รัสเซียเตรียมทดสอบซูเปอร์นุกถล่มเท็กซัสได้ทั้งรัฐ

Loading

  รัสเซียประกาศทดสอบซูเปอร์นิวเคลียร์อานุภาพร้ายแรงถล่มรัฐเท็กซัสได้ทั้งรัฐ ทางการรัสเซียประกาศเตรียมทดสอบซูเปอร์นิวเคลียร์ RS-28 Sarmat ขนาด 208 ตัน 3 ครั้ง ซึ่งหากสำเร็จจะนำมาประจำการในปี 2022 ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียเผยกับสำนักข่าว TASS ว่า การทำงานเกี่ยวกับ Sarmat ดำเนินไปอย่างแข็งขัน และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว แหล่งข่าวกระทรวงกลาโหมรัสเซียเผยว่า ซูเปอร์นิวเคลียร์ RS-28 Sarmat มีอานุภาพในการทำลายล้างพื้นที่เท่ากับรัฐเท็กซัสของสหรัฐทั้งรัฐซึ่งมีพื้นที่ราว 695,662 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีอานุภาพร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ขีปนาวุธ R-36M2 Voevoda และมีพิสัยการยิง 9,978 กิโลเมตร นอกจากนี้ เครื่องยนต์ของขีปนาวุธนี้ยังสามารถเพิ่มกำลังให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ปลอดภัยเพื่อหลบเลี่ยงระบบต่อต้านขีปนาวุธ ทั้งยังสามารถบินเหนือขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้และใช้เส้นทางบินที่ไม่สามารถคาดเดาได้เพื่อหลบระบบต่อต้านขีปนาวุธ RS-28 Sarmat สามารถบรรจุหัวรบระเบิดไฮโดรเจนขนาดใหญ่ได้ถึง 10 หัว หรือหัวรบขนาดเล็กได้ 16 หัว หรือทั้งสองชนิดรวมกัน ภาพ: กระทรวงกลาโหมรัสเซีย   ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : โพสต์ทูเดย์   …

มะกันระบุภาพดาวเทียมชี้ จีนซุ่มเคลื่อนย้ายขีปนาวุธ เตรียมพร้อมยิงนุกตอบโต้รุนแรงจากใต้ดิน

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันระบุจีนดูเหมือนกำลังเคลื่อนย้ายขีปนาวุธนิวเคลียร์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการโจมตีตอบโต้อย่างรุนแรงจากไซโลใต้ดิน สอดคล้องกับรายงานของเพนตากอนก่อนหน้านี้ ฮันส์ คริสเตนเซน ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันที่เฝ้าสังเกตการณ์กองกำลังนิวเคลียร์ของรัสเซียและจีนมายาวนาน ระบุว่า ภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อปลายปีที่แล้วบ่งชี้ว่า จีนเริ่มสร้างไซโลใต้ดิน 11 แห่งในสถานที่ฝึกอบรมด้านนิวเคลียร์ บริเวณตอนกลางของประเทศ เพิ่มเติมจาก 5 แห่งที่เริ่มสร้างก่อนหน้านั้น และเพิ่มจากไซโลที่มีอยู่เดิม 18-20 แห่งที่จัดเก็บขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) แบบ ดีเอฟ-5 ซึ่งเป็นขีปนาวุธรุ่นเก่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวบ่งชี้ว่า จีนกำลังพยายามตอบโต้ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากอเมริกา ขณะที่ช่วงไม่กี่ปีมานี้วอชิงตันระบุว่า การพัฒนาศักยภาพนิวเคลียร์ของปักกิ่งเป็นเหตุผลสำคัญสำหรับอเมริกาในการทุ่มทุนนับแสนล้านดอลลาร์สร้างคลังแสงนิวเคลียร์ใหม่ในช่วง 2 ทศวรรษข้างหน้า อย่างไรก็ตาม คริสเตนเซนซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ที่ทำงานกับสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน (Federation of American Scientists) สำทับว่า แม้จีนเพิ่มจำนวนไซโลไอซีบีเอ็มอีก 2-3 เท่า แต่ยังถือว่า น้อยมากเมื่อเทียบกับอเมริกาและรัสเซียที่มีไซโล 450 แห่ง และ 130 แห่งตามลำดับ ถึงแม้ไม่มีแนวโน้มว่า อเมริกากับจีนจะเปิดสงครามกัน แต่รายงานของคริสเตนเซนออกมาขณะที่สองชาติมีความขัดแย้งรุนแรงขึ้นตั้งแต่ประเด็นการค้าไปจนถึงความมั่นคงของชาติ และการยกระดับกองกำลังนิวเคลียร์ของจีนอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่สหรัฐฯต้องนำมาพิจารณา ในการตอบโต้ทางทหารต่อการดำเนินการก้าวร้าวของจีน เช่น ในไต้หวันหรือทะเลจีนใต้ ขณะเดียวกัน แม้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของคริสเตนเซน…