การกลับมาของมัลแวร์ ‘Emotet’

Loading

  บอทที่ติดเชื้อนั้นกระจุกตัวอยู่มากในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย สำหรับการค้นหาบอทเน็ตในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายที่ผู้อ่านได้ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถทำได้ยากมากขึ้น เพราะบอทเน็ต แฝงตัวอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งในระบบ application หรือ การโจมตีผ่านช่องโหว่ต่างๆ ภายในระบบ ทำให้องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือหลายประเภทเพื่อทำการค้นหา อาทิ Network Detection and Response (NDR), Endpoint Detection and Response (EDR) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยค้นหาว่าในเครือข่ายขององค์กรมีบอทเน็ตทำงานอยู่หรือไม่ บอทเน็ตอย่าง “Emotet” ได้กลับมาอีกครั้งในเดือน พ.ย. 2564 หลังจากหายไปนานกว่า 10 เดือน การกลับมาครั้งนี้ได้ส่งสัญญาณแสดงการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง โดยขณะนี้มีการรวบรวมโฮสต์ที่ติดเชื้อแล้วกว่า 100,000 โฮสต์ นักวิจัยจาก Black Lotus Labs ของ Lumen กล่าวว่า “ในขณะนี้ มัลแวร์ Emotet ยังมีความสามารถไม่ถึงระดับเดียวกับที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ แต่บอทเน็ตกำลังกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง” โดยมีบอทที่ไม่ซ้ำกันประมาณ 130,000…

แนวคิดทางอาชญากรรมไซเบอร์กับเงินในบัญชีที่หายไป

Loading

  ในยุคที่ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of things) ปฏิเสธไม่ได้ว่าความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์หรือทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง   กฎหมายนอกจากจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางกายภาพแล้ว ในทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ไซเบอร์) ก็ควรขยายขอบเขตให้ได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นเดียวกัน   “อาชญากรรมไซเบอร์” ยังไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับสากล หากแต่อาจแยกลักษณะร่วมกันได้ เช่น เหตุเกิดในพื้นที่ไซเบอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะการกระทำ ผลของการกระทำ ผู้กระทำ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ อุปกรณ์เครื่องมือหรือวิธีการ เป็นต้น และอาจจะกล่าวได้ว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง   จากเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมากเนื่องจากเงินในบัญชี หรือบัตรเครดิต/เดบิต หายไป ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างยิ่ง บางท่านอาจต้องเปิดดูเงินในบัญชีออนไลน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเงินในบัญชีไม่หายไปใช่หรือไม่   ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เป็นสาเหตุดังกล่าวคือ “เกิดจากมิจฉาชีพสุ่มยิงบอท” ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจัดได้ว่าเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ในกลุ่มความผิดต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์   ตามอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์และกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้มีการกำหนดความผิดสำหรับบอทเน็ต (Botnet) ไว้โดยเฉพาะ แต่ฐานความผิดที่มีอยู่อาจนำมาปรับใช้ได้ตามลักษณะพฤติกรรมและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป และอาจเกี่ยวข้องกับความผิดหลายฐานได้ เช่น   ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (2)…