UK ทดสอบให้ตำรวจใส่เครื่อง “ชุดเจ็ตสูทบินได้” จับคนร้าย

Loading

  ตำรวจ UK เตรียมบิน ทดสอบสุดเจ็ตสูทสำหรับใช้บินไปจับคนร้าย ชุดเจ็ตสูทบินได้ที่เห็นในคลิปนี้เป็นของบริษัท Gravity Industries มันถูกติดตั้งด้วย กังหัน 5 ตัวที่หมุนด้วยความเร็ว 120,000 รอบต่อนาที ในคลิปชุดเจ็ตบินด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมง (88 กม./ชม.) มีบันทึกว่าสามารถบินได้ความเร็วสูงสุด 85 ไมล์ต่อชั่วโมง (136 กม. / ชม.) มีน้ำหนัก 60 ปอนด์ (27 กก.) ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิง Jet A1 (นํ้ามันเครื่องบินไอพ่นพาณิชย์) และน้ำมันดีเซล สามารถบินได้นานต่อครั้ง 5 – 10 นาที     ตามคลิปเป็นการทดสอบชุดเจ็ตสูทสำหรับตำรวจ (แต่คนที่ใส่ชุดในคลิปเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท และหัวหน้าฝ่ายทดสอบการบินของบริษัท Gravity) ณ ห้องปฏิบัติการ Defence Science and Technology Laboratory (DSTL)…

วาง 9 กฎเหล็ก ตร.ใช้สื่อออนไลน์ หลังไลฟ์สด ‘ ยิว ฉัตรมงคล’ work from home

Loading

  รองผู้การฯ ปอท. แนะ 9 แนวทาง เตือนสติ ตร.เล่นโซเชียลฯ อย่างสร้างสรรค์ ระวังการโพสต์ แม้เป็นสิทธิส่วนบุคคลก็ตาม แต่อาจส่งผลกระทบภาพลักษณ์องค์กรได้ ชี้ กรณีไลฟ์ ‘ยิว ฉัตรมงคล’อยู่ระหว่างต้นสังกัดตรวจสอบ 29 พ.ค. 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ในฐานะ รอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รองโฆษก ตร.) กล่าวว่า จากปัจจุบัน ยุค 5 จี ประชาชน รวมถึงข้าราชการตำรวจต่างเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า พี่น้องตำรวจหลายท่าน รวมถึงหลายหน่วยงานใช้สื่อสังคมออนไลน์ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบต่างๆ หรือแถลงผลการจับกุมคนร้ายในคดีสำคัญ ตลอดจนเตือนภัยอาชญากรรมในพื้นที่ให้ประชาชนได้รับรู้ในการระมัดระวังตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่อ ถือว่า เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังคงพบเห็นข้าราชการตำรวจบางท่านใช้สื่อสังคมออนไลน์แล้ว ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จริงๆ ต้องเรียนว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์ม ข้าราชการตำรวจสามารถมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงและใช้งานทั้งสิ้น แต่เพื่อให้การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการตำรวจเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์และเป็นไปอย่างถูกต้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการตำรวจ…

ผบ.ตร.ออกคำสั่งบันทึกภาพเสียง ค้น จับ สอบสวนคดีอาญา แต่ห้ามเผยแพร่ภาพขณะจับกุม

Loading

  ผบ.ตร.ออกคำสั่งให้ บันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม สอบสวนคดีอาญา พร้อมสั่งห้ามเผยแพร่ ภาพขณะจับกุม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ที่สำนักงานคำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ได้มี คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178/2564 ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เรื่องการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบส่วนคดีอาญา คำสั่งระบุว่า ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกำหนดให้นำทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(4) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2559 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกคำสั่ง ดังนี้   คำสั่งดังกล่าวมีสาระสำคัญ เช่น   ส่วนที่ 1 การบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้นคดีอาญา…

ฟังชัดๆ ไฉน พ.ต.ท.เต้นในติ๊กต๊อกโดนตั้งกก.สอบ จเรตำรวจฯชี้ฝ่าฝืนข้อห้ามเล่นโซเชียลที่ 9

Loading

  เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) กล่าวถึงกรณีปรากฏคลิป ตำรวจแต่งเครื่องแบบเต้นล้อเลียนนักร้องประเทศเพื่อนบ้าน เผยแพร่ปรากฏทางสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสมจากสังคม ว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร ได้สั่งการให้ จตช. ติดตามดำเนินการกรณีดังกล่าว โดยเบื้องต้น ทราบว่า ตำรวจดังกล่าวคือ พ.ต.ท.อรรคพล ยี่เกาะ สว.กก.สส.ภ.จว.อุดรธานี แต่งกายเครื่องแบบ พ.ต.ท. ติดห่วงโซ่คล้องจมูก เต้นเลียนแบบเพลงนักร้องประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเป็นกระแส เผยแพร่ทางแอพลิเคชั่น และสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม และตลกขบขัน ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อสั่งการ ทั้งๆ ที่ ผบ.ตร. และ จตช. เพิ่งสั่งการในที่ประชุมบริหาร ตร. เมื่อเดือน มีนาคม 2564 และ ผบ.ตร มีหนังสือ เมื่อ 2 เมษายน 2564 สั่งการกำชับทุกหน่วยให้ชี้แจง กำชับ…

สั่งออกจากราชการทันที ตำรวจ คอมเมนต์เฟซบุ๊กในกลุ่ม ‘ตลาดหลวง’

Loading

  สั่งออกจากราชการทันที ตำรวจ คอมเมนต์เฟซบุ๊กในกลุ่ม ‘ตลาดหลวง’ จากกรณีที่ พ.ต.อ.ศราวุธ วะเท ผู้กำกับ สภ.เมืองลำปาง ได้รับเหตุด่วนที่ต้องรายงานถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ โพสต์ข้อความไม่เหมาะสมในกลุ่ม “รอยัลสิสมาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง” และมีชาวโซเชียลแคปข้อความดังกล่าวมาแจ้งในเฟซบุ๊กแฟนเพจ สภ.เมืองลำปาง จากการสืบสวนพบว่า ผู้ที่โพสต์ข้อความดังกล่าวคือ ส.ต.ท.กฤติน รัตนา ผบ.หมู่ ป.สภ.เมืองลำปาง จึงสั่งการให้ ส.ต.ท.กฤติน มาพบและทำการสอบสวน ซึ่ง ส.ต.ท.กฤติน ยอมรับว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว และเป็นผู้คอมเมนต์ข้อความจริง ต่อมาได้มีการสั่งการ ให้ชุดสืบสวน สภ.เมืองลำปาง ประสานการปฏิบัติร่วม กก.สส.ภ.จว.ลำปาง เข้าไปทำการตรวจคันที่บ้านพัก ทั้งที่บ้านพักของทางราชการและบ้านพักตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามบัตรประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ได้ยึดแท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก มาตรวจสอบเพิ่มเติม ต่อมาได้มีการสั่งการ ให้ชุดสืบสวน สภ.เมืองลำปาง ประสานการปฏิบัติร่วม กก.สส.ภ.จว.ลำปาง เข้าไปทำการตรวจคันที่บ้านพัก ทั้งที่บ้านพักของทางราชการและบ้านพักตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามบัตรประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ได้ยึดแท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก มาตรวจสอบเพิ่มเติม ล่าสุดวันที่ 31 มี.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า พ.ต.อ.ศราวุธ ได้รับคำสั่งของ…

ตีกรอบ 9 ข้อมูลทางออนไลน์ “ต้องห้ามโพสต์” ของตำรวจ

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือน 9 ข้อมูลและข้อความต้องห้าม “โพสต์” บนโซเชียลของตำรวจ ที่อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างไม่ตั้งใจ ระบุยังไม่เคยมีใครถูกลงโทษ แต่ปรามต้องคิดก่อนโพสต์ วันนี้ (11 มี.ค.2564) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอตสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วยพล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.เชษฐา โกมลวรรถนะ หัวหน้าจเรตำรวจ ร่วมกันแถลงเปิดตัว “โครงการจัดทำแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการสำรวจ” เพื่อคู่มือแนะนำข้าราชการตำรวจทุกระดับให้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่เกิดประโยชน์และถูกต้อง หลังพบว่ามีข้าราชการตำรวจใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม เช่น ล้อเลียน กลั่นแกล้ง แสดงกิริยาขบขันจนเกินขอบเขต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือจากสังคม รวมถึงการใช้สื่อออนไลน์ละเมิตบุคคลอื่น หรือกระทำผิดกฎหมายจนเกิดความเสียหายขึ้น สำหรับประเภทข้อมูลข่าวสารที่ไม่ควรเผยแพร่ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว มี 9 ข้อ ดังนี้ ข้อมูลที่มีเนื้อหาพาดพิง หรือ ส่งในทางลบต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุ เสียดสี บิดเบือนโฆษณา ชวนเชื่อ สร้างความแตกแยกต่อหน่วยงาน…