กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…

นักวิจัยพบว่าพื้นผิวของลิ้นอาจระบุตัวตนของเราได้ผ่านการทดสอบด้วย AI

Loading

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และมหาวิทยาลัยลีดส์ได้ร่วมกันสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการอ่านภาพ 3 มิติของลิ้นมนุษย์เพื่อระบุลักษณะของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งลิ้นของคนเราจะมีปุ่มลิ้น (Papillae) ขนาดเล็กจำนวนหลายพันปุ่มที่ช่วยในการลิ้มรส การสัมผัส การพูด และการกลืน

ชวนคิด เมื่อ AI กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?

Loading

  ชวนคิด เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา พร้อมกับการใช้ Data Science โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?   ดร.เจษฎา กาญจนะ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ชวนคิดย้อนเวลาไปประมาณกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อหนึ่งสัปดาห์ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 11 ถึงวันที่ 18 ผู้ใช้งาน Facebook จำนวน 689,003 คน (หรือประมาณ 1 ใน 2,500 คนของผู้ใช้งานขณะนั้น) ถูกสุ่มให้ใช้อัลกอริทึมที่ถูกปรับเปลี่ยนสำหรับคัดเลือกให้เห็น News Feed หรือข้อความของเพื่อนแค่บางแบบเท่านั้น   ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเห็นข่าวดี หรือข้อความบวกเยอะกว่าข้อความเชิงลบ ในขณะที่ผู้ใช้อีกกลุ่ม เห็นข่าวร้ายหรือข้อความลบเยอะกว่า จุดประสงค์ของการทดลองคือ การศึกษาการแพร่กระจายทางอารมณ์ (emotional contagion) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และทีมวิจัยต้องการดูว่า อารมณ์สามารถส่งต่อระหว่างคนเมื่อเห็นเฉพาะข้อความตามตัวอักษร โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้หรือไม่…

Nightshade อุปกรณ์ใหม่ของศิลปินป้องกัน AI นำภาพไปใช้งาน

Loading

  ความก้าวหน้าของ AI นำไปสู่การเกิดข้อถกเถียงโต้แย้งในหลายด้าน โดยเฉพาะในกลุ่มศิลปินที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกละเมิดลิขสิทธิ์ จากการที่ภาพของตนถูกนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปสู่การคิดค้น Nightshade ระบบป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพไปใช้งาน   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สร้างแนวโน้มความเป็นไปได้ในการพัฒนาอันไร้ขีดจำกัด ความสะดวกสบายในการใช้งานไปจนขีดความสามารถเป็นสิ่งที่ผู้คนต่างยอมรับ แต่ขณะเดียวกันนี่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในหลายด้าน   หนึ่งในกลุ่มที่เกิดข้อถกเถียงมากที่สุดคือ กลุ่มศิลปิน โดยเฉพาะเอไอที่สามารถสร้างภาพขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการป้อนคำสั่งตัวอักษร เสียง หรือแม้แต่เสียงดนตรี แต่ด้วยความคลุมเครือในด้านข้อมูลที่นำไปใช้งานตลอดจนลิขสิทธิ์ ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจจนมีการฟ้องร้องตามกฎหมาย   นำไปสู่การคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการรับมือกับการสร้างภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ     Nightshade และ Glaze ระบบป้องกันเอไอนำภาพไปใช้งาน   ผลงานนี้เป็นของทีมวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology(MIT) กับการคิดค้นระบบป้องกันชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อรับมือเอไอ โดยจะทำการเติมส่วนประกอบขนาดเล็กเพื่อทำให้ภาพเกิดการบิดเบือน ป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพดังกล่าวไปใช้เทรนหรือเป็นต้นแบบในการผลิตภาพใหม่ต่อไป   เอไอกับศิลปะยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงด้วยความคลุมเครือและช่องโหว่ของกฎหมาย ศิลปินจำนวนมากต่างรู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบ เมื่อผลงานพวกเขาถูกใช้เป็นฐานข้อมูลสร้างภาพขึ้นมาใหม่ นำไปสู่การฟ้องร้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเอไอเชิงศิลปะอย่าง DALL-E, Midjourney และ Stable Diffusion   ปัจจุบันการฟ้องร้องยังคงไม่ยุติแม้มีการประกาศว่าภาพจากเอไอไม่มีลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันปัญหา แต่ข้อถกเถียงนี้เองนำไปสู่แนวคิดในการพัฒนาแนวทางป้องกัน…

AntiFake แนวทางป้องกันไม่ให้เสียงของเราถูกเอไอปลอมแปลง

Loading

ที่ผ่านมาเราเคยได้ยินปัญหาการลอกเลียนและปลอมแปลงเสียงจากเอไอกันมาบ้าง ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ วันนี้เราจึงพามารู้จักกับ AntiFake แนวทางป้องกันไม่ให้เสียงของเราถูกนำไปใช้ในทางผิดแต่คำถามที่เกิดขึ้นมาพร้อมกัน คือ อันตรายที่อาจจะตามมาจากความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์

LUCY ระบบตรวจจับเสียงด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับกู้ภัย

Loading

  การค้นหาผู้รอดชีวิตถือเป็นภารกิจสำคัญที่สุดในการกู้ภัย แต่ท่ามกลางภัยพิบัติหลายครั้งที่ผู้ประสบภัยอาจติดในซากปรักหักพังหรืออยู่ในหมอกควันหนาทึบ ยากต่อการค้นหาและเข้าช่วยเหลือ นำไปสู่การพัฒนา LUCY ระบบตรวจจับเสียงด้วยปัญญาประดิษฐ์ สำหรับค้นหาผู้รอดชีวิต   ภัยพิบัติ เรื่องที่เราต่างไม่อยากให้เกิดแต่กลายเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงได้ยากในปัจจุบัน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงจากภาวะโลกร้อน แม้แนวทางแก้ไขเริ่มเป็นรูปร่างแต่ไม่สามารถทำได้ในเร็ววัน นั่นทำให้เราได้แต่ปรับตัวและพยายามหลีกเลี่ยงความเสียหายเท่าที่ทำได้   หนึ่งในแนวทางรับมือที่เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติคือ การกู้ภัย เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในพื้นที่ ค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ร้ายแรงและเร่งตรงเข้าช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามการค้นหาผู้รอดชีวิตภายในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้เวลาและแรงงานมหาศาลซึ่งบางครั้งอาจสายเกินไป   นำไปสู่การพัฒนาระบบตรวจจับเสียงรุ่นใหม่ที่จะช่วยเพิ่มอัตราค้นหาผู้รอดชีวิตให้เพิ่มมากขึ้น     LUCY ระบบตรวจจับเสียงทรงประสิทธิภาพจากเอไอ ผลงานนี้เป็นของทีมวิจัยจากสถาบันวิจัย Fraunhofer Institute for Communication กับการคิดค้นระบบตรวจจับเสียงรุ่นใหม่ ที่สามารถตรวจจับเสียงร้องและสัญญาณเสียงขอความช่วยเหลือจากผู้รอดชีวิต และสามารถระบุตำแหน่งต้นเสียงได้ในเวลาไม่กี่วินาที   เมื่อเกิดภัยพิบัติร้ายแรงสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงย่อมเป็นชีวิตคน การค้นหา ให้ความช่วยเหลือ ไปจนอพยพจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน กระนั้นหลายครั้งการค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่ภัยพิบัติก็เป็นเรื่องยาก เช่น กรณีค้นหาผู้รอดชีวิตจากตึกถล่มซึ่งต้องแข่งกับเวลา บางครั้งการค้นหาก็ทำได้ล่าช้าจนสายเกินไป   นำไปสู่การคิดค้นพัฒนาระบบตรวจจับเสียงอย่าง LUCY ที่อาศัยการพัฒนาจากชุดไมโครโฟนระดับไมโคร มีจุดเด่นด้านระดับความไวในการตรวจจับเสียง ผ่านไมโครโฟนตัวจิ๋วที่ได้รับการติดตั้งไว้ในระบบจำนวนกว่า 48 ตัว ช่วยให้ระบบนี้ตรวจจับเสียงรอบทิศทาง และนำมุมตกกระทบจากไมโครโฟนแต่ละตัวไปค้นหาแหล่งกำเนิดเสียงได้  …