‘ไบเดน’ เตรียมออกคำสั่งห้ามเอกชนสหรัฐถ่ายโอนเทคโนโลยีแก่จีน

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างแหล่งข่าวระบุว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐจะใช้อำนาจพิเศษออกคำสั่งประธานาธิบดี ห้ามภาคเอกชนสหรัฐถ่ายโอนเทคโนโลยีที่มีความอ่อนไหวสูงให้แก่จีน   ซึ่งคาดว่า ปธน.ไบเดน จะออกคำสั่งดังกล่าวในช่วงต้นสัปดาห์หน้าเพื่อป้องกันการนำเทคโนโลยีของสหรัฐไปพัฒนากองทัพจีน ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐ   แหล่งข่าวระบุว่า คำสั่งของ ปธน.ไบเดน จะพุ่งเป้าไปที่การลงทุนของภาคเอกชนสหรัฐในจีน เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์, การคำนวณเชิงควอนตัม และปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยการลงทุนดังกล่าวจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐ   ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหรัฐออกกฎ ห้ามบริษัทเทคโนโลยีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง สร้างโรงงานเทคโนโลยีขั้นสูงในจีนเป็นเวลา 10 ปี โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามผ่านกฎหมายชิปและวิทยาศาสตร์ไปเมื่อเดือนสิงหาคม2565 ใช้งบ 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูงและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ท่ามกลางความกลัวว่าสหรัฐจะพ่ายแพ้ด้านเทคโนโลยีต่อจีน การลงทุนครั้งนี้รวมถึงการลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทที่จะสร้างโรงงานผลิตชิปคอมพิวเตอร์ในสหรัฐ ซึ่งก็หมายถึงว่า บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางสามารถขยายโรงงานเพื่อผลิตชิป ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าและราคาถูก เพื่อจำหน่ายในตลาดจีน เท่านั้น       ————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

เดนมาร์กเล็งเพิ่มอายุขั้นต่ำของเยาวชนที่บริษัทเทคโนโลยีเก็บข้อมูลได้

Loading

    รัฐบาลเดนมาร์กตั้งเป้าเพิ่มอายุจำกัดของประชาชนที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เพื่อควบคุมการเก็บข้อมูลเยาวชน   เดิมทีเดนมาร์กกำหนดอายุขั้นต่ำของเยาวชนที่สามารถยินยอมให้บริษัทเทคโนโลยีเก็บข้อมูลได้ที่ 13 ปี แต่ต้องการจะขยายไปเป็น 15 – 16 ปี และยังจะกำหนดให้บริษัทที่ต้องการใช้ข้อมูลเยาวชนที่อายุต่ำกว่านี้ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย   มอร์เตน บอดสคอฟ (Morten Bødskov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจของเดนมาร์กเผยว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีต้องมีความรับผิดชอบที่มากขึ้น และรัฐบาลต่าง ๆ ต้องร่วมกันยุติอัลกอริทึมเก็บข้อมูลที่ไม่โปร่งใส   ก่อนหน้านี้ เยอรมนีก็เพิ่งกำหนดอายุขั้นต่ำที่ 16 ปี เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรปอย่าง ฮังการี ลิธัวเนีย และเนเธอร์แลนด์ ที่ก็กำลังพิจารณากฎหมายในลักษณะคล้าย ๆ กัน         ที่มา Reuters         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

แคสเปอร์สกี้ เผยยอดโจมตีไซเบอร์จาก Work from home ในอาเซียน ‘ลดลง’

Loading

    แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เผยข้อมูลการลดลงของการ bruteforce โจมตีพนักงานที่ทำงานระยะไกลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องดีแต่ที่ไม่ถือเป็นสัญญาณที่น่าวางใจ   Remote Desktop Protocol (RDP) เป็นโปรโตคอลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Microsoft ซึ่งมีอินเทอร์เฟซแบบกราฟิกให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านเครือข่าย RDP ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยทั้งผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ที่มีความรู้ด้านเทคนิคน้อยเพื่อควบคุมเซิร์ฟเวอร์และพีซีอื่น ๆ จากระยะไกล     การโจมตี Bruteforce.Generic.RDP ใช้วิธีพยายามค้นหาคู่การล็อกอิน / พาสเวิร์ด ในการเข้าสู่ระบบ RDP ที่ถูกต้องโดยการตรวจสอบพาสเวิร์ดที่เป็นไปได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ จนกว่าจะพบพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง การโจมตีที่ประสบความสำเร็จจะทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นเป้าหมายจากระยะไกลได้   อย่างไรก็ตาม Brute force Attack เป็นการเดา password ทุกความเป็นไปได้ของตัวอักษรในแต่ละหลัก เช่น รหัส ATM มีจำนวน 4 หลัก แต่ละหลักสามารถตั้งค่าตัวเลข 0-9 ดังนั้น โปรแกรมจะทำการไล่ตัวเลขจาก 0000 ไปจนถึง 9999 หมื่นวิธีจนได้ password   เมื่อปี 2022 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้แสดงให้เห็นว่าโซลูชัน…

ไบเดนสั่งบริษัทเทคฯ คุมเข้มความปลอดภัยเอไอ หวั่นอันตรายต่อสังคม

Loading

U.S. President Joe Biden adjusts his microphone during a meeting with the President’s Council of Advisors on Science and Technology in the State Dining Room of the White House, April 4, 2023, in Washington.   ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวในวันอังคารว่า ต้องจับตามองกันต่อไปว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน พร้อมเน้นย้ำว่าบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการพัฒนาเอไอ   ปธน.ไบเดน กล่าวต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่า ในอนาคตเอไออาจมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงแห่งชาติ   ผู้นำสหรัฐฯ…

สภาคองเกรสสหรัฐร้องบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่เก็บหลักฐานอาชญากรรมสงครามในยูเครน

Loading

  สมาชิกสภาคองเกรสระดับสูง 4 รายจากพรรคเดโมแครต ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการถึงซีอีโอของบริษัทยูทูบ ติ๊กต็อก ทวิตเตอร์ และเมตา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก เพื่อขอให้บริษัทดังกล่าวเก็บคอนเทนต์ที่อาจใช้เป็นหลักฐานการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียในยูเครน   จดหมายที่ยื่นถึงนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta Platforms) มีใจความว่า “สาเหตุที่เราเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาก็เพื่อสนับสนุนให้เมตาดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลและบันทึกคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่มีการแชร์ในแพลตฟอร์มของตนเอง ซึ่งอาจใช้เป็นหลักฐานให้กับรัฐบาลสหรัฐ องค์การสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานที่เฝ้าระวังระหว่างประเทศในการสอบสวนเรื่องอาชญากรรมสงครามของรัสเซีย อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และความโหดร้ายอื่น ๆ ในยูเครน”   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า คำร้องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากมีหลักฐานที่อาจเป็นการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง โดยในวันพุธ (11 พ.ค.) อัยการสูงสุดของยูเครนประกาศทางเฟซบุ๊กว่า ได้เริ่มการสอบสวนทหารรัสเซียในความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มรุกรานยูเครนในเดือนก.พ.   สมาชิกสภาคองเกรสทั้ง 4 รายเรียกร้องบริษัทโซเชียลมีเดียเป็นพิเศษให้ “ทำเครื่องหมายสำคัญหรือเน้นสิ่งที่อาจเป็นหลักฐานของอาชญากรรมสงครามและเหตุการณ์อันโหดร้ายอื่น ๆ ในยูเครน”     —————————————————————————————————————————————————— ที่มา :   สำนักข่าวอินโฟเควสท์         …

EU บังคับบริษัทเทคโนฯยักษ์ใหญ่จัดการคอนเทนต์ผิดกม.-ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ

Loading

  สหภาพยุโรป (EU) เห็นชอบในวันนี้ (23 เม.ย.) เกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งจะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ อาทิ กูเกิล และเมตา จัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายในแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น มิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกปรับเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า รัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิก EU ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตราย ด้วยการสั่งให้แพลตฟอร์มดำเนินการลบคอนเทนต์เหล่านั้นออกไปอย่างรวดเร็ว   ส่วนสำคัญของกฎหมายนี้จะจำกัดวิธีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลทำการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานสำหรับการโฆษณาออนไลน์ โดย DSA จะขัดขวางแพลตฟอร์มต่าง ๆ จากการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานด้วยอัลกอริทึมโดยใช้ข้อมูลเพศ เชื้อชาติหรือศาสนา และจะห้ามไม่ให้กำหนดเป้าหมายด้านการโฆษณากับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก   นอกจากนี้ DSA จะห้ามการใช้กลวิธีหลอกลวงที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการบางอย่างด้วย   บริษัทเทคโนโลยีจะต้องใช้ขั้นตอนใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง การยั่วยุให้ก่อการร้าย และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยตลาดอี-คอมเมิร์ซ เช่น แอมะซอนจะต้องห้ามการขายสินค้าผิดกฎหมายภายใต้กฎใหม่ดังกล่าว   ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎใหม่ดังกล่าวอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 6% ของรายได้ประจำปีทั่วโลก…