ช่องโหว่ในระบบรถไฟใต้ดินนิวยอร์กทำให้มิจฉาชีพดูประวัติการเดินทางเหยื่อได้

Loading

  ช่องโหว่ในระบบการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสของรถไฟใต้ดินในนครนิวยอร์กทำให้คนที่มีข้อมูลบัตรเครดิตของผู้โดยสารสามารถเข้าไปดูประวัติการเดินทางของคนนั้นได้   ช่องโหว่นี้อยู่ในฟีเจอร์หนึ่งบนเว็บไซต์ OMNY ของสำนักงานการคมนาคมมหานคร (MTA) ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าชมประวัติการเดินทางใน 1 สัปดาห์ของใครก็ได้ เพียงแค่มีข้อมูลบัตรเครดิต   ไม่เพียงแค่บัตรเครดิตเท่านั้น หากมีข้อมูลใช้จ่ายบน Apple Pay หรือ Google Pay ก็ดูได้เช่นกัน   เอวา กัลเพริน (Eva Galperin) ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ของ Electronic Frontier Foundation (EFF) ชี้ว่าช่องโหว่นี้เอื้อประโยชน์ให้ผู้ไม่หวังดีที่มีข้อมูลเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยกับเหยื่อ   ด้าน ยูจีน เรสนิก (Eugene Resnick) โฆษกของ MTA ระบุว่าทางองค์กรพร้อมปรับปรุงความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอและจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเข้ามาให้คำแนะนำ   ที่มา finextra     ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :             …

ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์ เผย สามารถแฮ็ก Skype ล้วงข้อมูลที่อยู่ไอพีได้

Loading

  ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์เผย สามารถแฮ็ก Skype ล้วงข้อมูลที่อยู่ไอพีของผู้ใช้งานได้ ด้าน Microsoft ยังนิ่ง   ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์อิสระผู้ใช้นามแฝงว่า Yossi ออกมาเผยกับทางสื่อไอทีต่างประเทศว่า สไกป์ (Skype) แอปพลิเคชันติดต่อสื่อสารชื่อดัง มีความบกพร่องด้านการป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์ สามารถแฮ็กข้อมูลเพื่อโจรกรรมเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) ที่จะระบุข้อมูลแม่ข่ายและตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้งาน โดยอาชญากรสามารถแฮ็กข้อมูลได้ เพียงแค่ส่งข้อความที่แนบลิงก์ไปยังเหยื่อ เมื่อเหยื่อกดเข้าไปดูข้อความ ก็จะถูกอาชญากรดึงเลขที่อยู่ไอพีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปดูลิงก์ที่ส่งมา     ด้านสื่อไอทีอย่าง 404 Media จึงติดต่อไปยัง Yossi เพื่อขอทดสอบการแฮ็กที่อยู่ไอพีบนสไกป์ โดยเริ่มจากการให้ Yossi ส่งลิงก์มายังบัญชีทางการของ 404 Media จากนั้นแอดมินของทาง 404 Media จึงเปิดแชตดังกล่าว พบว่าลิงก์ที่ส่งมาเป็นลิงก์การเข้าไปยังกูเกิล (แต่ทางแอดมินไม่ได้คลิกเข้าชมลิงก์แต่อย่างใด) ไม่นาน Yossi ก็ส่งหมายเลขไอพีของ 404 Media มายังห้องแชต และเมื่อตรวจสอบก็พบว่า หมายเลขไอพีที่ Yossi ส่งมา ตรงกับหมายเลขไอพีของบัญชีทางการ…

รู้จัก N-Day ไวรัสแฝงบน Chrome ที่ Google แก้เผ็ดด้วยการอัปเดตทุกสัปดาห์

Loading

  จำนวนผู้ใช้งาน Chrome ที่มีกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก กลายเป็นเรื่องสำคัญ Google จำเป็นต้องเพิ่มความปลอดภัย ล่าสุด Google เรียกความมั่นใจจากผู้ใช้งานว่า Chrome ปลอดภัยจากช่องโหว่ Zero-day และ n-day แล้ว   การใช้ประโยชน์จาก N-day คืออะไร   Amy Ressler ทีมรักษาความปลอดภัยของ Chrome เล่าว่า ช่องโหว่ N-day คือการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของโปรแกรมระหว่างที่กำลังแก้ไขปัญหา ผ่านทางโครงการที่ชื่อ Chromium ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์สที่เปิดให้ทุกคนแอบดูซอร์สโค้ดเพื่อนำไปใช้ในการร่วมกันปรับปรุงและแก้ไขไวรัส   แต่มีคนดีก็ต้องมีคนร้าย ซึ่งคนร้ายแอบนำซอร์สโค้ดเหล่านี้ไปใช้แทรกซึมและแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ในช่วงที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์กำลังแก้ไขปัญหาและผู้ใช้งานรุ่นเบต้า จะฟีดแบ็กปัญหาต่าง ๆ กลับมา เมื่อได้รับการแก้ไข ก็ค่อยปล่อยออกสู่สาธารณะ   ซึ่งระหว่างนี้ อาชญากรไซเบอร์และผู้คุกคาม จะเอารุ่นเบต้าไปแอบปล่อยด้วยข้อความดึงดูดและหลอกลวงเพื่อหาผลจากช่องโหว่นั่นเอง   เมื่อมีการเปิดแพตช์ หรือตัวปรับปรุงแก้ไขสู่สาธารณะ ก็กลายเป็นช่องโหว่ให้กับผู้ใช้งานที่ไม่ได้ติดตั้งแพตช์ แฮ็กเกอร์ก็สามารถหาประโยชน์จากแพตช์ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้อีก   นั่นจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “การแสวงหาผลประโยชน์แบบ…

WinRAR แก้ช่องโหว่สำคัญที่ทำให้แฮ็กเกอร์ควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล

Loading

  RARLAB เพิ่งแก้ช่องโหว่ร้ายแรงของ WinRAR บนระบบปฏิบัติการ Windows ซอฟต์แวร์บีบอัดไฟล์ยอดฮิตที่มีผู้ใช้หลายล้านคน   ช่องโหว่ตัวนี้มีรหัสติดตามว่า CVE-2023-40477 ซึ่งเป็นช่องให้ผู้ไม่หวังดีสามารถสร้างไฟล์ .rar ที่ฝังมัลแวร์ไว้ได้ โดยหากเหยื่อเปิดไฟล์นี้ขึ้นมา ผู้สร้างไฟล์จะสามารถเปิดใช้งานโค้ดคำสั่งบนอุปกรณ์ของเหยื่อจากระยะไกลได้ มีคะแนนความรุนแรงอยู่ที่ 7.8   ผู้ค้นพบช่องโหว่นี้คนแรกคือนักวิจัยไซเบอร์ที่ใช้ชื่อว่า goodbyeselene แห่ง Zero Day Initiative ที่เจอช่องโหว่ตัวนี้อยู่ในกระบวนการกู้คืนไฟล์ของ WinRAR และได้แจ้งการมีอยู่ของช่องโหว่นี้แก่ RARLAB เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา     ออกตัวแก้มาแล้ว   ตัวแก้ที่ RARLAB ออกมาคือตัวอัปเดตของ WinRAR ในเวอร์ชัน 6.23 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งแก้ไขช่องโหว่ CVE-2023-40477 โดยสมบูรณ์   เวอร์ชัน 6.23 นอกจากจะแก้ช่องโหว่ในระบบการกู้คืนและซ่อมไฟล์แล้ว ยังแก้ไขไม่ให้การเปิดไฟล์ RAR ไปเปิดใช้งานไฟล์ผิดตัวด้วย เพื่อป้องกันการเปิดใช้งานโค้ดจากระยะไกล…

FraudGPT เครื่องมือใหม่ Dark Web Markets

Loading

  ทุกวันนี้ภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบจนในบางครั้งเราก็อาจตามไม่ทันและสุดท้ายต้องตกเป็นเหยื่อของการคุกคามในที่สุด เหล่าบรรดาแฮกเกอร์มุ่งพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้เปิดโจมตี ซึ่งในวันนี้ผมจะขอนำเสนอ AI ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “FraudGPT” ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในตลาด Dark Web และช่องทาง Telegram ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันลงความเห็นว่า FraudGPT เป็นเครื่องมือที่ควรจะต้องเฝ้าระวังอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว จากข้อมูลพบว่ามีการออกโปรโมตเกี่ยวกับ FraudGPT ว่าเป็นโซลูชันที่ครบวงจร สามารถตอบโจทย์ความต้องการของอาชญากรทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี   เพราะเครื่องมือจะประกอบไปด้วยฟีเจอร์พิเศษต่าง ๆ ที่สามารถสร้างอีเมล spear-phishing การรวมมัลแวร์ที่หลีกเลี่ยงการตรวจจับ การสร้างหน้าฟิชชิง การแจ้งเตือนเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และการสอนเทคนิคแฮ็กต่าง ๆ   โดย Generative AI Tool นี้เองที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์มีฟังก์ชันการทำงานได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีซึ่งนั่นก็คือ ความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วและขนาดที่เพิ่มมากขึ้น   แน่นอนว่า เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถสร้างแคมเปญฟิชชิงได้อย่างรวดเร็วและเปิดตัวใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น และจุดนี้เองที่ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภัยคุกคามตัดสินใจเฝ้าติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของ FraudGPT รวมถึงแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างใกล้ชิด เพราะก่อนหน้านี้แฮ็กเกอร์เคยเป็นผู้ค้าในตลาด Dark Web หลายแห่งเลยก็ว่าได้   นอกจากนี้ แฮ็กเกอร์ยังปรับใช้วิธีการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เพื่อหลบหลีกกลโกงต่าง…

สุดเสี่ยง!!! เอเชียแปซิฟิก’ พื้นที่เป้าหมายภัยคุกคามออนไลน์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) ของไตรมาสที่สองของปี 2023 ขณะที่ ‘เอเชียแปซิฟิก’ ยังเป็นพื้นที่ ถูกคุกคามจากภัยออนไลน์ตัวใหม่ ๆ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) หรือ การโจมตีแบบระบุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง ของไตรมาสที่สองของปี 2023   นักวิจัยแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้าง มัลแวร์ สายพันธุ์ใหม่ และการใช้เทคนิคใหม่ๆ ของ อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะ เรื่องสำคัญคือแคมเปญการโจมตีที่มีความซับซ้อน ชื่อว่า “Operation Triangulation” ที่ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มมัลแวร์ iOS มายาวนานโดยไม่มีใครรู้จักมาก่อน   ข้อมูลสำคัญจากรายงาน APT ไตรมาส 2 ได้แก่   •  เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ถูกคุกคามตัวใหม่ “Mysterious Elephant”…