ไอเอสโว “นักรบอุยกูร์” บึ้มมัสยิดฆ่าหมู่ เผยพุ่งเป้าโจมตีทั้งชีอะห์-ตาลิบัน

Loading

  ไอเอสโว “นักรบอุยกูร์” – เอพี และ เอเอฟพี รายงานวันที่ 9 ต.ค. ถึงความคืบหน้าเหตุระเบิดโจมตีมัสยิดอิสลามนิกายชีอะฮ์ในเมืองคุนดุซ ทางเหนือของ อัฟกานิสถาน จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย และได้รับบาดเจ็บกว่า 140 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ต.ค. ว่า กองกำลังรัฐอิสลาม (ไอเอส) ระบุผ่านสำนักข่าวอามัก อ้างว่าอยู่เบื้องหลังเหตุนองเลือดที่สุดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาและกองทัพในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ถอนกำลังทหารออกจากประเทศเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายกองกำลังไอเอสในภูมิภาคระบุว่านักรบพลีชีพเป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ มีเป้าหมายโจมตีทั้งมุสลิมนิกายชีอะห์และกองกำลังตาลิบันซึ่งต้องการกำจัดชาวมุสลิมอุยกูร์ตามความต้องการของรัฐบาลจีน     คณะภารกิจสหประชาชาติในอัฟกานิสถานแถลงประณามเหตุดังกล่าวว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงในการก่อกวนความสงบสุขโดยพุ่งเป้าไปที่สถาบันทางศาสนา ส่วนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแถลงมนนามรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวตำหนิเหตุโจมตีเช่นกัน และว่าประชาชนชาวอัฟกานิสถานควรมีอนาคตที่ปราศจากความหวาดกลัว ขณะที่นายเซย์อิด ฮุสเซน อาลีมี บัลกี นักบวชนิกายชีอะห์แถวหน้าของอัฟกานิสถาน เรียกร้องให้รัฐบาลตาลิบันดูแลความปลอดภัยของชาวชีอะห์และศาสนสถานนิกายชีอะห์ทั่วประเทศ เนื่องจากตาลอิบันยึดอาวุธที่เคยเตรียมไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยของศาสนสถานไปก่อนหน้านี้ และทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่สามารถรับมือกับผู้ก่อการร้ายได้     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : ข่าวสดออนไลน์       …

ล็อคเป้าอาเซียน ตอลิบานจุดชนวนก่อการร้ายอาละวาด

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียนเสี่ยงก่อการร้ายจากการผงาดของตอลิบานในอัฟกัน ทำเอาตื่นตกใจไปตามๆ กันเมื่อ AP รายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นเตือนให้พลเมืองของตนอยู่ห่างจากสถานที่ทางศาสนาและฝูงชนใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเตือนถึงการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้   กระทรวงกล่าวว่าได้รับข้อมูลว่า “มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น ระเบิดฆ่าตัวตาย” คำเตือนนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ไหน แต่เตือนแบบหว่านแหกับพลเมืองญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเมียนมา   เมื่อเตือนแบบหว่านแหแบบนี้จึงเล่นเอาบางประเทศงงเป็นไก่ตาแตกและทำอะไรไม่ถูก ยิ่งประชาชนในประเทศนั้นตื่นตูมอยู่แล้วยิ่งลงไปกับรัฐบาลตัวเองว่าปิดบังอำพรางอะไรไว้หรือเปล่า อย่างในไทยตอบรับฉับไวเพราะตกเป็นประเทศต้องสงสัย นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่ได้เปิดเผยที่มาของคำเตือน และสถานทูตญี่ปุ่นไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมและ “ไม่เฉพาะเจาะจงกับประเทศไทย” ฝ่ายความมั่นคงของไทยก็บอกในทำนองเดียวกันว่าไม่มีข้อมูลเรื่องภัยคุกคาม   ตกลงมันเป็น False alarm หรือสัญญาณเตือนหลอกให้ตื่นตกใจหรือไม่? ถ้าคิดดูดีๆ อาจไม่น่าจะใช่ หากลองดูทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง   ชัยชนะของกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 15 ส.ค. อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลุกขึ้นมาลงมือก่อเหตุในบ้านเกิดอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานที่มั่นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ หลังจากบางกลุ่มอ่อนแอลงเพราะถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างหนัก ผู้เชี่ยวชาญพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ในฟิลิปปินส์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการลักพาตัวนักท่องเที่ยว และกลุ่มญะมาอะห์อิสลามิยะห์…

ตาลีบันกร้าว จะล้างแค้นสหรัฐฯ หลังเจอ “คุกลับ”

Loading

  พวกนักรบตาลีบัน ที่เข้าไปดู “คุกลับ” ในเมืองบากรัม ที่เป็นศูนย์ควบคุมนักโทษที่ใหญ่ที่สุดในอัฟกานิสถาน พากันโกรธแค้นเมื่อเห็นสภาพแวดล้อม ก็รู้ได้ทันทีถึงความเป็นอยู่ของคนที่ถูกคุมขัง ที่ต้องโดนทรมานโดยปราศจากการดำเนินคดีตามกฎหมาย นักรบตาลีบัน ที่เข้าไปยัง “คุกลับ” ภายในฐานทัพอากาศของสหรัฐฯ ในเมืองบากรัม ที่ตอนนี้ถูกทิ้งร้าง หลังจากเคยได้ชื่อว่าเป็นศูนย์การทรมานและกักขังนักโทษโดยไม่มีการส่งตัวไปเข้ารับการพิจารณาคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ และกองทัพอัฟกันในสมัยรัฐบาลชุดเดิม โดยคุกลับแห่งนี้ ยังถูกเปรียบเทียบว่า  ไม่ต่างจากเรือนจำที่อ่าวกวนตานาโมของคิวบา ซึ่งนักโทษที่นั่นก็ถูกจองจำ ถูกทรมานเพื่อรีดข้อมูลเช่นกัน     Sky News รายงานว่า คุกลับที่บากรัมถูกพบในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังตาลีบันยึดกรุงคาบูล ทำให้นักโทษพากันหนีออกมา ส่วนคนที่ไม่สามารถออกมาได้ด้วยตัวเอง ได้รับการช่วยเหลือจากตาลีบัน รวมทั้งคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม ISIS-K     ภายในคุกลับ ยังหลงเหลือที่นอนเรียงอยู่ในห้องขัง ของใช้ส่วนตัวที่กระจายอยู่ตามพื้นเฟอร์นิเจอร์ชำรุดและแฟ้มของอดีตผู้ต้องขัง นักรบตาลีบันคนหนึ่ง บอกว่า อดีตรัฐบาลและสหรัฐฯทำลายประเทศของเขา และต้องการแก้แค้นทั้งอดีตรัฐบาลและสหรัฐฯ     ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : nationtv     / วันที่เผยแพร่  14 ก.ย.2564 Link…

อัฟกานิสถาน : ตาลีบัน, ไอเอส และอัลไคดา ความเหมือนและต่างของ 3 กลุ่มติดอาวุธมุสลิม

Loading

  นักรบจีฮัดทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองหลังกลุ่มตาลีบันได้กลับขึ้นสู่อำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ซึ่งพวกเขาถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือความเกรียงไกรของกองทัพตะวันตก ทว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างหวั่นเกรงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดยุคใหม่ของอุดมการณ์จีฮัด หรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลาง โดยภัยคุกคามใหญ่ที่สุดนั้นมาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอัลไคดา หรือ อัลกออิดะห์ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ที่อ่อนกำลังลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ ในข้อตกลงที่ทำกับสหรัฐฯ ตาลีบันรับปากว่าจะไม่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มสุดโต่งที่มีเป้าหมายในการโจมตีชาติตะวันตก อย่างไรก็ตามสายสัมพันธ์ของตาลีบันกับกลุ่มอัลไคดายังคงแน่นแฟ้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากลุ่มไอเอส ซึ่งเป็นคู่แข่งกับอัลไคดานั้น จะต้องเผชิญแรงกดดันที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขายังมีความสำคัญและอิทธิพลอยู่ ส่วนกลุ่มรัฐอิสลามแห่งจังหวัดโคราซัน หรือ ไอเอส-เค ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของไอเอสในอัฟกานิสถานนั้น ไม่รอช้า ก่อเหตุโจมตีพื้นที่รอบนอกสนามบินกรุงคาบูลเมื่อ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 170 คน ในจำนวนนี้ 13 คนเป็นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แต่นอกไปจากอุดมการณ์พื้นฐานเรื่องการทำจีฮัดแล้ว กลุ่มติดอาวุธมุสลิม 3 กลุ่มหลักนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดร.คอลิน คลาร์ก นักวิจัยและนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากศูนย์ซูฟานในนครนิวยอร์ก ได้ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีและสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า “ตาลีบันเป็นผู้เล่นสำคัญที่สุดในอัฟกานิสถาน อัลไคดาเป็นกลุ่มนักรบจีฮัดข้ามชาติที่กำลังฟื้นฟูเครือข่ายขึ้นอีกครั้ง กลุ่มไอเอสก็เช่นกัน แต่กลุ่มนี้จะต้องต่อสู้หนักมากกว่า เพราะเป็นศัตรูตัวฉกาจของทั้งอัลไคดาและตาลีบัน”   ต้นกำเนิด   อัลไคดาและตาลีบันเกิดขึ้นจากการต่อต้านการรุกรานของโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และจากสถานการณ์วุ่นวายภายในอัฟกานิสถานช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ขณะที่ไอเอสถือกำเนิดขึ้นในอีกหลายปีให้หลัง จากสมาชิกที่เหลืออยู่ของกลุ่มอัลไคดาในอิรัก…

ลาภปากตาลีบัน? ยุทโธปกรณ์สหรัฐฯ ถูกทิ้งไว้ในอัฟกานิสถาน

Loading

  รวมยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ และกองทัพอัฟกันที่ถูกทิ้งไว้ในอัฟกานิสถาน หวั่นเป็นการติดปีกให้กองกำลังตาลีบัน ภาพถ่ายกองกำลังตาลีบันคู่กับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่กองกำลังสหรัฐฯ ทิ้งไว้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮามิด คาร์ไซ ในกรุงคาบูล ที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดข้อกังวลว่า กลุ่มตาลีบันอาจนำของที่สหรัฐฯ เหลือทิ้งไว้เหล่านั้นมาใช้ในทางที่โลกไม่ต้องการเห็น มีข้อมูลว่า ขณะกองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังออกก่อนเส้นตาย 31 ส.ค. มีเครื่องบินทั้งหมด 73 ลำ ยานพาหนะเกือบ 100 คัน และอุปกรณ์อื่น ๆ ถูกกองทหารสหรัฐฯ ทิ้งไว้ในกรุงคาบูล     แต่ล่าสุด นายพลเคนเน็ธ แม็กเคนซี หัวหน้ากองบัญชาการกลางสหรัฐฯ กล่าวว่า ยุทโธปกรณ์ทั้งหมดถูกทำให้ใช้การไม่ได้เรียบร้อยแล้ว “เครื่องบินเหล่านั้นไม่สามารถบินได้อีก” เขากล่าว เครื่องบินที่ถูกสหรัฐฯ ทิ้งไว้ในกรุงคาบูล ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ MD-530 จำนวนไม่เกิน 43 ลำ ใช้สำหรับการลาดตระเวนและการโจมตีระยะประชิด และ เครื่องบินจู่โจมเบา A-29 ไม่เกิน 23 ลำ ซึ่งราคาโดยคาดการณ์ของ A-29 นั้นมีมูลค่ามากกว่า…

ปิดฉากสงคราม 20 ปี ทหารสหรัฐฯคนสุดท้ายออกจากอัฟกานิสถานแล้ว

Loading

“ทหารสหรัฐฯ คนสุดท้าย เดินทางออกจากอัฟกานิสถาน ขณะที่ตาลีบันยิงปืนฉลองสนั่นกรุงคาบูล เข้ายึดสนามบินทันที” วันนี้ ( 31 ส.ค. 64 )ทหารสหรัฐฯ คนสุดท้าย ที่ออกจากอัฟกานิสถาน คือพลอากาศตรี คริส ดอนนาฮิว ผู้บัญชาการกองพลทหารอากาศที่ 82 กำลังก้าวขึ้นเครื่องบินขนส่งแบบซี-17 เขาเป็นทหารสหรัฐฯ คนสุดท้าย ที่เดินทางออกจากสนามบินนานาชาติฮามิด คาร์ไซ ในกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา ภาพนี้เปิดเผยโดยกองทัพสหรัฐฯเอง ด้านไฟล์ทเรดาร์24 เว็บไซต์ติดตามการบินของเครื่องบิน เปิดเผยภาพกราฟฟิก การติดตามเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ หลายลำสุดท้าย กำลังบินออกจากสนามบินกรุงคาบูลเมื่อวานนี้ รอยเตอร์ รายงานว่า ก่อนที่ทหารสหรัฐฯ ชุดสุดท้ายจะเดินทางออกจากอัฟกานิสถานเมื่อวานนี้ ได้มีการทำลายทิ้งเครื่องบินรบมากกว่า 70 ลำ ยานเกราะอีกหลายสิบคัน และทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศใช้การไม่ได้อีกต่อไป โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศของสหรัฐฯ นี้ ถูกใช้เป็นครั้งสุดท้ายในการยิงสกัดจรวด 5 ลูก ที่กลุ่ม “ไอซิส-เค” ยิงถล่มสนามบินฮาร์มิด คาร์ไซในกรุงคาบูล หมายสังหารทหารสหรัฐฯ แต่ไม่สำเร็จ  …