ธนาคารสิงคโปร์ ยกเลิกระบบ OTP ใช้โทเคนดิจิทัล ปลอดภัยขึ้น

Loading

ธนาคารสิงคโปร์ ยกเลิกระบบ #OTP ใช้โทเคนดิจิทัล ปลอดภัยขึ้น แต่ก็ยังไม่รอด ถ้ามิจฉาชีพจะโกง จากความเห็นของอาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประธานกรรมการ บริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด

เปิด 10 ข้อ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 2023 เตรียมองค์กรพร้อมรับความเสี่ยง

Loading

  “ปริญญา หอมเอนก” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ทำนายแนวโน้มดังกล่าวทุกปีเช่นกัน สำหรับ Top Ten Cybersecurity & Privacy Threats and Trends 2023   ปีนี้มาพร้อมกับคำแนะนำ 10 ข้อ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 2023 ดังนี้   1.จัดให้มีการซ้อมหนีไฟทางไซเบอร์ หรือ Cyber Drill การสร้างความตระหนักรู้ความปลอดภัยไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ดังนั้นองค์กรจำเป็นจะต้องจัดให้มีการซ้อมหนีไฟทางไซเบอร์ หรือที่เรียกว่า Cyber Drill เพื่อซักซ้อมแนวทางปฏิบัติที่จะรับมือกับการเผชิญเหตุอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่บุคลากรและองค์กรไปพร้อมๆ กัน   ปริญญา อธิบายว่า “Cyber Drill” (Cyber Attack Simulation) เป็นการจำลองเหตุการณ์โจมตี ทั้งการโจมตีระบบ และการโจมตีที่จิตใจคน เพราะปัจจุบันภัยไซเบอร์ ไม่ได้มาในรูปแบบการโจมตี เพื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบสารสนเทศขององค์กรเพียงอย่างเดียว แต่จะมุ่งเป้าโจมตีไปที่จิตใจคนเพื่อให้เกิดความโลภหรือเกิดความกลัวจนรีบทำในสิ่งที่แฮกเกอร์หลอกลวงโดยไม่รู้เท่าทัน   การจำลองเหตุการณ์ Cyber Attack จะทำให้เกิดความคุ้นชินกับการโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่ตัวบุคคล เพราะเมื่อเราได้เห็นหรือมีประสบการณ์แล้วก็จะรู้ว่า…

จาก Cyber Risk สู่ Digital Risk – ประเทศไทยจะก้าวข้าม Data Privacy Threats ที่หลบซ่อนอยู่ได้อย่างไร

Loading

  สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม Exclusive Talk เรื่อง “จาก Cyber Risk สู่ Digital Risk – ประเทศไทยจะก้าวข้าม Data Privacy Threats ที่หลบซ่อนอยู่ได้อย่างไร” พร้อมเปิดมุมมอง Digital Risk & Digital Inequality แนวโน้มใหม่ที่กำลังเปลี่ยนโลกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิง กับความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมรับมือ “ความเสี่ยงดิจิทัล” (Digital Risk) ที่องค์กรต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามีความหมายไม่เหมือน “ความเสี่ยงไซเบอร์” (Cyber Risk)   โดย อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้ก่อตั้งและประธาน ACIS Professional Center ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ   วิทยากรรับเชิญ: อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร ACIS Professional Center   ภัยคุกคามยุคสมัยใหม่ไม่ใช่แค่การโจมตีจากแฮ็กเกอร์อีกต่อไป เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงขึ้น ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านดิจิทัลด้วยการตระหนักรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนผ่านจากสู่…

ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ประเทศไทยมีการประกาศบังคับ ใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ซึ่งชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ขณะนี้ได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และแต่งตั้งคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เพื่อปฏิบัติภารกิจตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำไมต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์? ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ ประชาชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ โดยไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน (critical infrastructures) ของประเทศ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ช่วงวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2564 มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา “Colonial Pipeline” ถูกโจมตีด้วย Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทำให้ต้องหยุดการขนส่งน้ำมันบางส่วนลงชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทีมงานทำเนียบขาวของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ประสานงานและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาในระดับประเทศ การโจมตีโดย Ransomware ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติการของอาชญากรรมข้ามชาติที่จู่โจมเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยิ่งยวด…

วิเคราะห์ลึก Top Ten Trends Cybersecurity&Data Privacy 2021

Loading

  ในทุกๆ ปี แนวโน้มด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา วันนี้เราจะกล่าวถึง Top Ten Trends Cybersecurity & Data Privacy 2021 เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของผู้บริหารระดับสูงในปี 2022   วิเคราะห์ Trend ที่ 1: Personalized Marketing vs. Customer Privacy การสร้างประโยชน์ทางธุรกิจจากข้อมูลส่วนบุคคลเปลี่ยนบริบทการตลาดส่วนบุคคล   กลยุทธ์การตลาดส่วนบุคคล (Personalized Marketing) เป็นหัวใจขององค์กรในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า (Customer Privacy) ก็ต้องตระหนักถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเช่นกัน ดังนั้นทั้งสองประเด็นจึงมีเส้นทางคู่ขนานกันไปที่จำเป็นต้องอยู่บนความถูกต้อง   ผลการวิจัยจาก jebbit.com พบว่า ผู้บริโภค 67% ต้องการประสบการณ์ส่วนตัว ในขณะที่ผู้บริโภค 92% กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนโลกออนไลน์   แม้ว่ากลยุทธ์ Personalized Marketing จะสร้างความประทับใจต่อลูกค้าเนื่องจากรู้ลึกถึงความต้องการ แต่ในอีกมุมหนึ่งการเข้าถึงข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อทำการตลาดส่วนบุคคลนั้น อาจเป็นต้นตอที่ทำให้องค์กรละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล…