นานาชาติหวั่นถูกสอดแนม หลังจีนตั้งศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในแอนตาร์กติกา

Loading

  จีน นอกจากจะเป็นประเทศที่ 3 ที่ส่งมนุษย์เยือนอวกาศหลังสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ เคยทำมาแล้วก่อนหน้า ล่าสุดแผ่นดินใหญ่ยังเล็งสร้างศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในทวีปแอนตาร์กติกา เพื่อสนับสนุนเครือข่ายดาวเทียมสำรวจมหาสมุทร   เครือข่ายศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีน จะจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับและสนับสนุนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ขณะที่หลายประเทศเกิดความกังวลว่าจีนอาจใช้ศูนย์นี้เพื่อจารกรรมทางข้อมูล แม้ทางแผ่นดินใหญ่จะให้การปฏิเสธก็ตาม   ในปี 2020 ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินจากสวีเดนที่ให้ช่วยส่งยานอวกาศแก่จีนได้ยุติการต่อสัญญาและทำธุรกิจร่วมกับแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์   ขณะที่ China Aerospace Science and Technology Group Co. เล็งสร้างสถานีวิจัย Zhongshan ซึ่งเป็นหนึ่งในสองสถานีวิจัยถาวรของจีนบนทวีปแอนตาร์กติกา หลังจากชนะการเสนอราคาที่ 43.95 ล้านหยวน หรือราว 6.53 ล้านดอลลาร์   แม้จะมีภาพศูนย์อวกาศภาคพื้นดินแห่งใหม่ของจีนที่ตั้งในทวีปแอนตาร์กติกาเผยแพร่ออกมา แต่สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของโครงการกลับยังไม่ปรากฎ   โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของไอเดียที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางทะเลของจีนและช่วยให้จีนกลายเป็นชาติมหาอำนาจเหนือน่านน้ำ   ขณะเดียวกัน ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีนที่ตั้งขึ้นใน Patagonia ประเทศอาร์เจนติน่า สร้างความกังวลให้กับนานาชาติถึงจุดประสงค์ของการตั้งศูนย์นี้ว่าจะมีการแอบสอดแนมหรือไม่   แม้ว่าทางการจีนจะยืนยันและรับรองว่าเป้าหมายของการสร้างสถานีคือการเฝ้าสังเกตการณ์ทางอวกาศเท่านั้น       ————————————————————————————————————————- ที่มา : …

ตึงเครียด! โตเกียวยิงจรวด บ.มิตซูบิชิ เฮฟวีส่ง “ดาวเทียมจารกรรมลับ” สอดแนมความเคลื่อนไหว “เกาหลีเหนือ” หลังดาวเทียมทหารเรดาร์ญี่ปุ่นปฏิบัติการระดับวงโคจร 5 ดวง

Loading

    เอพี/MGRออนไลน์ – โตเกียววันพฤหัสบดี (26 ม.ค.) ประสบความสำเร็จส่งจรวด H2A ของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ นำดาวเทียม IGS-Radar 7 จารกรรมลับของรัฐบาลขึ้นสู่วงโคจร เป้าหมายเพื่อสอดแนมความเคลื่อนไหวทางการทหารเกาหลีเหนือ และเพื่อพัฒนาการรับมือต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเสริมสร้างขุมกำลังทางการทหารของญี่ปุ่น หลังเชื่อมีภัยคุกคามเพิ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ญี่ปุ่นปัจจุบันมีดาวเทียมทหารเรดาร์ 5 ดวงปฏิบัติการระดับวงโคจร   เอพีรายงานวันนี้ (26 ม.ค.) ว่า จรวด H2A ของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries Ltd) ประสบความสำเร็จถูกปล่อยออกมาจากศูนย์อวกาศเทเนกาชิมา (Tanegashima Space Center) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น วันพฤหัสบดี (26) เมื่อเวลา 10.50 น.ตามเวลาท้องถิ่น อ้างอิงเวลาจาก NHK ของญี่ปุ่น   ทั้งนี้ ศูนย์อวกาศเทเนกาชิมา เป็นขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ…

โสมเหนือโอ่ทดสอบดาวเทียมสอดแนม

Loading

  สำนักข่าวเคซีเอ็นเอของทางการเกาหลีเหนือรายงานเมื่อ 19 ธ.ค.ว่า สำนักงานพัฒนาการบินและอวกาศแห่งชาติเกาหลีเหนือ ได้ดำเนินการทดสอบขั้นตอนสุดท้ายของแผนการส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหารสู่วงโคจร ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมโซแฮ จังหวัดพย็องอันเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อวันก่อน   โดยจรวดบรรทุกดาวเทียมจำลอง ประกอบด้วยกล้องฟูลคัลเลอร์ความละเอียด 20 เมตร เครื่องส่งและรับสัญญาณภาพ อุปกรณ์ควบคุม และแบตเตอรี่สำรอง ถูกยิงขึ้นไปที่ระยะ 500 กม. เพื่อทดสอบความสามารถของกล้อง การประมวลผล และการส่งข้อมูลของอุปกรณ์สื่อสาร ในสภาพแวดล้อมอวกาศ และความแม่นยำของระบบควบคุมภาคพื้นดิน   เกาหลีเหนือตั้งเป้าเตรียมการสำหรับดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกให้เสร็จสิ้นภายในเดือน เม.ย.2566 เคซีเอ็นเอยังแพร่ภาพถ่ายกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ และเมืองอินชอน เป็นภาพสีขาวดำความคมชัดต่ำ ระบุเป็นภาพจากการทดสอบ   ด้านนายมาร์ติน วิลเลียมส์ จากสติมสัน เซ็นเตอร์ องค์กรความมั่นคง ในกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ระบุว่ากล้องของเกาหลีเหนือยังไม่มีความเทียบเท่าดาวเทียมเชิงพาณิชย์สมัยใหม่ ซึ่งให้ภาพละเอียดระยะ 50 ซม. หรือแม้แต่ 30 ซม.   ขณะที่นายชิน จอง-วู นักวิเคราะห์จากกลุ่มความมั่นคงและป้องกันเกาหลี ตั้งข้อสงสัยว่าภาพที่ปรากฏในสื่อเป็นขีปนาวุธรุ่นเก่า ไม่ใช่ดาวเทียม คาดว่าอาจมีจุดประสงค์เพื่อข่มขู่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมากกว่า.…

จรวด Delta 4-Heavy ส่งดาวเทียมลับของสหรัฐฯ ขึ้นสู่อวกาศ

Loading

  ความสำเร็จของจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) ในครั้งนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการทำภารกิจของจรวดรุ่นนี้   วันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท ยูแอลเอ (ULA) หรือยูไนเต็ด ลัน อลิอันซ์ (United Launch Alliance) ประสบความสำเร็จส่งจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) พร้อมดาวเทียมสอดแนมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จากบริเวณฐานปล่อยจรวดฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย ชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา   ข้อมูลรายละเอียดของดาวเทียมสอดแนมดวงใหม่นี้ถูกเก็บเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนมากนัก นักวิเคราะห์เชื่อว่าอาจเป็นภารกิจ NROL-91 เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวเทียม KH-11 มีลักษณะเป็นดาวเทียมกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่หันกลับมายังโลกสามารถตรวจจับเฝ้าระวังไฟฟ้าแบบออปติคัลความละเอียดสูงจากระดับวงโคจรของโลก   ความสำเร็จของจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) ในครั้งนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการทำภารกิจของจรวดรุ่นนี้ เนื่องจากเป็นจรวด 3 ลำสุดท้ายของบริษัท ยูแอลเอ (ULA) โดยจรวดอีก 2 ลำ…

เกาหลีเหนืออ้างความสำเร็จ ทดสอบระบบดาวเทียมสอดแนมครั้งสำคัญ

Loading

  รัฐบาลเปียงยางประกาศความสำเร็จ “การทดสอบครั้งสำคัญ” ของระบบดาวเทียมสอดแนม ซึ่งนับเป็นการยิงขีปนาวุธครั้งที่ 9 แล้วในปีนี้   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ว่า สำนักข่าวกลางเกาหลี ( เคซีเอ็นเอ ) กระบอกเสียงของรัฐบาลเปียงยาง รายงานว่า สำนักงานพัฒนาอากาศยานแห่งชาติของเกาหลีเหนือ ประสบความสำเร็จ “ในการทดสอบครั้งสำคัญ” ของระบบดาวเทียมสอดแนม ซึ่งสามารถรับและส่งข้อมูลได้อย่างเที่ยงตรงตามแผนการ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา   (LEAD) N. Korea says it conducted another 'important test' for 'reconnaissance satellite' development https://t.co/9tFuEUlcLI — Yonhap News Agency (@YonhapNews) March 6, 2022 ▪ N. KOREA LAUNCHES MISSILE N.…