สหราชอาณาจักรสั่งปรับ “TikTok” 500 กว่าล้านบาท

Loading

  สหราชอาณาจักร สั่งปรับ TikTok เป็นเงิน 500 กว่าล้านบาท เหตุพบการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูล   เรียกว่างานเข้าไม่หยุด สำหรับแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์ชื่อดังอย่าง “TikTok” ที่ก่อนหน้านี้ก็ถูกสั่งแบนในอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐหลายประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เม.ย. หน่วยเฝ้าระวังข้อมูลของสหราชอาณาจักรได้ประกาศสั่งปรับ TikTok เป็นเงินจำนวนกว่า 12.7 ล้านปอนด์ (ราว 538 ล้านบาท) เนื่องจากพบการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูล จากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และพบการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง     สำนักงานคณะกรรมาธิการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งสหราชอาณาจักร (Information Commissioner’s Office หรือ ICO) ประมาณการว่า ในปี 2020 แอปพลิเคชัน TikTok อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ประมาณ 1.4 ล้านคนทั่วสหราชอาณาจักร สามารถเข้าถึง TikTok ได้ แม้แอปพลิเคชันจะกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สร้างบัญชีใช้งานว่า ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 13…

ฝรั่งเศส ร่างกฎหมายห้ามพ่อ-แม่ โพสต์รูปลูกบนโซเชียลมีเดีย หากเด็กไม่ยินยอม เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว

Loading

    ฝ่ายนิติบัญญัติของฝรั่งเศส อนุมัติกฎหมายใหม่เพื่อช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กบนอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายแล้ว และผู้ปกครองในประเทศจะถูกห้ามไม่ให้โพสต์หรือแชร์ภาพถ่ายของลูก ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต   ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกเสนอโดย บรูโน สตูเดอร์ (Bruno Studer) นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (MP) และผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส   เนื้อความในกฎหมาย ระบุว่า ทั้งพ่อและแม่ต้องรับผิดชอบต่อสิทธิในรูปภาพของเด็ก หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการโพสต์รูป ศาลครอบครัวมีสิทธิ์เป็นผู้ตัดสินหรือสั่งห้ามโพสต์ทั้งคู่ หากภาพดังกล่าว “ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีหรือศีลธรรมอันดีของเด็ก” โดยการตัดสินใจว่าจะโพสต์ภาพลูกลงในสื่อออนไลน์หรือไม่ จะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย โดยพิจารณาจากอายุและระดับวุฒิภาวะของเด็กคนนั้น ๆ   และหากผู้ปกครอง ยังฝ่าฝืนโพสต์รูปที่อาจเป็นปัญหาต่อจิตใจของเด็กอย่างร้ายแรงในอนาคต ศาลสามารถเพิกถอนอำนาจและสิทธิของพ่อแม่ได้ทันที   สภาสมาคมเพื่อสิทธิเด็กแห่งฝรั่งเศส อ้างถึงการแจ้งเตือนจากยูโรโพล (Europol) และอินเตอร์โพล (Interpo)l เกี่ยวกับการแพร่กระจายของเนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กทางออนไลน์ และการแพร่หลายของเนื้อหาที่ผลิตขึ้นเองโดยเยาวชนเองหรือคนรอบข้าง   อันจา สตีวิต (Anja Stevic) นักวิจัยด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยเวียนนา เชื่อว่าจำเป็นต้องปกป้องเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่มีเสียงพูดต่อต้านภาพที่พ่อแม่แชร์ทางออนไลน์   โดยร่างกฎหมายนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกและได้รับความเห็นชอบจากนักจิตวิทยาเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียด้วย          …