“บล็อกเชน” ป้องกันการโกงเลือกตั้งได้จริงหรือ!?”

Loading

  “การเลือกตั้ง” นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการในระบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนนั้นสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการเข้าคูหาเพื่อเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ซึ่งทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยรอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นประเทศไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราจะได้เห็นข้อครหารวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งล่วงหน้าจนก่อให้เกิดการล่ารายชื่อถอนถอน กกต. เลยทีเดียว   ซึ่งเหตุการณ์ความไม่พอใจในลักษณะนี้รวมไปถึงความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดขึ้นจริงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ มาหลายครั้งและในแต่ละกรณีก็มีความละเอียดอ่อนไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดแนวคิดว่าหากเรานำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาบริหารและจัดการในระบอบการเลือกตั้งจะแก้ปัญหาได้หรือไม่!?   นายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน (CIO) บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้   การเลือกตั้งด้วยระบบ Blockchain จะแก้ปัญหาได้หรือเปล่า?   เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) นั้นเป็นระบบฐานข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ทำให้มันดูเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศไหนบนโลกที่ทำการเลือกตั้งสาธารณะด้วยระบบ Blockchain หรือแม้แต่ระบบดิจิทัลทั่วไปเลย   สาเหตุสำคัญคือในกระบวนการเลือกตั้งนั้นมีหลายองค์ประกอบมาก การใช้ระบบ Digital หรือแม้แต่ Blockchain นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเช่นการแก้ปัญหาด้าน Software แต่ในกระบวนการเลือกตั้งนั้นยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก  …

ป้องกันข้อมูลรั่วไหล ‘กรมบัญชีกลาง’ เริ่มใช้ ‘ระบบ e-GP’ เชื่อมข้อมูลผ่านบล็อกเชน 3 เม.ย.นี้

Loading

    กรมบัญชีกลาง พัฒนาระบบ e-GP เชื่อมโยงข้อมูลผ่านบล็อกเชน เพิ่มประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูล เริ่ม 3 เมษายน 2566   นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง ได้ให้ความสำคัญและผลักดัน การนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานของ กรมบัญชีกลาง มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน   ประกอบกับปริมาณผู้เข้าใช้งานระบบในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมบัญชีกลาง จึงได้พัฒนา ระบบ e-GP โดยนำ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในระบบ e-GP   ทั้งนี้ เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยจัดเก็บข้อมูลราคา วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ทำให้ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าถึงข้อมูลราคาได้ หากยังไม่ถึงเวลาที่กำหนด อีกทั้งลดระยะเวลาการเสนอราคา จากเดิม 8 ชั่วโมง เหลือ 3 ชั่วโมง และยกเลิกขั้นตอนการซื้อเอกสารประกวดราคาฯ ก่อนการเสนอราคา…

เอฟบีไอชี้เกาหลีเหนือ แฮ็กบล็อกเชน “ฮาร์โมนี” สูญ 3,000 ล้านบาท

Loading

    หน่วยงานสอบสวนของรัฐบาลวอชิงตัน กล่าวว่า กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากเกาหลีเหนือ โจมตีบล็อกเชนของผู้พัฒนาในสหรัฐ เมื่อปีที่แล้ว สร้างความเสียหายมากกว่า 3,000 ล้านบาท   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ออกแถลงการณ์ว่า “ลาซารัส กรุ๊ป” และ “เอพีที38” ซึ่งเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือ อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อระบบ “ฮาร์โมนี ฮอไรซอนส์ บริดจ์” ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมบล็อกเชนของบริษัทฮาร์โมนี หนึ่งในผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนสกุลเงินดิจิทัลของสหรัฐ เมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว และสร้างความเสียหายมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,276.80 ล้านบาท)   Two hacker groups associated with North Korea, the Lazarus Group and APT38, were…

ความลับไม่มีในโลก(บล็อกเชน) จริงหรือ?

Loading

  โดยข้อมูลที่ถูกส่งไปเก็บใน Blockchain นั้นจะอยู่ในรูปแบบของ Transaction ซึ่ง Transaction ทั้งหมด ก่อนที่จะถูกบันทึกลงไปบน Blockchain จะต้องถูกยืนยันความถูกต้องด้วย Node ต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย แต่มันเป็นเรื่องที่เหมาะสมรึเปล่า ที่จะเอาข้อมูลต่างๆลงไปเก็บอยู่บน Blockchain ? ถ้าถามถึงการประยุกต์ใช้งาน Blockchain ในวงการต่าง ๆ เช่น ในวงการแพทย์ มักจะมีคนยกตัวอย่างเคส การใช้ Blockchain ในการเก็บข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ โดยอ้างถึงข้อดีของ Blockchain ว่าข้อมูลประวัติการรักษาไม่มีการสูญหาย สามารถแชร์กันระหว่างโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินโดยที่ไม่ต้องส่งเรื่องไปขอข้อมูลที่โรงพยาบาลที่คนไข้ไปตรวจอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าเหตุไม่ฉุกเฉินล่ะ ? คนไข้ของโรงพยาบาลแต่ละคนโอเคมั้ยกับการเก็บข้อมูลประวัติการรักษาบนระบบ Blockchain ที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ข้อมูลในการรักษาบางอย่างควรจะถูกเก็บเป็นความลับ คงไม่มีใครอยากจะเปิดเผยว่าเป็นโรคอะไรอยู่บ้างกับสาธารณะถูกมั้ย ? ถ้าไม่โอเค เราจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะเก็บข้อมูลบน Blockchain โดยได้ทั้งความคงทนถาวรของข้อมูล และการไม่สูญเสียความเป็นส่วนตัวไป วันนี้ทาง Token X ในฐานะผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain ได้รวบรวมวิธีต่าง…

New China Insights : จีนกับการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน

Loading

Digital Cash ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาเป็นหัวใจในการพัฒนา (ภาพจาก Huoxing Caijing)   ร่มฉัตร จันทรานุกูล มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระหว่างประเทศ(UIBE) วิทยาลัยนานาชาติ(SIE) กรุงปักกิ่ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้หลายคนอาจจะคุ้นหูหรือคุ้นเคยกับบล็อกเชน (Blockchain) บล็อกเชนคือเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโลกปัจจุบันและอนาคตที่ทำให้ชีวิตของทุกคนในสังคมเปลี่ยนไป ผู้เขียนขออธิบายเทคโนโลยีบล็อกเชนคร่าวๆให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆก่อนว่าคืออะไร? บล็อกเชนเป็นคำที่ใช้เรียกเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Data sharing) ซึ่งข้อมูลหรือข้อมูลที่ถูกเก็บเอาไว้นั้นจะปลอมแปลงไม่ได้ ติดตามข้อมูลที่เป็นจริงได้และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทั้งหมดทุกกระบวนการ เพราะเหตุนี้ข้อมูลที่อยู่บนฐานข้อมูลจะมีความโปร่งใส เชื่อถือได้ อีกทั้งข้อมูลจะถูกดึงมาใช้และรักษาร่วมกันได้เช่นกัน เพราะคุณสมบัติเหล่านี้เองทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนมีความโปร่งใสและสร้างกลไกความร่วมมือที่เชื่อถือได้ตลอดจนมีมุมมองที่กว้างของการประยุกต์ใช้ ในปี 2019 สำนักงานข้อมูลอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีนได้ออก “กฏการบริการข้อมูลบล็อกเชนและการบริหารจัดการ” ในปีเดียวกันประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้กล่าวถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนว่า “ให้ใช้บล็อกเชนเป็นใจกลางนวัตกรรมอิสระที่เป็นเทคโนโลยีหลัก เพื่อเร่งการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมภายในประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น” แน่นอนว่าหลังจากที่ท่านประธานาธิบดีได้กล่าวถึงบล็อกเชน ก็ทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนเริ่มเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไป อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไปข้างต้นถึงความโดดเด่นของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ปลอมแปลงไม่ได้ ข้อมูลมีความเป็นจริง ทำให้บล็อกเชนถูกนำมาใช้ในเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างกว้างขวาง บล็อกเชนนั้นหลักๆมีสามประเภทคือ บล็อกเชนสาธารณะคือทุกคนเข้าถึงได้ บล็อกเชนพันธมิตรคือพันธมิตรด้วยกันเท่านั้นจะเข้าถึงข้อมูลได้ และบล็อกเชนส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนที่เป็นส่วนตัวหรือมีเจ้าของ ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนในจีนก็ถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยกันได้แก่ การเงินและการธนาคาร ระบบเครือข่าย ระบบประกัน การยืนยันตัวตนและความปลอดภัย ระบบที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขต่างๆ เป็นต้น ท่านผู้อ่านที่พอมีพื้นความรู้อยู่บ้างจะทราบว่าจริงๆแล้วเทคโนโลยีบล็อกเชนเกิดขึ้นจากบิทคอยน์ ที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2008…