สรุปผลประมูลดาวเทียม 2566 ใบอนุญาตใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโครจรดาวเทียม

Loading

    สรุปผลประมูลดาวเทียม 2566 หรือผลการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ตามประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) โดยมีลำดับการประมูลจากข่ายงานดาวเทียมชุดที่ 4 ชุดที่ 3 ชุดที่ 5 ชุดที่ 2 และ 1 ตามที่ได้มีการจับฉลาก โดยการประมูลเริ่มต้นเมื่อเวลา 10.00 น. ในวันที่ 15 มกราคม 2566 และไต้สิ้นสุดลง ณ เวลา 11.36 น. ในวันที่ 15 มกราคม 2566 ซึ่งใช้เวลาในการประมูลรวมทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 36 นาที (ไม่รวมเวลาหยุด พักการประมูล)   โดยมีราคาประมูลรวมของชุดข่ายงานดาวเทียมจำนวน 3 ชุดข่ายงานดาวเทียม (Package) เท่ากับ 806,502,650 บาท (แปดร้อยหกล้านห้าแสนสองพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) โดยมีผู้ชนะการประมูลในแต่ละชุดข่ายงานดาวเทียม ดังนี้…

อังกฤษเตรียมยิงดาวเทียมเองเป็นครั้งแรก อาจเพิ่มศักยภาพในทางทหาร

Loading

นักวิเคราะห์ประเมินว่า ระบบการยิงจรวดด้วยอากาศยานที่จะใช้ในการปล่อยดาวเทียมภายในประเทศครั้งแรกของอังกฤษ จะสามารถเพิ่มความสามารถทางทหารในการตอบสนองอย่างรวดเร็วที่สามารถกระจายไปทั่วโลกเพื่อให้มีดวงตาพิเศษในอวกาศในยามสงคราม   เวอร์จิน ออร์บิท (VORB) ซึ่งถือหุ้นบางส่วนโดยมหาเศรษฐี ริชาร์ด แบรนสัน วางแผนที่จะปล่อยดาวเทียมเก้าดวงจากจรวด Launcher One ที่ติดอยู่ใต้ปีกของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่ดัดแปลงใหม่ที่จะบินจากท่าอากาศยานแห่งใหม่ในคอร์นวอลล์ในวันจันทร์     หากเป็นไปตามแผน มันจะเป็นครั้งแรกที่ดาวเทียมถูกยิงขึ้นสู่อวกาศจากดินเเดนยุโรปตะวันตก ขณะนี้บริษัทต่างๆ เช่น Space Forge กำลังพัฒนาการผลิตแบบ in-orbit ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้งานเชิงพาณิชย์ของบริษัทต่างๆ แต่หลายคนยังมองว่าการปล่อยดาวเทียมดังกล่าวเป็นต้นแบบสำหรับการปล่อยดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารเชิงยุทธวิธีได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักวางแผนเรียกว่า “การปล่อยดาวเทียมแบบตอบสนอง” (Responsive Launch)   Dan Hart ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเวอร์จิ้น ออร์บิท กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ‘เหตุการณ์ในยูเครนปลุกโลกขึ้นมาในหลายๆ ด้าน เห็นได้ชัดว่า มีความหวังที่จะได้ความร่วมมือจากทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา และเราจะมีการตอบสนองเพื่อที่ว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในโลก เราจะได้มีทรัพยากรที่นั่นทันที’     เวอร์จิ้น ออร์บิท เปิดเผยเมื่อปีที่แล้วว่า กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้ทำการฝึกซ้อมเพื่อประเมินระบบการส่งจรวดรูปแบบดังกล่าว สหราชอาณาจักรมีการริเริ่มกิจกรรมการปล่อยยานอวกาศตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960 แต่ในต้นทศวรรษ 1970 จรวดแบล็กแอร์โรว์ถูกยกเลิกหลังจากปฏิบัติภารกิจสำเร็จเพียงแค่ครั้งเดียว…

ครม.เคาะแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ – ร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารของรัฐ

Loading

  ครม. เห็นชอบแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566-2580 และร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ ที่รัฐเป็นเจ้าของบริหารจัดการเอง   นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566-2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) และเห็นชอบหลักการร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายอวกาศของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้   ร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566 – 2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) มีวิสัยทัศน์ คือ “มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศเพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน” ดำเนินพันธกิจ เช่น พัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงอวกาศ พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอวกาศ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ ติดตาม เฝ้าระวัง วิจัยและสำรวจอวกาศ…

สหรัฐยอมรับโครงการอวกาศจีนพัฒนาไวมาก ต้องจับตาใกล้ชิด

Loading

  กองทัพสหรัฐให้ความเห็นว่า โครงการอวกาศของจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วและไปไกลมาก สมควรต้องมีการ “เฝ้าระวัง” อย่างใกล้ชิด   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ว่า กองทัพอวกาศสหรัฐเผยแพร่รายงานว่า โครงการอวกาศของจีนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาและส่งดาวเทียมสื่อสาร และยานอวกาศแบบนำกลับมาใช้ใหม่   Spectacular views of our planet from China's #space station #ChinaTech pic.twitter.com/dGbUjOuqol — Zhang Meifang张美芳 (@CGMeifangZhang) November 21, 2022   China poses increasing threat in military space race, top U.S. general says https://t.co/QTQlSXiIOE pic.twitter.com/RlfD5kaRBN — Reuters U.S.…

จีนประกาศอัพเกรดระบบดาวเทียมนำทาง BeiDou ให้ทันสมัยไม่แพ้ระบบของชาติอื่น

Loading

  ทางการจีนเตรียมอัปเกรดระบบการทำงานของดาวเทียมระบุพิกัด BeiDou ของตนเอง (ชื่อตัวย่อคือ BDS มาจาก BeiDou Navigation Satellite System) พร้อมทั้งเผยแพร่ไวท์เปเปอร์ (เอกสารนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการ) ฉบับใหม่ในวันนี้ โดยเป้าหมายสำคัญคือยกระดับการทำงานของดาวเทียมระบุพิกัดให้ทันสมัยทัดเทียมกับระบบของชาติอื่น   ในการอัปเกรดนี้จะมีการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่ทั้งระบบการทำงานหลัก, การซ่อมบำรุง รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อการใช้งานดาวเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการปรับปรุงการใช้งานให้ดีขึ้นในหลายด้าน อาทิ การสื่อสารด้วยข้อความ, การเพิ่มคุณภาพสัญญาณทั้งภาคพื้นดินและที่ตัวดาวเทียมเอง, ระบบนำทางเครื่องบินพลเรือน, ระบบนำทางสำหรับการเดินเรือ รวมทั้งปรับปรุงระบบการทำงานสำหรับปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในระดับนานาชาติ   ในแง่การปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อการค้นหาและกู้ภัยนั้น BDS จะเปลี่ยนจากการสื่อสารทางเดียวเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จากเดิมที่ผู้ประสบเหตุส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือผ่านดาวเทียมนั้นจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามีหน่วยกู้ภัยได้รับสัญญาณของตนหรือไม่ ก็จะเปลี่ยนมารับรู้ได้หลังการปรับปรุงนี้   ทั้งนี้ในปัจจุบันระบบดาวเทียม BDS สามารถระบุพิกัดตำแหน่งในระยะคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 เมตร (ในบางพื้นที่คลาดเคลื่อนแค่ 2-3 เมตร) ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าเป้าหมายในตอนออกแบบที่กำหนดความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เมตร แต่หลังการปรับปรุงระบบในครั้งใหม่นี้ระบบ BDS จะสามารถระบุพิกัดตำแหน่งได้ด้วยความแม่นยำที่คลาดเคลื่อนในระดับเดซิเมตร (นั่นคือคลาดเคลื่อนในระดับไม่กี่สิบเซนติเมตร) ส่วนเรื่องความแม่นยำด้านเวลานั้นระบบดาวเทียม BDS มีความคลาดเคลื่อนในระดับ…

รัสเซียขู่ทำลายดาวเทียมสหรัฐฯและชาติตะวันตก เหตุช่วยรบยูเครน

Loading

Russia Satellite Launch   เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลมอสโกจะยิงดาวเทียมพาณิชย์ของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ที่ใช้ในการช่วยเหลือยูเครนในการต่อสู้กับรัสเซีย ในระหว่างที่รัสเซียระดมโจมตีโครงสร้างพื้นฐานยูเครนอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานของรอยเตอร์   คอนสแตนติน โวรอนต์ซอฟ รองผู้อำนวยการฝ่ายไม่แพร่ขยายอาวุธและการควบคุมอาวุธ กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย บอกว่า การใช้ดาวเทียมพาณิชย์ของชาติตะวันตกเพื่อช่วยเหลือยูเครนในการสู้รบนั้น “เป็นแนวโน้มที่อันตรายอย่างยิ่ง” และได้กล่าวกับทางสหประชาชาติว่า “โครงสร้างพื้นฐานกึ่งพลเรือนอาจเป็นเป้าหมายที่ชอบธรรมในการโจมตี” พร้อมยังบอกด้วยว่า การใช้ดาวเทียมของชาติตะวันตกเพื่อสนับสนุนยูเครนนั้นถือเป็น “การยั่วยุ”   “เรากำลังพูดถึงการมีส่วนร่วมของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศของพลเรือน รวมทั้งเชิงพาณิชย์ ที่เป็นของสหรัฐฯ และพันธมิตรของสหรัฐฯ ในความขัดแย้งนี้” โวรอนต์ซอฟกล่าว แต่ไม่ได้เอ่ยถึงดาวเทียมพาณิชย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งออกมา แต่ก่อนหน้านี้ อิลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทสเปซเอ็กซ์ เคยกล่าวเมื่อต้นเดือนตุลาคมว่า จะยังสนับสนุนโครงการบริการอินเตอร์เน็ต สตาร์ลิงค์ ในยูเครนต่อไปเพราะถือเป็นสิ่งจำเป็น   ทั้งนี้ รัสเซียมีศักยภาพด้านอวกาศในเชิงรุกที่สำคัญ เช่นเดียวกับสหรัฐฯ และจีน โดยเมื่อปี 2021 รัสเซียเพิ่งทดสอบยิงขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียม เพื่อทำลายดาวเทียมของตนมาแล้ว   หากรัสเซียดำเนินการเช่นนั้น จะถือเป็นการยกระดับความขัดแย้งจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ให้กลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกแทน  …