ญี่ปุ่นออกตัวแรง

Loading

  การเดินทางเยือนไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่น่าจับตาดูภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เพราะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ผ่านมาว่างเว้นการเดินทางมาเยือนประเทศในภูมิภาคนี้มานานพอสมควร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้ายเมื่อ 9 ปีมาแล้ว แต่พอนายกรัฐมนตรี นายคิชิดะ ฟูมิโอะ ขึ้นดำรงตำแหน่ง เขาก็เริ่มเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ ทันที   การที่ผู้นำประเทศเมื่อขึ้นครองอำนาจและเดินทางเยือนมิตรประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนการเยือนครั้งนี้ จะมีใครฝากประเด็นยูเครนให้มาพูดด้วยหรือไม่ ไม่ทราบ หรือเป็นความริเริ่มของผู้นำญี่ปุ่นเอง   ที่ผ่านมา การเดินทางของผู้นำญี่ปุ่นที่เยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน้นเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุน เป็นสำคัญ มากกว่าด้านความมั่นคง   หากจะพูดถึงด้านความมั่นคง ญี่ปุ่นควรหงุดหงิดกับผู้นำเกาหลีเหนือมากกว่า ที่วันดีคืนดีก็ยิงจรวดมาตกในทะเลญี่ปุ่นบ่อย ๆ ส่วนการอ้างสิทธิเหนือทะเลจีนใต้ของจีนกระทบต่อการเดินเรือเสรีโดยเฉพาะเรือบรรทุกน้ำมันของญี่ปุ่นจากตะวันออกกลางไปญี่ปุ่นต้องผ่านเส้นทางนี้เป็นสำคัญ แต่คราวนี้ ผู้นำญี่ปุ่นคนนี้ไปไกลถึงยูเครน การเยือนห้าประเทศครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ “ ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและ ความมั่นคง “ ซึ่งประเด็นหลังดูแปลกใหม่สำหรับท่าทีของญี่ปุ่น   ที่น่าสังเกตคือ เขาประกาศว่า การเดินทางเยือนครั้งนี้เป็น “ ภารกิจเพื่อปกป้องสันติภาพ “ จนหลายคนสงสัยว่า ประเด็น “ ยูเครน” ซึ่งอยู่ในวาระการเยือนด้วยนั้น…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแก้ไขของญี่ปุ่น

Loading

  โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าสูง การเข้าถึงและครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้   แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นแล้ว การตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง   ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ   เนื่องจากในปัจจุบันเราจะพบปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความเสียหายกับบุคคลจำนวนมาก   กฎหมายดังกล่าวจะมีกำหนดบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 อันส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   สำหรับผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยแล้ว ก็จำต้องศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศคู่ค้าด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีการทำผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนั้นๆ   ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย และเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ญี่ปุ่นได้ตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (個人情報保護法 – Act on Protection of Personal Information – APPI) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ที่เสนอขายสินค้าและบริการที่มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น   ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม และหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้ ก็ได้มีการตรากฎระเบียบอื่น…

“เซเลนสกี” จะปราศรัยต่อรัฐสภาญี่ปุ่น ขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรบรัสเซีย

Loading

  ยูเครนร้องขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย และประธานาธิบดีจะขอกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่รัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อเรียกร้องการสนับสนุน   รัฐบาลยูเครนได้แจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ขอให้นายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปราศรัยต่อรัฐสภาญี่ปุ่นผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ เพื่อขอการสนับสนุนยูเครนจากนานาชาติ หลังจากเขาได้ปราศรัยต่อรัฐสภาของสหรัฐฯ และหลายชาติยุโรปมาแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นมีท่าทีตอบรับข้อเสนอของยูเครน คณะกรรมมาธิการกิจการรัฐสภาจากทั้งพรรครัฐบาล และฝ่ายค้านกำลังดำเนินการเพื่อจัดเตรียมระบบออนไลน์ โดยแทบจะไม่เคยมีผู้นำต่างชาติที่ได้ปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่รัฐสภาญี่ปุ่น   คาดว่าเรื่องสำคัญที่ผู้นำยูเครนจะร้องขอต่อญี่ปุ่น คือ ขอใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากดาวเทียมญี่ปุ่น เพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซีย     ญี่ปุ่นมีดาวเทียมหลายดวงที่ใช้เทคโนโลยี synthetic aperture radar (SAR) สามารถจับภาพได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ในทุกสภาพอากาศ และยังจับภาพได้แม้มีสิ่งบดบังในชั้นบรรยากาศ ดาวเทียมเหล่านี้มีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชนญี่ปุ่น หน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง คือ สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือจั๊กซา   ส่วนการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของเอกชนมีกฎหมายที่กำหนดว่าการขายภาพให้ลูกค้าในต่างประเทศสามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และต้องเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการถูกใช้โดยกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น   สื่อต่างชาติรายงานว่า ยูเครนได้ขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากชาติตะวันตกและสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน   รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าจะให้ยูเครนใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหรือไม่ เนื่องจากการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารอาจสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น และอาจขยายความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย   ก่อนหน้านี้ กระทรวงการป้องกันประเทศของญี่ปุ่นได้มอบเสื้อเกราะกันกระสุน หมวกเหล็ก และอุปกรณ์สนามหลายอย่างให้ยูเครน และถูกมองว่าเป็นการมอบ…

ญี่ปุ่นเตือนประชาชน “อย่าไปรัสเซีย” รัฐบาลคิดหนักประกาศ “เขตห้ามบิน”

Loading

  กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นยกระดับคำเตือนการเดินทางไปประเทศรัสเซีย เตือนชาวญี่ปุ่นให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังรัสเซีย หลังจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประกาศห้ามอากาศยานของรัสเซียบินเข้ามาในน่านฟ้า เพื่อคว่ำบาตรต่อการที่รัสเซียรุกรานยูเครน ความเสี่ยงการเดินทางไปยังรัสเซียถูกยกระดับเป็นระดับ 3 คือ “หลีกเลี่ยงการเดินทาง” ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม ส่วนคำเตือนสำหรับพื้นที่ของรัสเซียที่ติดกับชายแดนยูเครน อยู่ในระดับสูงสุด หรือระดับ 4 คือ “ให้อพยพออกมา” กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นยังประกาศคำแนะนำล่าสุด ขอให้ชาวญี่ปุ่นพิจารณาเดินทางออกจากรัสเซียด้วยสายการบินพาณิชย์ในขณะที่ยังสามารถทำได้ ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นระบุว่า มีชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในรัสเซียราว 2,400 คน   การประท้วงในญี่ปุ่น เรียกร้องให้ประกาศ เขตห้ามบิน รัฐบาลพิจารณาประกาศ ห้ามเครื่องบินรัสเซียเข้า-ออก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในระดับเดียวกับสหรัฐฯ และชาติสมาชิกประเทศอุตสาหกรรม G-7 ทั้งการอายัดทรัพย์สิน และห้ามการติดต่อกับรัฐบาลและบุคคลสำคัญของรัสเซีย แต่ล่าสุด ชาติตะวันตกได้ยกระดับมาตรการคว่ำบาตรด้วยการประกาศ “เขตห้ามบิน” ห้ามอากาศยานของรัสเซียบินเข้ามาในน่านฟ้า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังหารือว่าจะใช้มาตรการเช่นเดียวกันหรือไม่   การชุมนุมในญี่ปุ่นต่อต้านการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ในที่ประชุมพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ LDP ที่เป็นแกนนำรัฐบาลญี่ปุ่น มีทั้งผู้ที่สนับสนุนให้ใช้มาตรการระดับเดียวกับสหรัฐและชาติยุโรป โดยประกาศเขตห้ามบิน ห้ามเครื่องบินรัสเซียเข้า-ออกประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มี สมาชิกรัฐสภาที่เห็นว่า ญี่ปุ่นมีภูมิศาสตร์และสถานะที่แตกต่างกับชาติตะวันตก หากห้ามเครื่องบินรัสเซียเข้า-ออก จะส่งผลต่อการขนส่งสินค้าและห่วงโซ่อุปทาน และหากฝ่ายรัสเซียใช้มาตรการตอบโต้ ญี่ปุ่นก็อาจได้รับผลกระทบอย่างมาก  …

ญี่ปุ่นเล็งคุมบริษัทที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง หวังสกัดการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในการควบคุมบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ริเริ่มขึ้น เพื่อปกป้องความมั่นคงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ให้ถูกรุกรานจากจีน เช่น การป้องกันการรั่วไหลของเทคโนโลยีที่อ่อนไหว และสร้างห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ยื่นรายงานเสนอต่อรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายซึ่งจะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถสั่งการให้บริษัทต่าง ๆ ส่งมอบข้อมูลล่วงหน้าเมื่อมีการอัปเดตซอฟต์แวร์หรือจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ ๆ และออกคำสั่งห้ามซื้ออุปกรณ์ที่อาจทำให้ญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์   รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า หน่วยงานกำกับดูแลทางไซเบอร์จะพุ่งเป้าควบคุมบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น พลังงาน , น้ำประปา , เทคโนโลยีสารสนเทศ , การเงิน และการขนส่ง   “เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วในขณะนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วนซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนั้น อาจจะตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ดี เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่เข้มงวดมากจนเกินไป”   หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของญี่ปุ่นระบุในรายงาน   หลายประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วซึ่งรวมถึงสหรัฐและญี่ปุ่น ต่างก็เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีความสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน     โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ก.พ. 65)    …

ผู้นำญี่ปุ่นลั่นเสริมแกร่งกองกำลังป้องกันตนเอง

Loading

  โตเกียว (รอยเตอร์ส/เอ็นเอชเค) – นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นย้ำจะพิจารณาทางเลือกทุกอย่าง ซึ่งรวมถึงการมีอาวุธที่มีความสามารถในการโจมตีฐานทัพของศัตรู และสัญญาว่าจะเสริมสร้างกองกำลังป้องกันตนเองให้แข็งแกร่งกว่าเดิมเพื่อปกป้องประเทศและรับมือกับภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากจีนและเกาหลีเหนือ นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น ตรวจแถวสวนสนามของทหารกองทัพญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของเขาเมื่อวันที่ 28 พ.ย.ระหว่างทำหน้าที่ผู้บัญชาการสูงสุดเป็นครั้งแรกในการสวนสนาม ซึ่งเป็นพิธีที่จัดขึ้นที่ฐานทัพอาซากะ ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว โดยมีทหารเข้าร่วมราว 800 นาย เขากล่าวปราศรัยกับสมาชิกกองกำลังป้องกันตนเองหลายร้อยคนที่สวมเครื่องแบบสีเขียวมะกอกและหมวก โดยเขาระบุว่า เขาจะพิจารณาทางเลือกทุกทาง ซึ่งรวมถึงการให้ได้มาซึ่งอาวุธที่มีแสนยานุภาพในการโจมตีฐานทัพของศัตรู เขาจะเดินหน้าเสริมสร้างกำลังทหารที่มีความจำเป็น นายคิชิดะ กล่าวว่า สถานการณ์ด้านความมั่นคงรอบๆ ประเทศญี่ปุ่นมีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากและสภาพความเป็นจริงมีความรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบปล่อยขีปนาวุธอย่างต่อเนื่องและเพิ่มสมรรถนะมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่จีนก็เสริมสร้างกำลังกองทัพและเพิ่มกิจกรรมทางทหารในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นลงมติเห็นชอบอนุมัติงบกลาโหมพิเศษเพื่อเร่งจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอีกขั้นตอน ส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายด้านกลาโหมของญี่ปุ่น ในปีงบประมาณปัจจุบัน สูงขึ้นเป็นสถิติใหม่กว่า 6.1 ล้านล้านเยน (1,762,850 ล้านบาท) สูงขึ้น 15% จาก 5.31 ล้านล้านเยน ในปี 2020 แถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ระบุว่า งบประมาณเพื่อเสริมขีดขั้นสมรรถนะทางทหาร และเร่งการจัดซื้ออาวุธ ถูกออกแบบเพื่อเร่งการประจำการ อุปกรณ์สำคัญบางส่วน…