ดุดันไม่เกรงใจใคร! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 1 เดือนจ่อปิด Facebook

Loading

  “ชัยวุฒิ” สับแหลก เฟซบุ๊ก รับเงินเพจปลอมเป็นสปอนเซอร์ยิงแอดโฆษณาหลอกลวงประชาชนถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบและสกรีน แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิด แต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส จะดำเนินการฟ้องต่อศาล เพื่อขอคำสั่งปิดกั้นแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก ไม่ให้บริการในไทย หลังจากที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก ได้มีการรับเงินโฆษณาจากเพจปลอมเพื่อเป็นสปอนเซอร์ที่หลอกชักชวนลงทุน จนเกิดความเสียหายต่อคนไทยจำนวนมาก โดยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท โดยจากสถิติการหลอกลวงลงทุนผ่านโซเซียลมีเดียกว่า 70% เป็นการหลอกลวงผ่าน เฟซบุ๊ก และจำนวน 90% เป็นการหลอกขายของออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก   “ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีการรับเงินจากเพจเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ และสกรีน ว่าเป็นเพจที่หลอกลวงหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เพจเหล่านี้มาหลอกลวงคนไทยจำนวนมาก แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิดแต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”     นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จะมีการแนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มด้วย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย…

“ดีอีเอส” ชูกม.ป้องภัยไซเบอร์ อุดช่องโหว่โจรฉกเงินออนไลน์

Loading

  ลงนามความร่วมมือเห็นชอบกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรา 4 แห่ง พรก.ป้องภัยเทคโนโลยี 66 ระหว่าง ระบุพร้อมใช้ระบบกลางแลกเปลี่ยน ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมการเงินที่ต้องสงสัย   นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผย ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยี หลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จนทําให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจํานวนมาก และผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้ จากการกระทําความผิดนั้น ผ่านบัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออําพรางการกระทําความผิด   ดีอีเอส ไม่ได้นิ่งนอนใจ และมีการหารือกับภาคสถาบันการเงิน และตํารวจมาโดยตลอด จึงได้มีการจัดทําบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู ว่าด้วยการให้ ความเห็นชอบระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกําหนดมาตรการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ขึ้น ระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ…

ดีอีเอสเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกทำใบขับขี่ปลอม

Loading

  ดีอีเอสพบมิจฉาชีพแอบอ้างกรมขนส่งฯ หลอกทำใบขับปขี่ปลอมที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ระวังถูกล้วงเอาข้อมูลสำคัญ ส่วนสถานการณ์ข่าวปลอม “การลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม” ยังว่อน เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ   นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,209,611 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 279 ข้อความ   ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 244 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 180 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 112 เรื่อง   ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น…

ก.ดีอีเอส เตรียมดันให้หน่วยงานใช้ระบบคลาวด์ พร้อมตั้งศูนย์ลดการโกงดิจิทัล

Loading

  ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อัปเดตว่ากำลังพัฒนาระบบ Digital Identification (Digital ID) ภายใต้โครงการ ThaiD พร้อมยังระบุว่ากำลังผลักดัน Go Cloud First สร้างระบบคลาวด์ในประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้งานได้   ดีอีเอสยังอัปเดตในส่วนของมาตรการลดการหลอกลวงทางออนไลน์ หลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก. ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนการแจ้งความคดีออนไลน์จาก 800 คดี เหลือประมาณ 600 คดีต่อวัน   เป้าหมายต่อไป ดีอีเอสกำลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ในการพัฒนาศูนย์ลดการโกงดิจิทัลเรียกว่าระบบ “Central Fraud Registry” เป็นแพลตฟอร์มรองรับการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ช่วยแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงและช่วยหยุดการโกงและลดการสูญเสียผ่านออนไลน์   ทางกระทรวงดีอีเอสพยายามเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเห็นข้อมูลรูปแบบกลโกงมิจฉาชีพผ่านการร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ , ธนาคาร , การศึกษา ผ่านโครงการ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ธนาคารมีอำนาจในการหยุดยับยั้งได้เร็วขึ้นเมื่อธนาคารได้รับการแจ้งจากเจ้าของบัญชี รวมไปถึงสร้างการรับรู้ผ่านการแจ้งเตือนในแอปเป๋าตังและแอปธนาคาร ถึงแม้ว่าตอนนี้การหลอกลวงใหม่ๆ จะเกิดขึ้น…

ดีอีเอสบี้ ‘แฟลตฟอร์มดิจิทัล’ แสดงตัวคาดเข้าข่ายพันราย

Loading

  เตรียมตัวให้พร้อม! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 21 ส.ค.-18 พ.ย. 2566 บี้ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าข่ายกว่า 1 พันราย ทยอยรายงานตัว หลังกฎหมาย DPS ปักหมุดบังคับใช้ ขู่เมินพร้อมงัดโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท ยันแม่ค้าออนไลน์-อินฟลูเอ็นเซอร์ไม่กระทบ ดีเดย์ 26 มิ.ย. นี้ เดินเครื่องรับฟังความคิดเห็นเรื่องการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการ ปิดช่องมิจฉาชีพหลอกลวง   22 มิ.ย. 2566 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังการประชุมทำความเข้าใจสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 ส.ค. นี้ ว่า ตามที่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามเกณฑ์ต้องมาแจ้งกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)…

ดีอีเอส-ไปรษณีย์ไทยดัน Digital Post ID ปี 67 มีรหัสแยกของทุกคน

Loading

  ดีอีเอส-ไปรษณีย์ไทย เดินหน้าขับเคลื่อน ดิจิทัลโพสต์ไอดี (Digital Post ID) การจ่าหน้าชื่อ ที่อยู่ทั้งผู้รับและผู้ส่งให้เป็นรูปแบบดิจิทัล ช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล คาดปี 2567 ประชาชนได้รหัสดิจิทัลโพสต์ไอดีเป็นทางเลือกใช้งานการจ่าหน้าทั่วประเทศ   ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) มอบหมายให้ไปรษณีย์ไทย พัฒนาระบบ Digital Post ID จากรหัสไปรษณีย์รูปแบบตัวเลข 5 หลัก ซึ่งเป็นระบบการขนส่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของคนไทยให้มีความสะดวก ปลอดภัย และแม่นยำมากยิ่งขึ้น   เนื่องจากระบบ Digital Post ID เป็นการระบุข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ที่เจาะจงมากกว่าการใช้รหัสไปรษณีย์แบบเดิม และสามารถระบุพิกัดในแนวตั้งได้ เพื่อรองรับการส่งในอาคารสูง หรือคอนโดมิเนียม ทำให้สิ่งของทางไปรษณีย์ถึงมือผู้รับถูกต้องและรวดเร็วขึ้น   นอกจากนี้ “ดิจิทัลโพสต์ไอดี” ยังสามารถรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของภาคประชาชน ตามหลักการของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจทั่วไปมีความมั่นใจและสะดวกสบายมากขึ้นในการทำธุรกรรมต่างๆ   ทั้งนี้…