ChatGPT เจอเครื่องมือแฮ็ก Mac ซ่อนอยู่ในดาร์กเว็บ

Loading

  Guardz Cyber Intelligence Research (CIR) ขอให้ ChatGPT หามัลแวร์ของ Mac จนเจอเครื่องมือแฮ็กใหม่ที่ขายอยู่บนเว็บไซต์ภาษารัสเซียในดาร์กเว็บ   วิธีการก็แค่ป้อนคำขอไปยัง ChatGPT ให้หาช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ MacOS ที่อยู่ในดาร์กเว็บ   การค้นพบนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญของ Guardz เข้าไปยังดาร์กเว็บเพื่อค้นหาช่องโหว่ที่ว่านี้ ซึ่งก็พบว่ามีการขายเครื่องมือ HNVC ที่ใช้ช่องโหว่บนแอป HNVC ในการควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกล บนเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Exploit   เครื่องมือจะเปิดทางให้สามารถเข้าควบคุมเครื่อง Mac ของเหยื่อโดยที่เหยื่อไม่รู้ตัวเลยแม้แต่น้อย   ส่วนราคาของ HNVC อยู่ที่ราว 60,000 เหรียญ (ราว 2 ล้านบาท) เป็นการซื้อขาด แต่หากต้องการให้มีความสามารถเพิ่มก็จ่ายเพิ่มอีก 20,000 เหรียญ (ราว 690,510 บาท)     ที่มา   appleinsider      …

บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ ใช้งานง่าย แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงเงินหายออกจากบัญชีได้ถ้าไม่ระวัง

Loading

  ไม่นานมานี้ มีการเปิดเผยถึงข้อมูลของการโจมตีด้วยมัลแวร์ Prilex ที่มุ่งจู่โจมไปที่การจ่ายเงินผ่าน บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลทางการเงินของบัตรเครดิต และนำไปสร้างบัตรเครดิตปลอม (cloning) ที่สามารถใช้งานได้จริง   บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ (Tap-to-pay Contactless Credit Card) ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจก่อนว่าอะไรคือรูปแบบการชำระเงินด้วย บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ และมีที่มาอย่างไร   การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการรณรงค์ลดการสัมผัสเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อ นำมาสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ทำให้การจ่ายเงินแบบ สแกน QR code พร้อมเพย์ และบัตรเครดิต กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก   การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตแบบแตะเพื่อจ่าย เป็นอีกช่องทางที่ได้รับความนิยมเนื่องจากความสะดวกในการใช้งาน ที่เพียงนำบัตรเครดิตของลูกค้าไปแตะบนเครื่องตัดบัตร ยอดเงินก็จะถูกตัดไปชำระค่าบริการทันที   เครื่องตัดบัตรที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากัน ล้วนมีการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารระยะสั้น (Near Field Communication – NFC) ที่ทำงานโดยใช้คลื่นวิทยุไร้สายในการสื่อสารกับวัตถุที่อยู่ใกล้กัน เพื่อทำการรับ-ส่ง ข้อมูลซึ่งกันและกัน  …

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์ที่เชื่อมโยงกับจีนเข้าถึงอีเมลของรัฐบาลตะวันตก

Loading

  Microsoft เผยแฮ็กเกอร์ที่เชื่อมโยงกับจีนได้เข้าถึงบัญชีอีเมลของหน่วยงานและองค์กรของรัฐบาลตะวันตกในแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์   Microsoft ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อ Storm-0558 ได้ปลอมแปลงโทเค็นการตรวจสอบสิทธิ์ดิจิทัลเพื่อเข้าถึงบัญชีเว็บเมลที่ทำงานบนบริการ Outlook ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม   “ Microsoft ได้ติดต่อองค์กรที่เป็นเป้าหมายหรือถูกบุกรุกทั้งหมดโดยตรงผ่านทางผู้ดูแลระบบ และให้ข้อมูลที่สำคัญแก่พวกเขาเพื่อช่วยในการตรวจสอบและแก้ปัญหา” บริษัทกล่าวในแถลงการณ์ พร้อมเสริมว่า “ฝ่ายตรงข้ามมุ่งเน้นไปที่การจารกรรม” รวมถึงการเข้าถึงอีเมลเพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวกรอง   อย่างไรก็ตาม Microsoft ไม่ได้ระบุว่าองค์กรหรือประเทศใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ แต่ระบุว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ดังกล่าวมีเป้าหมายหลักคือหน่วยงานในยุโรปตะวันตก   บริษัทกล่าวว่ากำลังทำงานร่วมกับกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ และหน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ “ปกป้องลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและแก้ไขปัญหา”   Adam Hodge โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวกล่าวว่าการบุกรุกในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ของ Microsoft นั้น “ส่งผลกระทบต่อระบบที่ไม่ได้เป็นชั้นความลับ” โดยไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม   “เจ้าหน้าที่ติดต่อ Microsoft ทันทีเพื่อค้นหาแหล่งที่มาและช่องโหว่ในบริการคลาวด์ของพวกเขา”   ด้านเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวกล่าวว่า สหรัฐฯ ตรวจพบการละเมิดบัญชีของรัฐบาลกลาง “ค่อนข้างเร็ว” และกำลังสืบสวนเรื่องนี้   แต่จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยเรียกสหรัฐฯ ว่า “อาณาจักรแฮ็คที่ใหญ่ที่สุดในโลกและหัวขโมยไซเบอร์ระดับโลก”   โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน…

ข้อมูลลูกค้าสำนักงานกฎหมายระดับโลกอาจรั่ว หลัง CL0P อาละวาดหนัก

Loading

  ข้อมูลลูกค้าของ Kirkland & Ellis, K&L Gates และ Proskauer Rose สำนักงานกฎหมายชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอาจหลุดรั่ว หลังโดนแฮ็กครั้งใหญ่   ผู้ที่อ้างว่าอยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า Lance Tempest ที่มีส่วนเชื่อมโยงกับแฮ็กเกอร์ระดับโลกอย่าง CL0P ซึ่งอ้างว่าได้โจมตีบริษัทข้ามชาติอีก 50 แห่งไปด้วยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา   การแฮ็กดังกล่าวเกิดจากการเจาะผ่านช่องโหว่ของ MOVEit ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่หลายองค์กรทั่วโลกใช้ในการส่งไฟล์   สำหรับ CL0P เป็นกลุ่มที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย มักจะรีดไถเงินจากเหยื่อเป็นจำนวนหลายล้านเหรียญ และมักจะโจมตีในช่วงวันหยุดยาว   เบรตต์ คัลโลว (Brett Callow) ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ชี้ว่าการแฮ็กครั้งนี้อาจมีผู้เสียหายสูงถึง 16 ล้านคน โดยบรรดาองค์กรที่ถูกแฮ็กมีทั้งมหาวิทยาลัย ธนาคาร และบริษัทประกัน   เมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตั้งค่าหัวมูลค่า 10 ล้านเหรียญ (ราว 351 ล้านบาท) แก่ผู้แจ้งเบาะแสของกลุ่มดังกล่าว     ที่มา…

เปิดเทคนิคการโจมตี ด้วย ‘ChatGPT’ แบบใหม่

Loading

  ปัจจุบัน ChatGPT ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานเป็นวงกว้างและคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจุดนี้เองนี้ที่ทำให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์มองเห็นโอกาสและช่องโหว่ในการบุกเข้าโจมตีเหยื่อ   ในวันนี้ผมจะขออธิบายเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้เพื่อเป็นการตั้งรับกับสิ่งที่เราต้องเผชิญในเร็ว ๆ นี้กันนะครับ   ก่อนอื่นเลยผมขอพูดถึงเรื่องเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์แบบใหม่ที่ได้รับการขนานนามในวงการว่า “AI package hallucination” โดยได้รับการเปิดเผยจากทีมนักวิจัยว่า มีการใช้โมเดลภาษา OpenAI ChatGPT ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถปล่อยสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าไปในระบบที่นักพัฒนาทำงานอยู่   ChatGPT จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น URL ตัวอย่างอย่างอิงอ้าง (Reference) ไลบรารีโค้ด (Library code) และฟังก์ชันที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมาใหม่ โดยการปลอมแปลงโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ซึ่งได้มีการรายงานแจ้งเตือนและอาจเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการเทรนนิ่งก่อนหน้านี้แล้ว   ทั้งนี้แฮ็กเกอร์จะใช้ความสามารถสร้างรหัสของ ChatGPT และใช้ประโยชน์จากไลบรารีโค้ดที่สร้างขึ้นเป็นแพ็กเกจเพื่อหลอกลวงและเผยแพร่ออกสู่โลกไซเบอร์ผ่าน typosquatting หรือ masquerading   เทคนิคนี้จะดำเนินการผ่านการตั้งคำถามกับ ChatGPT เพื่อขอแพ็คเกจการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโค้ดและขอคำแนะนำแพ็กเกจที่หลากหลาย รวมไปถึงการขอบางแพ็คเกจที่ไม่ได้เผยแพร่ในที่เก็บข้อมูลที่ถูกกฏหมาย   จากนั้นจะเริ่มกระบวนการต่อไปคือการแทนที่แพ็กเกจเหล่านี้ทั้งหมดด้วยแพ็คเกจปลอมต่าง ๆ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะหลอกล่อผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้ตามคำแนะนำของ ChatGPT   ทั้งนี้ จากการทำ…

สหรัฐเจอฤทธิ์แก๊งโจรไซเบอร์รัสเซีย เจาะระบบผ่านแอปโอนถ่ายข้อมูล

Loading

  หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง โดนโจมตีจากแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย โดยอาศัยช่องทางผ่านแอปพลิเคชันดาวน์โหลดข้อมูลยอดนิยม   เอริก โกลด์สตีน ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐ หรือ CISA แถลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกำลังให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางหลายแห่ง ที่พบการบุกรุกจากภายนอก โดยผ่านช่องทางการใช้งานแอปพลิชัน MOVEit   สำนักงาน CISA กำลังประเมินอย่างเร่งด่วนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หนึ่งในหน่วยงานที่ยืนยันมาแล้วว่าโดนแฮ็กระบบคือกระทรวงพลังงาน   นอกเหนือจากหน่วยงานราชการหลายแห่งแล้ว ยังมีบริษัทและองค์กรเอกชนจำนวนมากที่โดนแฮ็กข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ทาง CISA ระบุว่า แก๊งอาชญากรไซเบอร์ที่ชื่อว่า CLOP เป็นผู้ลงมือโจมตีไปทั่วโลกในครั้งนี้   CLOP เป็นแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย มีพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมในลักษณะของการแฮ็กเข้าระบบของหน่วยงานแล้วขโมยข้อมูล จากนั้นก็นำไปเรียกค่าไถ่ซึ่งมักจะอยู่ในระดับหลายล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการของสหรัฐ   เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการของ CISA กล่าวว่า ยังไม่พบผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในหน่วยงานราชการที่เป็นกิจการของพลเรือน และเสริมว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เพียงใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายเพื่อมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม   การแฮ็กระบบทั่วโลกครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นราว…