รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม

Loading

FILE PHOTO REUTERS   รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม   สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า Mandiant บริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของกูเกิลกล่าวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการหนุนหลังจากทางการจีนได้ใช้ช่องโหว่ทางความปลอดภัยของระบบรักษาความปลอดภัยของอีเมลที่ได้รับความนิยม เพื่อเจาะเข้าสู่เครือข่ายขององค์กรสาธารณะและเอกชนหลายร้อยแห่งทั่วโลก โดยเกือบ 1 ใน 3 ของทั้งหมดเป็นหน่วยงานรัฐบาล   นายชาร์ลส์ คาร์มาคาล ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีของ Mandiant ระบุว่า “นี่คือแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่ทราบมาว่าดำเนินการโดยผู้คุกคามจากจีน นับตั้งแต่การแฮ็กเข้าสู่ระบบครั้งใหญ่ของ Microsoft Exchange เมื่อช่วงต้นปี 2021”   คาร์มาคาลกล่าวอีกว่า บรรดาแฮ็กเกอร์ได้ทำการโจมตีระบบป้องกันทางคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายร้อยแห่งให้เกิดช่องโหว่ โดยบางครั้งได้ทำการขโมยอีเมลของพนักงานคนสำคัญที่ทำหน้าที่ดูแลในประเด็นที่รัฐบาลจีนให้ความสนใจ Mandiant มั่นใจว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ถูกอ้างอิงในชื่อ ยูเอ็นซี4841 เป็นผู้อยู่เบื้องหลังโครงการจารกรรมทางไซเบอร์เป็นวงกว้างซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน   แฮ็กเกอร์จะทำการส่งอีเมลที่แนบไฟล์อันตรายไปเพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลขององค์กรที่เป็นเป้าหมาย โดยพุ่งเป้าไปที่เหยื่อในอย่างน้อย 16 ประเทศ การกำหนดเป้าหมายให้ความสำคัญไปที่ประเด็นด้านนโยบายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อรัฐบาลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและไต้หวัน โดยเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายยังรวมถึงกระทรวงต่างประเทศ องค์กรด้านการวิจัย และสำนักงานการค้าต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในฮ่องกงและไต้หวัน   ขณะเดียวกัน สำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ซีไอเอสเอ) ของสหรัฐออกมาระบุในวันเดียวกันว่า…

CISA ออกคำสั่ง ให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอัปเดตแพตช์ iPhone และ Mac ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม

Loading

  Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของสหรัฐ ได้ออกคำสั่งให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐทำการแพตช์ความปลอดภัยบนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS, iPadOS และ macOS ภายในวันที่ 1 พฤษภามคม หลังจากที่ Apple ได้ออกแพตช์แล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา   เนื่องจากมีการตรวจพบการโจมตีผ่านช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว โดยช่องโหว่แรก (CVE-2023-28206) เป็นช่องโหว่ชนิด Out-of-bounds write บน IOSurfaceAccelerator ทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างแอพที่รันคำสั่งในระดับ Kernel บนเครื่องเป้าหมายได้ และช่องโหว่ตัวที่สอง (CVE-2023-28205) เป็นช่องโหว่ชนิด Use after free บน WebKit ทำให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งบนอุปกรณ์ iPhone, Mac และ iPad ได้ เพียงแค่เข้าผ่านหน้าเว็บเท่านั้น   Apple ได้ออกแพตช์อุดช่องโหว่ Zero-day ทั้งสองตัวแล้วใน iOS 16.4.1, iPadOS 16.4.1…

Wired เผยแฮ็กเกอร์รัฐบาลจีนขโมยข้อมูลอาเซียนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022

Loading

  เว็บไซต์ Wired เผยว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 มีประกาศแจ้งเตือนทางไซเบอร์ที่ระบุว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่รับงานจากรัฐบาลจีนเข้าไปขโมยอีเมลกว่า 10,000 ฉบับ รวมถึงข้อมูลละเอียดอ่อนจากประเทศอาเซียน คาดว่าเพื่อหาข้อมูลด้านการเมืองและเศรษฐกิจจากเพื่อนบ้าน   อาเซียน (ASEAN) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สมาชิก ได้แก่ ไทย บรูไน กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา สิงคโปร์ และเวียดนาม   การขโมยข้อมูลเป็นไปแบบรายวัน ทุกประเทศในอาเซียนได้รับผลกระทบทั้งหมด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีขนาดรวมกันมากกว่า 30 กิกะไบต์   Wired ชี้ว่าประกาศแจ้งเตือนนี้ถูกส่งไปยังหน่วยงานด้านไซเบอร์ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรของรัฐในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ   แฮ็กเกอร์ใช้ข้อมูลการล็อกอินในการเจาะ 4 เซิร์ฟเวอร์อีเมล Microsoft Exchange ของอาเซียนที่ใช้โดเมน mail.asean.org และ auto.discover.asean.org…

เผยรายงาน Cyber Signals ปี 3 ไมโครซอฟท์พบโครงสร้างพื้นฐานเสี่ยงเพิ่มน่ากังวล

Loading

  ไมโครซอฟท์เผยรายงาน Cyber Signals ฉบับที่ 3 เจาะลึกความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานหลัก ชี้ส่งผลร้ายแน่นอนหากเกิดการจู่โจมกับระบบเหล่านี้   นายสรุจ ทิพเสนา ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันองค์กร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ระบบ OT ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังองค์กรต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรมพลังงาน การขนส่ง และระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ต่างมีแนวโน้มที่จะเชื่อมต่อกับระบบไอทีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เส้นแบ่งระหว่างสองสิ่งที่เคยแยกจากกันอย่างชัดเจนนี้กลับบางลง จนมีความเสี่ยงของการหยุดชะงักและความเสียหายเพิ่มมากขึ้น   “ดังนั้น ธุรกิจและผู้ประกอบการโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงจำเป็นจะต้องมองเห็นสถานการณ์ของระบบที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด พร้อมประเมินความเสี่ยงและความเชื่อมโยงกันของระบบต่างๆ เพื่อให้สามารถตั้งรับได้อย่างมั่นใจ”   รายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ “Cyber Signals” ฉบับที่ 3 ของไมโครซอฟท์ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยรวบรวมข้อมูลจากสัญญาณความปลอดภัย (Security Signals) มากกว่า 43 ล้านล้านรายการต่อวันของไมโครซอฟท์ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย 8,500 คน โดยรายงานประกอบด้วยข้อมูลใหม่ในเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมคำแนะนำเชิงปฏิบัติสำหรับองค์กรที่ต้องการป้องกันตัวจากการโจมตีทางไซเบอร์อย่างทันท่วงที   ข้อมูลสถานการณ์ล่าสุดที่ไมโครซอฟท์เผยไว้ในรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ “Cyber Signals”…

ส่องเทรนด์ ‘ภัยคุกคาม’ รับมือ อาชญากรรมไซเบอร์ทวีคูณ

Loading

  ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขับเคลื่อนป้องกันต้องมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ People, Process และ Technology   ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด   ขณะเดียวกัน มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาด ทำความเข้าใจลูกค้า อีกทางหนึ่งการทำงานของคนก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมทมากขึ้น ส่งผลทำให้องค์กรทุกขนาดต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่านคลาวด์   ข้อมูลโดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2568 องค์กรทั่วโลกจะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยจะเติบโตขึ้นถึง 36.6%   ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า ไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต   เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ระบบซิเคียวริตี้จะยื่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ     รับมือภัยคุกคามไร้ขอบเขต   องค์กรที่จะย้ายไปสู่คลาวด์ จะต้องมีการวางแผนและพร้อมวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมเตรียมรับมือความท้าทายใหม่ๆ ด้านซิเคียวริตี้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ดังนี้…