‘ดีป้า’ ชี้ ‘ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อน ‘ความยั่งยืน’

Loading

    ‘ดีป้า’ ชี้ ‘ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อนความยั่งยืน องค์กรต้องปรับตัว แนะไทยเปิดกว้างต่างชาติลงทุนเทคโนโลยีในไทย ขณะที่ ‘ซุปเปอร์แนป’ หนุนธุรกิจใช้พลังงานสะอาดเพิ่ม ยกเคสดาต้าเซ็นเตอร์หลังใช้พลังงานหมุนเวียน ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่า 1.8 หมื่นตันต่อปี   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวภายในงาน “Innovation Summit Bangkok 2023 : Innovations for a Sustainable Thailand” จัดโดย “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค” ในหัวข้อ Thailand transformation towards sustainability ว่า “ความยั่งยืน” เป็นความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบัน ถือเป็นเป้าหมายใหม่ที่มีความท้าทายจากเดิม “ดิจิทัล” คือ ตัวที่เข้ามาดิสรัปธุรกิจ แต่ปัจจุบันธุรกิจมีแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอกเพิ่มคือ เรื่องความยั่งยืน เป็นสองเรื่องที่องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญ   เขากล่าวว่า ความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เรื่องของกรีนเทคโนโลยี…

ดิจิทัลและความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันล้วนพึ่งพาอาศัยระบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัวเราล้วนอาศัยบริการดิจิทัลช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงข้อมูลองค์กรอาจหลุดรั่วออกไปได้มากขึ้นเช่นกัน   ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด รวมถึงการถือกำเนิดของเงินสกุลดิจิทัล เราจึงคุ้นเคยกับคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่ยังพัฒนาตามมาไม่ทันคือแนวคิดแบบดิจิทัล ที่ต้องตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและใส่ใจต่อข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่านี้   เริ่มจากประการแรกคือต้องเข้าใจว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แม้ว่าบริการดิจิทัลที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบันหลายแพลตฟอร์มจะไม่เสียค่าใช่จ่ายใด ๆ แต่เราต้องเข้าใจว่าบริการเหล่านี้ล้วนได้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของผู้ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใจดีเปิดให้ใช้ฟรีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้ รวมไปถึงข้อมูลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานว่าเข้ามาดูข้อมูลหรือค้นหาสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ซึ่งระบบเอไอก็จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าตัวตนของเรานั้นเป็นอย่างไร เหมาะกับสินค้าและบริการแบบไหน เราจึงได้เห็นโฆษณาสินค้าที่เรากำลังมีความสนใจอยู่บ่อย ๆ   ซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น เพราะในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ เริ่มพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้ละเอียดมากขึ้นเช่นกัน   ประเด็นที่สองที่ต้องขบคิดให้ดีก่อนจะสมัครใจใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็คือความน่าเชื่อถือของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะทุกวันนี้มีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เปิดตัวมากมายแทบจะทุกนาทีซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกแฟลตฟอร์มจะถูกตรอจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น   ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจึงเห็นแอปพลิเคชันบางตัว ขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากเกินไป รวมไปถึงบางแอปพลิเคชันที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลจากผู้ใช้ และที่หนักที่สุดคือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้โหลดโดยตรงเพื่อนำเงินออกจากธนาคารตามที่เป็นข่าวครึกโครมในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา   ก่อนจะใช้บริการจากแพลตฟอร์มใด ๆ เราจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของเรามากเพียงใด…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

ผ่าแนวคิด สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ‘บิ๊กดาต้า’ ประเทศไทย!!!

Loading

  “ณัฐพล” ผอ.ดีป้า แจงพร้อม ถ่ายโอน ทรัพย์สิน บุคลากร และ งบประมาณปี 2565 ให้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นองค์กรบิ๊กดาต้าของประเทศไทย หลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศ จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ครั้งแรก รวมข้อมูลให้ทั้งภาครัฐ เอกชน ร่วมมือใช้ประโยชน์   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ สขญ.ที่จะเป็น บิ๊กดาต้า ประเทศไทย เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐบาล หรือบิ๊กดาต้า ภาครัฐ แต่ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณทำให้ยังไม่สามารถตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาได้   ดีป้าจึงรับเข้ามาเป็นแผนกหนึ่งของดีป้าตั้งแต่ปี 2562 จากงบประมาณกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) มาโดยตลอด ปัจจุบันมีบุคลากรประมาณ 70 อัตรา จากนักเรียนทุนที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีทรัพย์สินประมาณ 200 ล้านบาท   ดังนั้น เมื่อมีการยกระดับสขญ.เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ ดีป้ามีความพร้อมในการถ่ายโอนทรัพย์สิน บุคลากร…

ติดฉลาก ‘National Cybersecurity’ บนอุปกรณ์ ‘ไอโอที’

Loading

    ณ ขณะนี้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า กระแสการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   อย่างในสหรัฐหน่วยงานกำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์เริ่มมีความพยายามในการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น   องค์การอาหารและยา (FDA) ได้บังคับใช้ข้อกำหนดทางไซเบอร์สำหรับผู้ผลิต และเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมทางไซเบอร์ได้กล่าวเป็นนัยในการประชุม RSA เมื่อช่วงปลาย เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จะมีประกาศจากทำเนียบขาวเกี่ยวกับแผนการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ค.   แต่ที่น่าสนใจคือ จะมีการรวมกันของ OT และ IoT พร้อมกับการรักษาความปลอดภัยทั้งทางกายภาพและทางไซเบอร์ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องของมาตรฐานแต่เป็นข้อบังคับอีกด้วย   นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่เร่งด่วนในการสร้างและยกระดับวัฒนธรรมพื้นฐานในการออกแบบความปลอดภัยและความโปร่งใสของกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพ   ฝ่ายบริหารของไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐได้ประกาศเป็นครั้งแรกถึงแผนการทำงานร่วมกับภาคเอกชน หน่วยงาน รัฐบาลกลางและสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์บนอุปกรณ์ IoT   โดยระบุว่าแผนนี้มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อย่างแพร่หลายและการเติบโตของตลาดเพิ่มสูงขึ้น   โปรแกรมการติดฉลากนี้จึงช่วยทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความปลอดภัยและเป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยล่าสุดสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ได้นำร่องการติดฉลากผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ บนอุปกรณ์ IoT โดยทีมงาน NIST ได้เริ่มจากการปรับแต่งเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงเฉพาะและทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม  …

การ์ทเนอร์เปิดผลสำรวจ ‘เทคคอมพานี’ บนภาวะวิกฤติ ขาดแคลน ‘คนไอที’

Loading

  หลังจากการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้ผู้นำธุรกิจและเทคโนโลยีต่างสรุปว่า “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีที่มีทักษะสูง หรือ Tech Talent Crunch” นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงภาพลวงตา   ผลวิจัยล่าสุดของ การ์ทเนอร์ พบว่า 86% ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIOs) บอกว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการชิงตัวบุคลากรที่มีคุณสมบัติอย่างที่ต้องการ และอีก 73% มีความกังวลกับประสิทธิภาพของบุคลากรไอทีที่ลดลง   เอ็มบูล่า เชิร์น ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ วิเคราะห์ว่า ปัญหาขาดแคลน Tech Talent ยังมีอยู่ต่อไป วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรไอทีจะยังไม่จบสิ้นในวันนี้   เนื่องจากปัจจุบันยังมีอุปสงค์แรงงานด้านนี้มากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในตลาดเป็นอย่างมาก การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายด้านไอทีตามที่คาดการณ์   ‘งานสายไอที’ โอกาสยังคงเปิดกว้าง   การ์ทเนอร์ระบุว่า พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเลิกจ้างจำนวนมากนั้นอยู่ในสายงานธุรกิจไม่ใช่สายเทคโนโลยีและงานด้านไอทียังมีโอกาสอยู่อีกมากไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทในสายเทคโนโลยี   จากการสำรวจพบว่า การปรับลดแรงงานจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ พยายามปรับให้ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามโจทย์ของผู้ถือหุ้น   ผลวิจัยการ์ทเนอร์พบด้วยว่า บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการเลิกจ้างพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด…