เปิดคลิปตร.ญี่ปุ่นรวบชายปา “ระเบิดควัน” ใส่นายกรัฐมนตรี นาทีกล่าวสุนทรพจน์เลือกตั้ง

Loading

  วันที่ 15 เม.ย.ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ตำรวจเข้าจับกุมชายขว้างวัตถุคล้ายระเบิดควันในบริเวณที่นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกำลังกล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนการเลือกตั้งที่เมืองวากายามะ ภูมิภาคคันไซ หลังจากอพยพนายคิชิดะออกไปยังที่ปลอดภัย รายงานล่าสุดแจ้งว่า นายคิชิะดะ ปลอดภัยและไม่ได้รับอันตราย   วัตถุทรงกระบอกตกในที่เกิดเหตุ เชื่อว่าถูกขว้าง ระหว่างที่นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกฯญี่ปุ่นกำลังหาเสียงที่เมืองวากายามะ เมื่อ 15 เม.ย. (เอเอฟพี)   สำนักข่าวเอ็นเอชเค สื่อท้องถิ่นเผยแพร่ภาพแสดงประชาชนกำลังหนีและชายคนหนึ่งถูกจับกุมหลังเกิดเหตุขึ้น จากนั้นมีชายหลายคนที่เชื่อว่าน่าจะเป็นตำรวจกดตัวผู้ต้องสงสัยลงกับพื้น และอีกหลายภาพแสดงกระบอกสูบสีเงินคล้ายถูกขว้างไปทางนายคิชิดะ   เหตุเกิดที่เมืองวากะยามาในช่วงที่นายคิชิดะกำลังกล่าวถ้อยแถลง หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมท่าเรือประมงไซกาซากิ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ถ้อยแถลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ผู้สมัครกำลังหาเสียงการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ     สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุระบุว่า วัตถุสีเงินทรงกระบอกถูกปาออกไปไกลราว 2 เมตรจากจุดที่ตนยืนอยู่ ไม่นานก่อนที่จะได้ยินเสียงระเบิด พยานอีกคนระบุตรงกันว่า ตนเห็นกระบอกสูบสีเงินและว่า วัตถุถูกขว้างออกไป ต่อมาเกิดแสงเล็กน้อย ก่อนเกิดเสียงดังตามมา   เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นระบุว่า นายคิชิดะปลอดภัยและไม่ได้รับอันตราย ถูกนำตัวไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีตำรวจยืนแวดล้อม และคอยอารักขา  …

ตำรวจญี่ปุ่นเตือนภัยการนำเราเตอร์ไปใช้ในการโจมตีไซเบอร์ พร้อมแนะนำวิธีป้องกัน

Loading

  สำนักงานความมั่นคงสาธารณะ (PSB) ในสังกัดสำนักงานตำรวจโตเกียว (TMPD) ของญี่ปุ่นออกมาเตือนประชาชนให้ระวังว่าเราเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ในที่อยู่อาศัยจะถูกนำไปใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์   PSB ชี้ว่ารูปแบบการโจมตีที่ว่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 โดยในปี 2022 เกิดเหตุการณ์ที่มีอาชญากรไซเบอร์แอบเข้ามาเปลี่ยนการตั้งค่าโดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว เพื่อโจมตีบริษัทที่เจ้าของเราเตอร์ทำงานอยู่   2 ระบบสำคัญของเราเตอร์ที่เอื้อให้แฮ็กเกอร์เข้ามาอาศัยเป็นช่องทางทำมาหากินได้คือ VPN (Virtual Private Network) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงระบบของบริษัทที่ตัวเองทำงานอยู่โดยไม่ต้องอยู่ที่ทำงานได้ และ DDNS (Dynamic DNS) ที่มักใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมกับอินเทอร์เน็ต   การเข้าไปเปลี่ยนการตั้งค่าใน VPN และ DDNS จะทำให้แฮ็กเกอร์สามารถใช้เครือข่ายที่เราเตอร์เชื่อมต่ออยู่ในการโจมตีทางไซเบอร์   เจ้าหน้าที่ชี้ว่าผู้ใช้งานจำนวนมากไม่เข้าใจวิธีการทำงานและการตั้งค่าของระบบต่าง ๆ ภายในเราเตอร์ ทำให้ไม่รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น   วิธีการป้องกันไม่ใช่เฉพาะการเปลี่ยนรหัสผ่าน และ ID เท่านั้น แต่ต้องเปลี่ยนการตั้งค่าหรือรีเซตกลับไปเป็นการตั้งค่าโรงงานด้วย ไม่เช่นนั้นก็มีโอกาสที่อาชญากรจะมาแอบใช้เราเตอร์ต่อไป   โดยต้องศึกษาคู่มือและเว็บไซต์ของผู้ผลิตเราเตอร์เพื่อให้รู้ว่ามีการเปิดใช้งาน VPN และ DDNS…

วังญี่ปุ่นตั้งสำนักประชาสัมพันธ์หวังสื่อสารเชิงรุกป้องชาวเน็ตใส่ร้าย!

Loading

    สำนักพระราชวังอิมพิเรียลของญี่ปุ่นตั้งสำนักประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มการสื่อสารถึงประชาชน   สำนักข่าวเกียวโดรายงาน การตั้งสำนักประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเกิดขึ้นหลังจากสำนักพระราชวังอิมพิเรียลซึ่งดูแลงานของราชวงศ์ญี่ปุ่นต้องรับมือกับปฏิกิริยารุนแรงจากชาวเน็ตกรณีการหมั้นหมายและสมรสของอดีตเจ้าหญิงมาโกะกับนายเคอิ โคมุโร หวานใจตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย   รายงานข่าวคาดว่าสำนักประชาสัมพันธ์จะปรับปรุงเว็บไซต์ที่มีอยู่ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่สำนักพระราชวังสื่อสารกับประชาชนโดยตรง และพิจารณาช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ อาทิ โซเชียลมีเดียเพื่อแบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับราชวงศ์อิมพิเรียลในเชิงรุก   สำนักประชาสัมพันธ์สำนักพระราชวังได้นางสาวมาอิโกะ ฟูจิวาระ วัย 44 ปี ผู้เคยทำงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับหน้าที่หัวหน้าสำนัก เริ่มต้นมีเจ้าหน้าที่ 9 คน หนึ่งในนั้นมาจากภาคเอกชน และอาจรับพนักงานเพิ่มจนครบ 10 คน   “เราต้องการสร้างหลักประกันว่าได้ให้ภาพกิจกรรมและบุคลิกของราชวงศ์อิมพิเรียลได้สมบูรณ์กว่าในอดีต” นายยาซุฮิโกะ นิชิมูรา ผู้อำนวยการสำนักพระราชวังกล่าวถึงสำนักประชาสัมพันธ์ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ในวันนี้ (1 เม.ย.)   ด้านเจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งในสำนักพระราชวังเผยว่า “การให้ข้อมูลถูกต้องเชิงรุกจะช่วยรับมือการวิจารณ์ราชวงศ์อย่างรุนแรงได้ แม้สำนักพระราชวังยังลังเลเรื่องการใช้โซเชียลมีเดีย เกรงว่าการโพสต์โดยตรงของสมาชิกราชวงศ์อาจโดนตอบกลับแบบไม่คาดฝัน”   รายงานข่าวระบุด้วยว่า ขณะที่ราชวงศ์ต่างชาติอย่างราชวงศ์อังกฤษใช้โซเชียลมีเดียหลากหลายรูปแบบเว็บไซต์สำนักพระราชวังอิมพิเรียลมีแค่หมายพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตและพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่น ๆ รวมถึงภาพ และพระราชดำรัสในงานต่าง ๆ เท่านัน   ผู้รู้หลายคนตำหนิว่า การสื่อสารกับสาธารณชนอย่างจำกัดเป็นปัจจัยทำให้สื่อรายงานข่าวที่ถูกมองว่าเป็นการใส่ร้ายตระกูลโคมุโร จนอดีตเจ้าหญิงมาโกะต้องเจ็บป่วยเพราะความเครียด   ทั้งนี้…

ส.ส.ญี่ปุ่นเตรียมเสนอให้รัฐบาลแบน ‘ติ๊กต็อก’

Loading

  กลุ่ม ส.ส.ญี่ปุ่นจากพรรคแอลดีพี เตรียมเสนอให้รัฐบาลสั่งแบนแอปพลิเคชันยอดนิยมหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมทั้ง ‘ติ๊กต็อก’ ด้วย หากพบว่ามีการใช้งานในแง่ลบ   27 มี.ค. 2566 กลุ่ม ส.ส.พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ของญี่ปุ่น วางแผนรวบรวมข้อเสนอเพื่อยื่นต่อรัฐบาลในเดือนหน้า ให้มีมาตรการสั่งแบนแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กหลายแพลตฟอร์ม ถ้าหากพบว่ามีการนำไปใช้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีแอปพลิเคชันยอดนิยมที่กำลังตกเป็นเป้าหมายของการสั่งแบนในสหรัฐอย่าง ‘ติ๊กต็อก’ รวมอยู่ด้วย   ส.ส.ของสหรัฐเ รียกร้องรัฐบาลของประธานาธิบดีพิจารณาสั่งห้ามการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อกที่มีต้นตอมาจากประเทศจีน โดยกล่าวหาว่ามีการใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงเซ็นเซอร์เนื้อหาและเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชน   โนริฮิโระ นากายามะ ส.ส.พรรคแอลดีพี กล่าวว่า ถ้าหากมีการพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันใด ๆ โดยเจตนา เพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อเผยแพร่อิทธิพลในทางประสงค์ร้าย ก็ควรพิจารณาสั่งให้เลิกใช้แอปพลิเคชันนั้นๆ   นากายามะ กล่าวว่า หากมีความชัดเจนว่าแอปพลิเคชันจะโดนสั่งปิดได้ ถ้าทำผิดกฎเกณฑ์ ก็จะช่วยให้บริษัทผู้พัฒนาและเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันคอยตรวจสอบการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น แอปติ๊กต็อก ซึ่งมีผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากถึง 17 ล้านคน ก็จะเข้าถึงแอปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้งานได้   นากายามะ กล่าวว่าควรมีการพิจารณาจำกัดการใช้งานแอป เพิ่มเติม…

จีนจับชาวญี่ปุ่นฐานต้องสงสัยจารกรรม

Loading

  ปักกิ่ง 27 มี.ค.- จีนเผยวันนี้ว่า ควบคุมตัวพลเมืองชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งฐานต้องสงสัยว่าจารกรรม หลังจากญี่ปุ่นขอให้จีนปล่อยตัวพลเมือง   โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน เผยระหว่างการแถลงข่าวตามปกติว่า เจ้าหน้าที่จีนที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินมาตรการบังคับคดีอาญาในเดือนนี้กับพลเมืองญี่ปุ่นคนหนึ่งตามกรอบของกฎหมาย บุคคลดังกล่าวต้องสงสัยว่าพัวพันกับการจารกรรม อันเป็นการละเมิดกฎหมายอาญาและกฎหมายต่อต้านการจารกรรมของสาธารณรัฐประชาชนจีน โฆษกกล่าวด้วยว่า จีนเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ชาวต่างชาติทุกคนที่อยู่ในจีนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายจีน ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย พลเมืองญี่ปุ่นในจีนมีคดีลักษณะนี้หลายครั้งในช่วงหลายปีมานี้ ญี่ปุ่นควรให้ความรู้และเตือนพลเมืองของตนเองให้ดีกว่านี้   ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่งของจีนได้รับแจ้งในเดือนนี้ว่า มีชายชาวญี่ปุ่นวัย 50 ปีเศษ ถูกควบคุมตัวในกรุงปักกิ่ง รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้จีนเร่งปล่อยตัวโดยทันที และกำลังหาทางติดต่อทางกงสุลกับชายผู้นี้ ขณะที่แอสเตลลาสฟาร์มา บริษัทยาของญี่ปุ่นยืนยันว่า ชายผู้นี้เป็นพนักงานของบริษัท สื่อญี่ปุ่นระบุว่า เขาทำงานอยู่ในจีนมานาน 2 ทศวรรษแล้ว สำนักข่าวเกียวโดนิวส์รายงานว่า เขาถูกควบคุมตัวขณะเตรียมตัวเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนนี้ และเคยเป็นผู้บริหารอาวุโสของหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในจีน             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลร้ายแรงที่สุดในโลก

Loading

    มองย้อนรอย 6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่โลกนี้เคยมีมา พบทั้งในอดีตสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และญี่ปุ่น     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีข้อดีหลายอย่างและถูกใช้งานในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้เคยเกิดข้อผิดพลาดและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในอดีต   หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างความร้อนมหาศาลไปทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอและหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในโลกนี้ TNN Tech ขอหยิบยกมานำเสนอทั้งหมด 6 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่   ปี 1986 นิคมเชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นเคียฟ, ยูเครน) สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 4,000 คน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลได้ถูกปิดจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมชมส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน   ปี 1957 คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ สารที่รั่วไหลไอโอดีน-131 ผู้เสียชีวิต 240 คน   ปี 1957 คิสตีม สหภาพโซเวียต…