‘ดีอี’ โชว์ผลงาน ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ
‘กระทรวงดีอี’ เปิดผลงานชิ้นโบแดง ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ‘ประเสริฐ’ รับปาก แม้ตัวเลขความเสียหายลดลง แต่ยังลุยแก้ไขปัญหานี้ถึงที่สุด
องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
secnia@nia.go.th
02-2797180 ต่อ 7310
‘กระทรวงดีอี’ เปิดผลงานชิ้นโบแดง ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ‘ประเสริฐ’ รับปาก แม้ตัวเลขความเสียหายลดลง แต่ยังลุยแก้ไขปัญหานี้ถึงที่สุด
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ทางเทคโนโลยี และผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) มาหารือร่วมกันเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายนนี้
ตร.ไซเบอร์ – กสทช.ตรวจสอบเสาเถื่อนลอบปล่อยสัญญาณให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชายแดน พบลักลอบตั้ง 4 สถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 23 สถานีฯ ที่ได้รับอนุญาต แต่มีสายอากาศหันไปทางประเทศเพื่อนบ้าน สั่งถอนการติดตั้งบางจุด ไม่ให้แพร่สัญญาณออกนอกไทย วันที่ 16 ส.ค.2566 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับ พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. นำกำลังลงพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อตรวจสอบสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต และสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตแต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข เช่น หันตัวส่งสัญญาณไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมจำนวน 27 สถานี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ฯ กล่าวว่า การหลอกลวงและกระทำผิดทางเทคโนโลยีที่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน และมีมูลค่าความเสียหายที่สูงมาก ถือเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่ต้องปราบปรามอย่างจริงจัง จากแนวทางการสืบสวนพบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่ อยู่บริเวณแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ได้อาศัยสัญญาณโทรศัพท์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากประเทศไทยในการกระทำผิด ทั้งนี้…
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ 3 เรื่องต้องรู้ … เมื่อ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ หากถูกหลอกหรือตกเป็นเหยื่อ ต้องทำตัวอย่างไร โทษของการเปิดบัญชีม้าและซิมม้า รวมถึงโฆษณา จะเป็นอย่างไรบ้าง —————————————————————————————————————————————— ที่มา : สยามรัฐออนไลน์ /…
ประกาศแล้ว พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ เปิดทางหน่วยงานรัฐ-ธนาคารแลกเปลี่ยนข้อมูล สกัดยับยั้งมิจฉาชีพ “บัญชีม้า-ซิมม้า” มีโทษจำคุกปรับอ่วม วันที่ 16 มีนาคม 2566 พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นมาตรการที่ออกมาปราบปรามและป้องกันภัยไซเบอร์ที่นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้น มิจฉาชีพเกิดการหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน โดยมีใจความสำคัญ เช่น มาตรา 4 ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกัน มาตรา 6 ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเองหรือได้รับข้อมูลจากระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 ว่าบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ใดถูกใช้หรืออาจถูกใช้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรมและแจ้งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนถัดไป พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบและระงับการทำธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่พบเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตรวจสอบ ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรม…
ร่าง พรก.ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รับจ้างเปิดบัญชีม้า แบงก์ต้องระงับธุรกรรมทันทีรับจ้างเปิดบัญชีม้า ติดคุก 3 ปี โดยนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาว่า ตามที่ ครม.มีมติเมื่อ 24 มกราคม 2566 อนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. และให้ส่งร่างพระราชกำหนดดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชนจากมิจฉาชีพที่หลอกลวงประชาชนโอนเงินผ่านการติดต่อทางโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการหลอกลวงประชาชนให้โอนเงินไปยังบัญชีผู้อื่นที่อยู่ในขบวนการหรือที่เรียกว่า บัญชีม้า ซึ่งปัจจุบันมีคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอยู่ในระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกว่า 2 แสนคดี คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจร่างพระราชกำหนดเรียบร้อยแล้ว และนำเสนอ ครม. พิจารณา ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ มีทั้งหมด 14 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญยังคงเดิม โดยมีกลไกหลักสำคัญในการอายัดบัญชีและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือบัญชีม้า คือ …
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว