Telstra บริษัทโทรคมนาคมออสเตรเลียอ้างความผิดพลาดในระบบทำให้ข้อมูลลูกค้านับแสนรายหลุด

Loading

  Telstra บริษัทโทรคมนาคมจากออสเตรเลียอ้างว่าความบกพร่องของการจัดการฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลลูกค้า 130,000 คน รั่วไหลออกสู่สาธารณะ   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้ง ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของลูกค้าที่เคยข้อให้นำข้อมูลเหล่านี้ออกจากโลกออนไลน์   ไมเคิล แอ็กแลนด์ (Michael Ackland) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเกิดจากความบกพร่องในการจัดเรียงข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่ใช้ในการให้บริการ ไม่ได้เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์แต่อย่างใด   นอกจากนี้ แอ็กแลนด์ยังได้กล่าวคำขอโทษและชี้ว่าบริษัทอยู่ระหว่างการนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าออกจากระบบอยู่ โดยจะติดต่อลูกค้าที่ข้อมูลที่รั่วไหลทุกคน รวมถึงจะมีการตรวจสอบภายในด้วย   “พวกเราเสียใจที่เรื่องนี้เกิดขึ้น และเรารู้ว่าเราทำให้ทุกท่านผิดหวัง” แอ็กแลนด์กล่าว   ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คู่แข่งรายใหญ่ของ Telstra อย่าง Optus ก็เพิ่งจะถูกโจมตีทางไซเบอร์จนข้อมูลลูกค้าเกือบ 10 ล้านรายหลุดออกไป     ที่มา Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                 …

สนามบินสิงคโปร์ชางงีเริ่มทดสอบระบบจำแนกใบหน้าเพื่อตามหาตัวผู้โดยสารที่ไม่มาขึ้นเครื่อง

Loading

  ปัญหาของผู้โดยสารหายไม่มาขึ้นเครื่องจนสายการบินต้องประกาศตามนั้นเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เที่ยวบินล่าช้า เนื่องจากผู้โดยสารอาจกำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ภายในสนามบินจนอาจลืมดูเวลาไม่ได้มาขึ้นเครื่องบินตามกำหนด ล่าสุดท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีเริ่มทดสอบระบบจำแนกใบหน้าเพื่อตามหาผู้โดยสารหายมาใช้งานในสนามบินแล้ว โดยจะใช้ภาพจากกล้องเปรียบเทียบกับภาพบุคคลในฐานข้อมูลเพื่อตามผู้โดยสารที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของท่าอากาศยานให้มาขึ้นเครื่อง เพื่อลดระยะเวลาล่าช้าของเที่ยวบินลง Steve Lee หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของกลุ่มท่าอากาศยานชางงีกล่าวว่า “เรามีรายงานผู้โดยสารที่หายไปจำนวนมาก ดังนั้นหนึ่งในวิธีที่เราคิดได้คือจะต้องสืบและค้นหาผู้โดยสารที่กำลังจะเดินทาง แน่นอนว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากสายการบินด้วย” ปัจจุบัน T4 ซึ่งเป็นเทอร์มินัลใหม่ของสนามบินชางงีก็ได้นำมาใช้ในระบบบริการตนเองบ้างแล้ว เช่น เช็คอิน, แบ็คดรอป, ตรวจคนเข้าเมือง, ขึ้นเครื่องบิน ซึ่งท่าอากาศยานก็เตรียมนำระบบจำแนกใบหน้ามาปรับปรุงใช้ในเทอร์มินัล 1-3 ด้วย ซึ่ง Lee บอกว่าในอนาคตอาจจะสามารถใช้ไบโอเมตริกแทนพาสปอร์ตได้ Lee เผยว่านอกจากระบบรู้จำใบหน้าแล้ว ท่าอากาศยานชางงียังทดสอบเทคโนโลยีใหม่อยู่เรื่อย ๆ อย่างเช่นการใช้เซนเซอร์ตรวจสอบเมื่อเครื่องบินถอยกลับจากเกทหรือเมื่อเทคออฟ ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจสั่งการบนหอบังคับการบินดีขึ้น และลดเวลา taxiing ของเครื่องบินลงได้ถึง 90 วินาทีต่อเที่ยวในช่วงพีค หรือระบบ AI ที่ทำนายสภาพอากาศ, ลม และเส้นทางการแลนดิ้งของเครื่องบินเพื่อทำนายเวลาถึงสนามบินได้แม่นยำขึ้น   —————————————————————————————————————– ที่มา : Blognone nutmos / วันที่ 1…