รัฐบาลดิจิทัล (10): ‘คน’ …เรียนไม่รู้จบ

Loading

  “คน” เป็นหัวใจสำคัญที่สุดจาก 3 ปัจจัยหลักในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล ซึ่งได้แก่ คน กระบวนการและเทคโนโลยี   สำหรับเป้าหมายของปัจจัยเรื่อง “คน” คือ การสร้างทัศนคติของคนในองค์กรให้พร้อมปรับเปลี่ยน (Growth Mindset) การสร้างความเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยน และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์คือ บุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิผลในการทำงานสูงนั่นเอง   เราอาจแบ่งบุคลากรในองค์กรภาครัฐเป็นกลุ่มกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง ซึ่งรวมผู้นำสูงสุดขององค์กรและผู้บริหารระดับรองถัดมา กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งคุมระดับกองหรือฝ่ายต่างๆ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานโดยตรง กลุ่มเจ้าหน้าที่สายเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เหลือทั้งหมด   เนื่องจากแต่ละกลุ่มมี “บทบาทหน้าที่” ในการปรับเปลี่ยนองค์กรแตกต่างกัน จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแตกต่างกัน   บทบาทสำคัญของผู้นำองค์กร คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลขององค์กร ผู้นำสูงสุดไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล เพียงแต่ต้องรู้ว่า เป้าหมายของหน่วยงานต้องการอะไร แล้วตอบคำถามให้ได้ว่า “ภาพสุดท้าย” ของการดำเนินภารกิจขององค์กรจะเปลี่ยนไปอย่างไรถ้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้   การพัฒนาของผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นเรื่องการสร้างความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สามารถกำหนดเป้าหมาย แต่งตั้งผู้บริหารระดับรองที่มาจากสายงานหลักให้มาขับเคลื่อนต่อจากเบอร์หนึ่ง แล้วทำหน้าที่คอยให้การสนับสนุนผ่านการกำหนดนโยบาย จัดสรรงบประมาณและทีมงาน และที่สำคัญ ผู้นำต้องเป็น…

สกัดซ้ำรอย ‘กำนันนก’ อธิบดีปค. สั่งผู้ว่าฯ คุมเข้มพฤติกรรม-ใช้อาวุธปืนกำนัน ผญบ.

Loading

อธิบดีกรมการปกครอง ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดที่ 0310.2/ว 26209 ลงวันที่ 12 ก.ย. ถึงผู้ว่าราชการ ทุกจังหวัด เรื่อง มาตรการควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ระบุว่า ตามที่กรมการปกครองแจ้งกำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการประพฤติตน และการใช้อาวุธปืน ในการปฏิบัติหน้าที่

“สดช.”เร่งรับรองอีก 70 หลักสูตร พัฒนาทักษะดิจิทัลให้บุคลากรรัฐ

Loading

  ตั้งเป้าหมายรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้ได้ 70 หลักสูตรในปีนี้ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม   นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เปิดเผยว่า สดช .ได้เร่งกำหนดมาตรฐานของหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้ได้  70 หลักสูตรในปีนี้ หลังจากที่ผ่านมารับรองไปแล้ว 104 หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย  6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นกลไกการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง   สำหรับการดำเนินงานในปีนี้มุ่งเน้นหลักสูตรที่มีเนื้อหาหรือเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำคัญ ได้แก่ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม ความเข้าใจใน เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย ความเข้าใจในสถาปัตยกรรมองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล รวมถึงหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการทำงานและการให้บริการ การวางแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัล การบริหารจัดการโครงการ ความสามารถด้านผู้นำด้านดิจิทัล การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร การปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านดิจิทัล ความเข้าใจในเทคโนโลยีคลาวด์ และฐานข้อมูล   จึงเชิญหน่วยงานและสถาบันอบรมต่าง ๆ ตลอดจนผู้พัฒนาหลักสูตรที่มีเนื้อหาด้านดิจิทัล เข้ามาขอยื่นรับรองหลักสูตรฯ กับ สดช.     นายภุชพงค์ กล่าวต่อว่า ผลการดำเนินโครงการนี้จะช่วยให้เกิดระบบการรับรองหลักสูตรและฐานข้อมูลหลักสูตร ด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานภาครัฐสามารถสืบค้นและพิจารณาก่อนวางแผนการพัฒนาให้กับข้าราชการ และบุคลากรให้ได้รับการอบรม พัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม ได้รับมาตรฐาน และการรับรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และ สามารถนำทักษะและสมรรถนะที่ได้รับ การพัฒนาไปใช้กับการปฏิบัติราชการ รวมถึงการให้บริการแก่ทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :             …