปลอดภัยของท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่กลุ่มต่อต้านจีนเกิดความไม่พอใจจุดยืนรัฐบาลจีนต่อการที่กองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร ท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างจีน – เมียนมา มีระยะทางในฝั่งเมียนมาเกือบ 800 กม. ซึ่งประกอบด้วยท่อส่งคู่ขนานเริ่มต้นที่เกาะแรมรี ในเขตท่าเรือเจียวเพียว และสร้างคู่ขนานกับท่อน้ำมันดิบจีน-เมียนมา และไปแยกกันที่เมืองอานซุ่นในมณฑลกุ้ยโจว ผ่านนครกุ้ยหยาง และสิ้นสุดที่เมืองกุ้ยก่าง ในเขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง มีความยาวรวมทั้งหมด 2,520 กม. รัฐบาลปักกิ่งคาดหวังว่า เมียนมาจะออกมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นสำหรับโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของโครงการสายแถบและเส้นทาง(บีอาร์ไอ) “ความเสียหายใดๆ ที่เกิดกับท่อส่งก๊าซและน้ำมัน จะส่งผลต่อความสัมพันธ์จีนและเมียนมา รวมถึงความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ” ไป๋กล่าวเตือน เอกสารลับฉบับนี้ยังระบุว่า ปลัดกระทรวงต่างประเทศเมียนมาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมนี้ได้ เนื่องจากได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากจีนเพียง 4 ชั่วโมงให้จัดประชุมฉุกเฉินดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลปักกิ่งมีความกังวลอย่างยิ่งต่อโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว การแสวงหาผลประโยชน์ของจีนในเมียนมา…