27 พ.ค. ดีเดย์! ตรวจโมบายแบงก์กิ้ง “ชื่อไม่ตรงซิม” มีขั้นตอนอย่างไร? คนใช้ต้องทำอะไรบ้าง คลิก!

Loading

เริ่มเดินหน้าตรวจสอบโมบายแบงก์กิ้ง ที่ “ชื่อบัญชีไม่ตรงซิม” แล้วในวันที่ 27 พ.ค .จะมีขั้นตอนอย่างไร ในกรณีชื่อไม่ตรงต้องอย่างไรบ้าง วันนี้มีตำตอบ

รองเลขาฯ ปปง.ให้คำแนะนำ แนวทางแก้ปัญหาซิมการ์ดไม่ตรงโมบายแบงก์กิ้ง หากมี SMS แจ้งเตือนอย่ากดดู มิจฉาชีพแน่นอน

Loading

การตรวจสอบคัดกรองเบอร์โมบายแบงก์กิ้ง(ซิมการ์ด) ที่ผูกกับบัญชีธนาคารต้องตรงกัน พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เปิดเผยกับสถานีวิทยุจส.100 ว่าในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาซิมผีบัญชีม้า ขอประชาชนอย่าตกใจ พร้อมแนะนำว่า หากประชาชนผู้ใช้บริการชื่อไม่ตรงกับโมบายแบงก์กิ้ง ขอให้ไปเปลี่ยนให้ตรงที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือหากยืนยันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เบอร์ดังกล่าว ขอให้ยืนยันกับธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดโมบายแบงก์กิ้งให้กับบุตรหลานที่เป็นเด็กหรือเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เบอร์องค์กรที่แสดงตัวตนได้ชัดเจน เป็นต้น ในช่วงนี้ขอแจ้งเตือนประชาชน ธนาคารอยู่ระหว่างการทำงาน พร้อมประสาน ปปง.และจะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบผ่านทางกล่องข้อความทางโมบายแบงก์กิ้งประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.67 หากในช่วงนี้ มีการส่งข้อความผ่านทาง SMS ขออย่ากดดู เนื่องจาก เป็นมิจฉาชีพแน่นอน

อึ้งพบ 1 ล้านบัญชีม้า กสทช.เข้ม “โมบายแบงก์กิ้ง ซิม” ต้องชื่อเดียวกัน

Loading

กสทช.เรียกประชุมตรวจคัดกรองเบอร์มือถือที่ผูกไว้กับบัญชีโมบายแบงก์กิ้ง 106 ล้านบัญชี ต้องเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เริ่มตรวจ 27 พฤษภาคม 2567 ด้าน ปปง.เผยขณะนี้ยังมีบัญชีม้าอยู่ราว 1 ล้านบัญชี โดยมีบัญชีม้าใหม่เข้ามาเพิ่มเดือนละ 20,000 บัญชี เชื่อว่ามาตรการเข้มตรวจเจ้าของซิมเบอร์มือถือ-เจ้าของบัญชีโมบายแบงก์กิ้งต้องเป็นบุคคลเดียวกันจะทำให้บัญชีม้าลดลงเร็วขึ้น

ปปง. ธปท. สมาคมธนาคารไทย เพิ่มวิธียืนยันตัวตนฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ด้วยรหัส OTP เริ่ม 1 มิ.ย. 66 จริงหรือ?

Loading

  ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องปปง. ธปท. สมาคมธนาคารไทย เพิ่มวิธียืนยันตัวตนฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ด้วยรหัส OTP เริ่ม 1 มิ.ย. 66 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง   ตามที่มาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ได้กำหนดให้การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น ฝากเงินผ่านเครื่องรับฝากอัตโนมัติ (CDM) ต้องมีการแสดงตนของผู้ทำธุรกรรมเพื่อให้มีความปลอดภัย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงิน และเป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ภาคธนาคารจึงดำเนินการตามข้อกำหนดดังกล่าวโดยแนวทางหนึ่ง คือให้ผู้ทำธุรกรรมต้องแสดงตนโดยใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือบัตรเอทีเอ็ม   อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ไม่มีบัตรดังกล่าว ให้สามารถทำรายการฝากเงินที่เครื่องรับฝากเงิน CDM ได้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย จึงได้หารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางการยืนยันตัวตนด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม โดยมีหลักการว่าต้องไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร และมีทางเลือกในการยืนยันตัวตนได้หลายรูปแบบ   จากการหารือร่วมกันทั้งสามหน่วยงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทุกรายได้ข้อสรุปร่วมกันว่าควรเพิ่มวิธีการยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP (One Time Password) เป็นทางเลือกให้กับประชาชน โดยผู้ฝากเงินผ่านเครื่อง…