ชี้ “เซิร์ฟเวอร์”ในไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์ถูกโจมตีมากกว่า 5 แสนรายการ

Loading

    แคสเปอร์สกี้เปิดตัวเลขเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้โจมตีมากกว่าครึ่งล้านรายการ สวนทางดัชนีความปลอดภัยไซเบอร์   ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก 2024 หรือ GCI (Global Cybersecurity Index) ประเทศไทยเร่งเครื่องขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 จากอันดับที่ 44 เมื่อปี 2020 โดยประเทศไทยได้รับคะแนนดัชนีปีนี้ 99.22 คะแนน ทำให้ไทยเลื่อนขึ้นมาเป็นประเทศกลุ่มระดับ 1 (Tier 1) ซึ่งมีความสามารถเป็นต้นแบบในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   รายงาน GCI 2024 เผยให้เห็นถึงการปรับปรุงที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการทางกฎหมาย ความสามารถทางเทคนิคและกลยุทธ์ ความคิดริเริ่มในการสร้างขีดความสามารถ ความร่วมมือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดขึ้น   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า  คะแนนดัชนีของประเทศไทยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทยในการปรับปรุงความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ และบริษัทหลักในอุตสาหกรรม แคสเปอร์สกี้ยินดีที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการสร้างความสามารถในการรับมือภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้น   อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำลังเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่มาจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากรายงานของ…

การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

มีชาวเกาหลีเหนือลักลอบเดินทางข้ามแดนมาฝั่งใต้เพิ่มขึ้นในปีนี้

Loading

กองทัพเกาหลีใต้แถลงยืนยันในวันนี้ (11 ต.ค.67) ว่าชาวเกาหลีเหนือที่เดินทางลักลอบเดินทางข้ามพรมแดนผ่านทางทะเลตะวันตกเมื่อเดือนกันยายน ขณะนี้อยู่ในเกาหลีใต้ โดยในสัปดาห์นี้ เกาหลีเหนือประกาศว่าจะปิดกั้นพรมแดนทางใต้เป็นการถาวรโดยให้ปิดถนนและทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับทางใต้ทั้งหมด และก่อสร้างแนวป้องกันที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งทำให้มีความเห็นว่า อาจมีเป้าหมายสำคัญคือการป้องกันพลเมืองหลบหนีออกนอกประเทศ

‘ญี่ปุ่น’ เล็งใช้กฎใหม่ JESTA ต้องแสดงข้อมูลออนไลน์ก่อนเข้าประเทศ

Loading

เว็บไซต์เจแปน ทูเดย์รายงานเมื่อวันที่ 30 ส.ค.ว่า ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาจะใช้ระบบคัดกรองนักเดินทางใหม่กับ 71 ประเทศที่เข้าญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า โดยจะกำหนดให้ผู้เดินทางต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบออนไลน์ก่อนเข้าประเทศ

Group-IB เตือน หลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก เสี่ยงถูกแฮ็กเกอร์ขโมยข้อมูลบัตรเครดิต

Loading

Group-IB เตือนภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก แฮ็กเกอร์ขโมยข้อมูลในบัตรเครดิตกลับมาระบาดอีกครั้ง อินเดีย-ไทย-อินโดฯ ตกเป็นเป้าโจมตีขโมยข้อมูลปล่อยรั่วออกสาธารณะ และไทยตกเป็นเหยื่อการโจมตีด้วย Ransomware (ไวรัสเรียกค่าไถ่) มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิก

กฎหมายใหม่ กำกับธุรกิจแพลตฟอร์ม คุ้มครองผู้ใช้บริการ

Loading

ตลาดดิจิทัลแพลตฟอร์มในประเทศไทย มีมูลค่าตลาดของธุรกิจแพลตฟอร์มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เฉพาะตลาด e-Commerce มีมูลค่าสูงถึง 21.41 ล้านล้านบาท ซึ่งนำมาพร้อมโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างขึ้นและอาชีพใหม่ ๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มจำนวนมาก ย่อมทำให้การกระจายของข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว