ตำรวจเกาหลีใต้ทุ่มงบกว่า 67 ล้านบาท ป้องกัน deepfake

Loading

เกาหลีใต้ประกาศแผน ทุ่มงบประมาณเกือบ 67 ล้านบาท ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรับมือกับ การสวมตัวตนด้วย deepfakes การโคลนนิ่งเสียง และการฉ้อโกงทางดิจิทัลในรูปแบบอื่นๆ

เกาหลีใต้ : วาระแห่งชาติ

Loading

รัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแล และตำรวจเกาหลีใต้ ให้คำมั่นว่าจะต่อสู้กับเทคโนโลยี “ดีปเฟค” ที่แสวงหาประโยชน์ทางเพศ พร้อมกับเรียกร้องเทเลแกรม และบริษัทสื่อสังคมออนไลน์แห่งอื่น ให้ความร่วมมือ

‘เอไอ’ ตัดต่อภาพ-เสียง: ปัญหาหนักอกในปีเลือกตั้งใหญ่สหรัฐฯ

Loading

หนึ่งในข้อท้าทายของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปีนี้ คือข้อมูลบิดเบือนที่สังเคราะห์ขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์เพื่อแสวงประโยชน์ทางการเมือง และผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่ายังมีความท้าทายในการจำแนกแยกแยะและแก้ไขปัญหานี้

แนะวิธีสุดง่าย ป้องกันแก๊งโจรใช้ “เอไอ” แปลงเสียงโทรฯหลอกให้โอนเงิน

Loading

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ “เอไอ” นั้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ใช้ และในตอนนี้ โปรแกรมเอไอบางโปรแกรมก็ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มิจฉาชีพนำไปใช้ปลอมแปลงเสียงพูดทางโทรศัพท์ แล้วแอบอ้างว่าเป็นญาติมิตรของเหยื่อ เพื่อหลอกให้โอนเงินหรือบอกข้อมูลสำคัญทางการเงิน

นักวิเคราะห์ห่วง ‘ดีพเฟค’ สื่อลวงลึก อาวุธร้ายทำลายงานข่าวสาร

Loading

แฟ้มภาพ – ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีดูวิดีโอปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ ดีพเฟค (Deepfake) ที๋โต๊ะทำงานในกรุงวอชิงตัน 25 ม.ค. 2019 (Alexandra ROBINSON/AFP)   การคืบคลานเข้ามาของเทคโนโลยีดีพเฟค (Deepfake) หรือวิดีโอปลอมที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นอาวุธใหม่ในการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในทุกรูปแบบบนโลกออนไลน์   การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีภาพของผู้ดำเนินรายการข่าวสหรัฐฯ ที่นำเสนอข่าว แสดงความเห็น หรือสนับสนุนสกุลเงินคริปโต รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ อย่างผิด ๆ ได้สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิเคราะห์ในเรื่องนี้   การใช้ ดีพเฟค (deepfake) หรือสื่อลวงลึก เป็นวิดีโอที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปลอมแปลงตัวตนซึ่งรวมถึงบรรดานักข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวต่าง ๆ ขึ้นมาได้เหมือนจริง ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ ในปี 2024 ที่ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกจะออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของพวกเขา   ในช่วงเวลาที่ข้อมูลบิดเบือนมีอย่างแพร่หลายและความเชื่อมั่นในข่าวสารบ้านเมืองปัจจุบันตกต่ำอย่างหนัก ประกอบกับการที่ธุรกิจสื่อรับเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานข่าวจริง วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้รับชมในการแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินเป็นจริงหรือไม่แค่ไหน   พอล แบร์เร็ตต์ รองผู้อำนวยการ Stern Center for Business and…

จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…