ลูกเรือสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ อพยพทุกคนออกจากเครื่องบินอย่างปลอดภัยและรวดเร็วได้อย่างไร

Loading

ผู้โดยสารต่างเร่งไปที่ประตูทางออกฉุกเฉินของเครื่องบินที่กำลังลุกไหม้โดยที่ไม่ถือสัมภาระอะไรติดตัว ตามคำแนะนำของพนักงานบนเครื่องบิน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การไม่นำสิ่งของมีค่าหรือสัมภาระส่วนตัวไปด้วย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การอพยพทั้ง 379 คนบนเครื่องเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ส่องมาตรการรับมือภัยฉุกเฉินของญี่ปุ่น ช่วยชีวิตคนได้ยกลำใน 2 นาที

Loading

  •  เหตุระทึกอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันที่สนามบินฮาเนดะ สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมาตรการรับมือภัยฉุกเฉินของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ รวมทั้งสนามบินฮาเนดะได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนเกือบ 400 ชีวิต ออกมาจากเครื่องได้อย่างปลอดภัยในเวลาเพียง 2 นาที   •  แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากต่างชี้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นข้อพิสูจน์ถึงระบบฉุกเฉินของเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดปาฏิหาริย์ท่ามกลางเรื่องเลวร้ายขึ้นได้   •  การถอดบทเรียนจากเหตุการณ์จึงนับเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สายการบินต่าง ๆ ทั่วโลก ยึดถือเป็นแนวทาง เพื่อให้สามารถช่วยชีวิตคนให้ได้มากที่สุดในยามที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ขึ้นอีก   ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับเหตุการณ์อุบัติเหตุ ภัยพิบัติรุนแรงตั้งแต่ต้นปี ซึ่งถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ใหญ่ แต่กลับพบว่าญี่ปุ่นยังคงสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที จนเกิดความสูญเสียน้อยกว่าที่คาด โดยเฉพาะกับเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ชนกับเครื่องบินของหน่วยยามฝั่งที่สนามบินฮาเนดะแบบไม่คาดคิด แต่การอพยพผู้โดยสารเกือบ 400 คน บนเครื่องที่กำลังไฟลุกไหม้ สามารถทำได้รวดเร็วในเวลาเพียง 90 วินาที หรือไม่เกิน 2 นาทีเท่านั้น จนทำให้ทั้งผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องทั้งหมดรอดชีวิตมาได้ราวปาฏิหาริย์ แม้ว่าจะมีผู้บาดเจ็บราว 14 คน แต่ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บรุนแรง ขณะที่มีผู้เสียชีวิตบนเครื่องบินของหน่วยยามฝั่ง 5 ศพ และรอดชีวิตมาได้เพียง 1 คน  …

ญี่ปุ่น เผชิญภัยร้ายแรงไม่หยุดหย่อน ช่วงปีใหม่

Loading

ประเทศญี่ปุ่นยังเผชิญกับเหตุร้ายแรงช่วงปีใหม่ไม่หยุดหย่อน ล่าสุด มีเหตุการณ์หญิงคนหนึ่งใช้มีดไล่แทงผู้คนในตู้รถไฟ ที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 4 คน ก่อนหน้านั้น 8 ชั่วโมง เกิดเหตุเพลิงไหม้รุนแรงที่ศูนย์การค้าอุโอมาจิ กินเทนไก

ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น สู่ ‘ไทย’ ที่ยังมีโอกาสเกิดสึนามิ

Loading

  นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เตือนไทยประมาทไม่ได้ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 แนะซักซ้อมเหตุการณ์เป็นระยะ ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้อยู่ในสภาพให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา   ศ.อมร พิมานมาศ นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ   ศ.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย   “ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได…

สถานทูตฯเตือนคนไทยในญี่ปุ่นเฝ้าระวัง หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6

Loading

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แจ้งว่าด้วยวันนี้ 1 มกราคม 2567 เวลาประมาณ 16.16 น. ตามเวลาท้องถิ่นในญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6 แมกนิจูดโดยมีศูนย์กลางในพื้นที่เขตโนโตโจ จังหวัดอิชิคาวะ ซึ่งห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 526 กิโลเมตร โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศเตือนว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิ ความสูง 3-5 เมตร

“ยานยนต์ไร้คนขับ” ประเด็นกฎหมายที่ต้องพิจารณา

Loading

  เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีที่คนทั้งโลกเฝ้ารอ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้ง Apple Google Sony Tesla และ Toyota ต่างกำลังแข่งขันกันพัฒนาระบบ   นอกจากความสะดวกสบายของผู้ใช้ยานยนต์ไร้คนขับแล้ว การใช้ยานยนต์ไร้คนขับอย่างแพร่หลายยังเป็นที่คาดหมายว่า จะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างมากอีกด้วย เนื่องจากการศึกษาของหลายสถาบัน อุบัติเหตุบนท้องถนนประมาณร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากคนขับ   นอกจากนี้ หลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะที่เข้าสู่สังคมสูงวัยยังคาดหมายว่า ยานยนต์ไร้คนขับจะเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ปัญหาการขนส่งสาธารณะอีกด้วย   ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กำลังพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เพื่อเตรียมใช้สำหรับการขนส่งสาธารณะในภาพรวม ในปัจจุบันมีการทดลองให้บริการแล้วที่ Garden by the Bay   ส่วนในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดฟุคุอิก็ให้บริการยานยนต์ไร้คนขับ ระดับ 4 (ระดับที่คนขับไม่จำเป็นต้องทำการขับขี่ยานยนต์) เป็นครั้งแรกของประเทศ   รถยนต์ไม่ต้องมีคนขับหรือบทบาทของคนขับนั้นน้อยลง เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คำถามที่ตามมาคือ หากเกิดอุบัติเหตุใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ?   หากดูเรื่องของอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบภาพรวม ระบบการทำประกันภัยภาคบังคับที่ให้เจ้าของรถทุกคนรับผิดชอบค่าเบี้ยประกันสำหรับประกันภัยภาคบังคับจะยังเหมาะสมหรือไม่?   ระบบการทำประกันภัยภาคบังคับ ที่ให้เจ้าของรถทุกคนรับผิดชอบค่าเบี้ยประกัน เป็นระบบที่มีเบื้องหลังส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุที่ว่า  …