ตำรวจจีนจับกุมผู้ต้องสงสัยเผยแพร่เวชระเบียน ‘โจว ไห่ เม่ย’

Loading

ตำรวจจีนที่กรุงปักกิ่ง จับกุมผู้ต้องสงสัยชายอายุ 36 ปีที่เผยแพร่เวชระเบียน ของ ‘โจว ไห่ เม่ย’ นักแสดงชาวฮ่องกงอายุ 57 ปีที่เสียชีวิตเมื่อคืนวันจันทร์ (11 ธ.ค.66) ด้วยโรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus : SLE) และพบการเผยแพร่เวชระเบียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงเย็นวันอังคาร

ศาลสหรัฐยกเลิกคำสั่งของรัฐมอนทานาที่จะห้ามใช้งาน TikTok

Loading

ผู้พิพากษาสหรัฐฯ ขัดขวางคำสั่งห้ามของรัฐมอนทานาในการใช้แอปแชร์วิดีโอสั้น TikTok ที่จะมีผลในวันที่ 1 มกราคม โดยระบุว่าการสั่งห้ามใช้แอปดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของผู้ใช้ การสั่งห้ามของรัฐ “ละเมิดรัฐธรรมนูญในหลายรูปแบบ” และ “การใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต”

วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook

Loading

  วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook การที่เรามีบัญชี Facebook ใส่ข้อมูลประวัติบางอย่าง นั่นหมายความว่าจะมีคนอื่นๆเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือข้อมูลประวัติทั่วไป ทุกคนบน Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นการรักษาความเป็นส่วนตัวใน Facebook จึงเป็นเรื่องสำคัญและขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการตั้งค่าเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   1. อย่าเพิ่มคนไม่รู้จักเลยเป็นเพื่อน เพราะเราไม่มีทางรู้เจตนาหรือตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาว่าคิดดีกับเราหรือไม่ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือเพิ่มเฉพาะคนที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัว และเคยเจอคุยกันในชีวิตจริงเท่านั้น   2. อย่าอัปโหลดข้อมูลทั้งหมดของคุณ Facebook มีส่วนเฉพาะที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษา และรายละเอียดการทำงาน แต่การเพิ่มข้อมูลนั้นมันจำเป็นจริงๆ หรือ? Facebook และผู้ใช้รายอื่นจำเป็นต้องรู้ว่าคุณเรียนจบในวัยมัธยมที่ไหน? แม้การให้ข้อมูลทุกอย่างอาจดูน่าสนใจ แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด คุณควรเพิ่มเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อ เมือง และรูปโปรไฟล์ล่าสุดของคุณและหลีกเลี่ยงการอัปโหลดข้อมูลลับให้เห็นในรูปแบบสาธารณะ   3. ปรับแต่งความเป็นส่วนตัวของโพสต์ของคุณ ทุกโพสต์ที่คุณแชร์มีตัวเลือกในการแก้ไขความเป็นส่วนตัวและทำให้ผู้ชมบางคนเห็นได้ ผู้ใช้สามารถอัปโหลดรูปโปรไฟล์และเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นเพื่อนหรือเฉพาะฉัน ขั้นตอนมีดังนี้   iT24Hrs   ใน Facebook Stories ยังมีตัวเลือกในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคุณควรเปลี่ยนการตั้งค่าผู้ชมเป็นเพื่อนเท่านั้นหรือเพื่อน…

กองทัพสวิส ยุติการใช้งาน Whatsapp ยกเหตุผลความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว

Loading

    กองทัพสวิส ออกโรงเปลี่ยนแอปพลิเคชันแชต จากเดิมที่เคยใช้วอตส์แอป (Whatsapp) มาเป็น Threema ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันท้องถิ่นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาเหตุที่เปลี่ยนแอปเพราะความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว   กองทัพสวิส ประกาศสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นวอตส์แอป, ซิกแนล (Signal) และเทเลแกรม (Telegram) ในการใช้ส่งข้อความภายในองค์กร พร้อมกับสั่งให้เจ้าหน้าที่หันมาใช้แอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Threema แทน ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ นั่นเอง   Threema เป็นแอปแชตที่เริ่มให้บริการในช่วงปี 2012 มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 10 ล้านราย รองรับทั้ง iOS และ Android   สาเหตุที่มีการออกประกาศดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กองทัพสวิส มีความกังวลต่อนโยบายความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว แอปหลักที่ใช้งานเป็นประจำก็คือวอตส์แอป อีกทั้งกองทัพสวิสยังมีความกังวลหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของกองทัพสวิสได้   พร้อมกันนี้ ความกังวลของกองทัพสวิสน่าจะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่จากวอชิงตัน ดี.ซี. สามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐบาลสหรัฐฯ   ขณะที่แอปพลิเคชัน Threema เป็นบริษัทที่มาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และไม่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในสหรัฐอเมริกา…

ความเป็นส่วนตัว กับ ความปลอดภัย เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ? อะไรคือความแตกต่าง

Loading

  ความเป็นส่วนตัว กับ ความปลอดภัย เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ? หลังทุกคนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ต ทำงาน ฟังเพลง เล่นเกม คุย แบบออนไลน์ ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยเป็นของคู่กัน มักใช้สลับกันได้ แต่ก็ไม่ถูกต้องนัก แม้ว่าความเป็นส่วนตัวและการไม่เปิดเผยตัวตนอาจช่วยให้ตัวเองมีความปลอดภัยที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่เหมือนกับความปลอดภัย บทความนี้้จะพูดถึง 2 คำที่พูดบ่อยและใกล้ตัวคือความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกออนไลน์กัน ทำไมคุณถึงต้องการทั้งสองอย่าง และสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวคุณเอง   ความเป็นส่วนตัว กับ ความปลอดภัย เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ? ความเป็นส่วนตัว หมายถึงการควบคุม ที่คุณมีต่อข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และวิธีการใช้ข้อมูลนั้น ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลใดๆ ที่สามารถมาใช้เพื่อระบุตัวตนของคุณได้ ความปลอดภัย หมายถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ   ไม่ว่าคุณจะเลือกแชร์บางอย่างในโปรไฟล์โซเชียลมีเดียหรือไม่ก็ตาม เป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว แพลตฟอร์ม เช่น Facebook ปกป้องข้อมูลที่คุณต้องการให้ดีเพียงใดเพื่อให้คุณสามารถใช้แพลตฟอร์มได้นั้นเป็นเรื่องของการรักษาความปลอดภัย   สมมติว่าคุณเปิดบัญชีเช็คใหม่ที่ธนาคารในพื้นที่ของคุณ คุณต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณกับธนาคารนั้นซึ่งเก็บไว้ในไฟล์เพื่อเปิดบัญชีนั้น หากคุณใช้บัญชีนั้นต่อไปโดยไม่มีการละเมิดข้อมูล แสดงว่าคุณได้รักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยไว้ อย่างไรก็ตาม หากธนาคารขายข้อมูลของคุณให้กับผู้โฆษณาที่เป็นบุคคลที่สาม ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของคุณจะถูกบุกรุก แม้ว่าธนาคารนั้นจะยังคงรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัยจากผู้โจมตีภายนอก หากเกิดการรั่วไหลของข้อมูลและผู้โจมตีทางไซเบอร์ได้ข้อมูลของคุณ ทั้งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของคุณจะถูกแฮกเกอร์บุกรุก…

8 ผู้ให้บริการคลาวด์เรียกร้องภาครัฐกำหนดพื้นฐานปกป้องสิทธิลูกค้าในการเข้าถึงข้อมูล

Loading

  กลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ในไทยตั้งกลุ่ม Trusted Cloud Principles เรียกร้องภาครัฐกำหนดหลักการพื้นฐานปกป้องสิทธิของลูกค้า กรณีหน่วยงานรัฐต้องการเข้าถึงข้อมูลในระบบคลาวด์ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ชัดเจน และโปร่งใส ลดปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   สำหรับ Trusted Cloud Principles (หลักการพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้) จัดทำขึ้นโดยผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud service providers) และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก 8 แห่ง ได้แก่ Amazon, Google, Microsoft, IBM, Salesforce/Slack, Atlassian, SAP และ Cisco เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อช่วยปกป้องสิทธิของลูกค้าในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐประสงค์ที่จะเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าในระบบคลาวด์   เบื้องต้น Trusted Cloud Principles จะกลายเป็นข้อตกลงและข้อควรปฏิบัติในการให้บริการระบบคลาวด์ต่างๆ ซึ่งคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก โดยเป้าหมายของการรวมตัวของผู้ให้บริการคลาวด์และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเหล่านี้คือการปกป้องสิทธิของผู้ใช้บริการจากแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกที่ขอเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าเอกชนจากผู้ให้บริการคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ   ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์ได้รวมตัวกันเพื่อกำหนดหลักการและมาตรฐานของระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้ เพื่อสนับสนุนแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนและโปร่งใสของหน่วยงานรัฐบาลจากหลายๆ ประเทศ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยและรักษาสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการคลาวด์   ทั้งนี้ หลักการที่รวบรวมกันมาประกอบด้วย 1.รัฐบาลควรประสานงานกับลูกค้าเอกชนเป็นอันดับแรก โดยมีข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อย รัฐบาลควรขอข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าเอกชน แทนการมาขอจากผู้ให้บริการคลาวด์…