การใช้ e-Signature ในประเทศไทย
ปัจจุบัน กฎหมายรองรับ e-Signature ทำหน้าที่เหมือนลายเซ็นบนกระดาษ แต่เมื่อเป็นเรื่องใหม่จึงจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่า e-Signature นั้นมีหน้าที่อะไรอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถระบุได้สองประการที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ ประการแรก ต้องระบุตัวตนเจ้าของ e-Signature ได้ เพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ ประการที่สอง ทำให้เกิดหลักฐานการแสดงเจตนาของเจ้าของลายเซ็นเกี่ยวกับเอกสารที่ได้เซ็นไว้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การอนุมัติ เห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ การรับรองหรือยืนยันความถูกต้อง การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ และการเป็นพยานให้กับการลงลายชื่อของผู้อื่น e-Signature ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กฎหมายไม่ได้ระบุให้ e-Signature มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดกว้างให้มีความครอบคลุมภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วข้างต้น และเพื่อรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานมีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ แต่เพื่อให้เป็น e-Signature ที่สมบูรณ์และได้รับการรับรองด้วยกฎหมายแล้วนั้น e-Signature จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นคือใคร…