ฮามาสคือใคร เกี่ยวข้องกับอิสราเอล-ปาเลสไตน์อย่างไร และสารพัดคำถามที่เกี่ยวข้อง

Loading

8 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวุธ ฮามาส เปิดปฏิบัติการอัล-อักซา ฟลัด (Operation Al-Aqsa Flood) โดยอ้างว่า ยิงจรวดจำนวนมากข้ามชายแดนทางตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อเปิดทางให้นักรบติดอาวุธแทรกซึมเข้าไปในอิสราเอลจากหลายทิศทาง บางส่วนเข้าไปในชุมชนใกล้ฉนวนกาซา สังหารประชาชนและจับพวกเขาเป็นตัวประกัน

ฮามาสคือใคร ทำไมเปิดปฏิบัติการโจมตีอิสราเอล

Loading

สถานการณ์การสู้รบในตะวันออกกลางปะทุเดือดขึ้นอีกครั้ง เมื่อกลุ่มติดอาวุธฮามาสในปาเลสไตน์เปิดฉากโจมตีอิสราเอลทั้งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก เมื่อวานนี้ (7 ตุลาคม) โดยไม่มีสัญญาณบอกเหตุ ส่งผลให้อิสราเอลตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดถล่มฉนวนกาซา ซึ่งเหตุการณ์สู้รบล่าสุดนี้ ถือเป็นการยกระดับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปี

กต.เผย เหตุโจมตีอิสราเอล มีคนไทยบาดเจ็บ 8 ราย เสียชีวิต 2 ราย ถูกจับ 11 คน

Loading

ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงความคืบหน้าเหตุโจมตีอิสราเอลวันนี้ว่า จากการประสานงานของสถานทูตไทยในอิสราเอลกับฝ่ายแรงงานของอิสราเอล พบว่า มีแรงงานไทย ได้รับบาดเจ็บ 8 คน โดยรอการช่วยเหลือจากกองทัพ 3 คน และได้รับการรักษาในโรงพยาบาล Soroka แล้ว 5 คน เสียชีวิต 2 ราย และถูกจับเป็นตัวประกัน 11 คน

ลำดับไทม์ไลน์ นาทีต่อนาที ‘กลุ่มฮามาส’ โจมตี ‘อิสราเอล’ ครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี

Loading

กลุ่มติดอาวุธฮามาส ในดินแดนปาเลสไตน์ โจมตีอิสราเอล นับว่าเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี นับจาก กองกำลังชาติอาหรับ เปิดฉากบุกโจมตีอิสราเอล เมื่อปี 2516 โดยกลุ่มฮามาสเลือก วันซิมหัส โทราห์ วันอันศักดิ์สิทธิที่สุดของชาวยิว และวาระครบรอบ 50 ปี สงครามยมคิปปูร์ เปิดฉาก คมชัดลึก สรุปไทม์ไลน์ นาทีต่อนาที ปฎิบัติการโจมตีอิสราเอล คร่าชีวิตไปแล้ว 400 ชีวิต ซึ่งรวมคนไทยด้วย

ผู้ประท้วงปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอล ปะทะกันหน้ามัสยิดในเยรูซาเล็ม

Loading

ผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ขว้างก้อนหิน ในเหตุปะทะกับตำรวจอิสราเอลที่บริเวณมัสยิดอัล อักซอในกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 15 เมษายน (Photo by Ahmad GHARABLI / AFP)   ผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอลปะทะกันที่บริเวณมัสยิดอัล อักซอ ในกรุงเยรูซาเล็ม มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 150 คน   เอเอฟพีรายงานเหตุปะทะเดือดในเยรูซาเล็ม อิสราเอล เมื่อวันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2565 กล่าวว่า เกิดเหตุการชุลมุนและความรุนแรงระหว่างผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอล จนกลายเป็นการปะทะกันบริเวณมัสยิดอัล อักซอ ในกรุงเยรูซาเล็มเมื่อช่วงเช้าวันศุกร์   ทีมแพทย์ที่เข้าช่วยเหลือและพยานในที่เกิดเหตุให้การกับเอเอฟพีว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะอย่างน้อย 150 คนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลแล้วเพื่อรับการรักษาอาการบาดเจ็บที่ร่างกายส่วนบน และพยานอธิบายเหตุการณ์คร่าวๆเพิ่มเติมว่า ผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ขว้างก้อนหินใส่กองกำลังความมั่นคงของอิสราเอล ซึ่งโต้กลับด้วยการยิงกระสุนยางใส่ผู้ประท้วงบางคน   “มัสยิดอัล อักซอ” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันดับ 3 ของศาสนาอิสลาม ชาวยิวเรียกวัดนี้ว่า “เนินพระวิหาร” เพื่อสื่อถึงศาสนสถาน 2 แห่งที่เคยได้รับการบอกเล่าว่าตั้งอยู่บริเวณนั้นในยุคโบราณ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สำคัญในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มตะวันออกที่ปกครองโดยอิสราเอล   เช่นเดียวกับปีที่แล้วในช่วงเดือนรอมฎอน เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ที่ไปทำการสักการะที่บริเวณมัสยิดอัล…

‘ไทย’ บนรอยขัดแย้ง ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’

Loading

  วิกฤติความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” ดูห่างไกลประเทศไทย แต่เหตุการณ์ยิงจรวดโจมตีตอบโต้ของกลุ่มฮามาสไปยังนิคมเกษตรโมชาฟ ได้ปลิดชีพแรงงานไทยในอิสราเอล อาจเป็นจุดเปลี่ยนท่าทีไทยต่อปมขัดแย้งเรื่องนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อยาวนาน และเกิดปะทุเป็นระยะๆ รวมถึงเหตุการณ์เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดการโจมตีตอบโต้ครั้งล่าสุด ต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน ก่อนสามารถทำข้อตกลงหยุดยิง แล้วเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอย่างไร ท่ามกลางความห่วงกังวลทั่วโลก เพราะหลายประเทศเริ่มรับผลกระทบ รวมทั้งแรงงานไทยในอิสราเอล ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจรวดโจมตีของกลุ่มฮามาส ทางคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS Thailand) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ “ฬ.จุฬาฯนิติมิติ” รอบพิเศษ เรื่อง “ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ : ความสัมพันธ์และกฎหมายระหว่างประเทศ กับมุมมองของไทย” เพื่อร่วมสะท้อนมุมมองในเชิงความสัมพันธ์ กฎหมายระหว่างประเทศ และทิศทางลดความขัดแย้งนี้     “ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์” อาจารย์ประจำวิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรียงลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล – กลุ่มผู้ติดอาวุธในปาเลสไตน์ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นจากปมปัญหาใหญ่ๆ 3 เหตุการณ์ เริ่มจากเหตุการณ์แรก เมื่อกลางเดือน เม.ย.…