ผู้เชี่ยวชาญเตือนภัยสมาร์ตวอตช์ และวิธีป้องกัน

Loading

  เดบาร์ชี ดาส (Debarshi Das) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยอิสระเผยให้เห็นว่ามีการแฮ็กสมาร์ตวอตช์มีหลากหลายวิธี   รูปแบบการส่งข้อมูลของสมาร์ตวอตช์ โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตวอตช์เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่เดียวกันกับ Bluetooth ทั่ว ๆ ไป แต่ใช้คนละช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth   สมาร์ตวอตช์สื่อสารกับสมาร์ตโฟนโดยส่งชุดข้อมูล (packets) ที่มีชื่อเรียกว่า Beacon ซึ่ง Beacon เหล่านี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณบอกให้อุปกรณ์ในระยะสัญญาณรู้ถึงการมีอยู่ของสมาร์ตวอตช์ตัวนั้น ๆ   จากนั้น สมาร์ตโฟนเป้าหมายที่อยู่ในระยะการส่ง Beacon ก็จะตอบกลับด้วยคำขอสแกนข้อมูล ซึ่งสมาร์ตวอตช์ก็จะตอบคำขอนั้นด้วยการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น   ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า Generic Attribute Profile (GATT) ใน GATT จะมีรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้ง ฟีเจอร์ ลักษณะ และบริการที่มี ทำให้อุปกรณ์ที่รับสัญญาณสามารถเข้าทำความเข้าใจและใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของสมาร์ตวอตช์ได้  …

แก๊งแรนซัมแวร์ ‘Cyclops’ ช่วยอาชญากรไซเบอร์โจรกรรมข้อมูล

Loading

  ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลของทุกหน่วยงานและองค์กร ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ตาม   ด้วยรูปแบบการโจมตีที่หลากหลายซึ่งได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้มีความซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่กำลังเป็นที่สนใจในต่างประเทศอย่างแก๊งแรนซัมแวร์ Cyclops ที่ได้ออกประกาศนำเสนอมัลแวร์ที่สามารถขโมยและดักจับข้อมูลละเอียดอ่อนจากโฮสต์ที่ติดไวรัสแล้ว   และแน่นอนว่าตัวการที่อยู่เบื้องหลังการคุกคามคือ Ransomware-as-a-Service (RaaS) คือแพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่ามัลแวร์เพื่อเรียกค่าไถ่กับเหยื่อ โดยจะมีการแบ่งผลกำไรเมื่อมีการดำเนินการแรนซัมเรียบร้อย   Cyclops ransomware มีความโดดเด่นในเรื่องการกำหนดเป้าหมายที่ระบบปฏิบัติการเดสก์ท๊อปหลักทั้งหมด รวมถึง Windows, macOS และ Linux นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อหยุดกระบวนการที่อาจขัดขวางการเข้ารหัส   โดย Cyclops ransomware เวอร์ชัน macOS และ Linux เขียนด้วย Golang ซึ่งแรนซัมแวร์ใช้โครงร่างการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนและผสมผสานระหว่างการเข้ารหัสแบบอสมมาตรและสมมาตร (Asymmetric and Symmetric encryption) สำหรับการโจรกรรมแบบ Go-based ออกแบบมาเพื่อ Windows และ Linux จะดักจับข้อมูลในระบบปฏิบัติการ   อาทิ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน process และไฟล์สำคัญต่าง ๆ…

น่าเป็นห่วง บริษัทไทยตกเป็นเป้าหมาย แฮ็กเกอร์จ้องขโมย Password

Loading

  ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เรามักเห็นข่าวว่าช่อง Youtuber และเว็บไซต์ของธุรกิจไทยบางแห่งโดนโจมตีโดยการขโมย Password แล้วเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลภายในเว็บ จ้องทำลายเว็บ หรือเป็นเส้นทางในการโจมตีส่วนอื่น ๆ ต่อไป เช่น การดักจับข้อมูลและใช้ Ransomware โจมตี   ล่าสุด Kaspersky ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติของการโจมตีธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) โดยครึ่งแรกของปี 2022 พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้โจมตีผ่านเว็บจำนวน 11,298,154 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยมีสถิติการโจมตีมากกว่า 1.4 ล้านครั้งที่ Kaspersky สามารถบล็อกได้   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดขึ้นได้จากช่องโหว่ของผู้ใช้ปลายทาง (Endpoint) บริการเว็บเซอร์วิส และผู้พัฒนา/ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส ซึ่งหากไม่ได้มีระบบป้องกันที่ดีพอ้และผู้ใช้ไม่ทันระวังตัว ก็อาจทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวได้   นอกเหนือจากภัยคุกคามทางเว็บแล้ว แคสเปอร์สกี้ยังตรวจพบโทรจันขโมยพาสเวิร์ด Trojan-PSW (Password Stealing Ware) จำนวน 373,138 รายการ (ในไทย 31,917) ที่พยายามแพร่กระจายสู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาค SEA โดย Trojan-PSW…