ผู้บริหาร Microsoft เตือนภัยจาก Deepfakes ในอนาคตที่อาจสมจริงถึงขั้นที่ไม่มีทางจับได้

Loading

  งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ เอริก ฮอร์วิตซ์ (Eric Horvitz) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Microsoft ในชื่อ ‘On the horizon: Interactive and compositional deepfakes’ คาดการณ์ไว้ว่าเทคโนโลยี Deekfakes ในอนาคตอาจพัฒนาไปไกลถึงขั้นที่ถูกนำมาใช้แบบเรียลไทม์ได้   Deepfakes คือการดัดแปลงคลิปวีดิโอโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เพื่อสร้างคลิปวีดิโอที่ทำให้ดูเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งพูดในสิ่งที่เขาไม่เคยพูดจริง ๆ ได้   ฮอร์วิตซ์เชื่อว่า Deepfakes ในอนาคตอาจก้าวหน้าไปจนถึงขนาดที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ได้   นอกจากนี้ Deepfakes ในอนาคตอาจมีความสมจริงไปจนถึงขั้นที่สังเคราะห์ภาพประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์โลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงได้ หรือที่เรียกว่า Synthetic history (ประวัติศาสตร์สังเคราะห์)   ยิ่งไปกว่านั้น ภาพ Deepfakes ที่สมจริงมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อาจยิ่งมีความสมจริงยิ่งขึ้นจนเราไม่สามารถแยกแยะว่าภาพไหนจริงหรือปลอมได้อีกต่อไป รวมถึงยังอาจสามารถหลอกเครื่องมือตรวจจับข้อมูลเท็จที่ล้ำหน้าได้ด้วย     ที่มา TechRadar    …

รัฐบาลสหรัฐฯ ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตให้กับรัสเซียและจีน

Loading

  ผู้ผลิตชิปเซตชั้นนำของโลกทั้งอินวิเดียและเอเอ็มดี กล่าวถึงการจำกัดการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนให้กับรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ   ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนทางเทคโนโลยีบางรุ่นให้กับรัสเซียและจีน   คำสั่งบริหารของปธน.ไบเดน ส่งผลให้ชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ ที่ผลิตและจำหน่ายโดยเอเอ็มดี (AMD) และอินวิเดีย (Nvidia) จะไม่ถูกปล่อยไปยังคู่ขัดแย้งทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยง่าย ผู้ขายจำเป็นต้องขอใบอนุญาตส่งออกสำหรับการขายชิปเซต ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีความตั้งใจที่จะให้ชิปเซตระดับสูงเหล่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้ทางการทหารของประเทศรัสเซีย และจีน   ในอดีตผลิตภัณฑ์ในส่วนชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ มักถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาวิดีโอเกม เพื่อให้ภาพที่ได้มีความสมจริงมากที่สุด แต่ในช่วง 10 ปีหลังสุด ชิปเซตกราฟิกระดับสูงหลายรุ่น ได้ถูกนำไปใช้กับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์   ในเวลาเดียวกัน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในหลายประเทศก็ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาอาวุธทางการทหาร หรือในประเทศจีน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้สอดส่องพลเมืองของตัวเอง ด้วยการระบุใบหน้าในภาพวิดีโอ เป็นต้น   ก่อนหน้านี้ อินวิเดีย มีลูกค้าจำนวนมากทั้งในประเทศจีน และรัสเซีย แต่จากการที่ รัสเซีย เข้าบุกรุกยูเครน จึงทำให้อินวิเดีย ไม่ได้ขายชิปเซตให้กับรัสเซียอีกแล้ว ซึ่งส่งผลให้อินวิเดียสูญเสียรายได้ราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสล่าสุด   ทางด้านเอเอ็มดี ยอมรับว่า…

จีนคิดค้นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ประเมินความภักดีของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์

Loading

  สถาบันปัญญาประดิษฐ์ (Institute of Artificial Intelligence) แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์ครบวงจรแห่งชาติเหอเฝย์ (Hefei Comprehensive National Science Center) ของจีน อ้างว่า ได้คิดค้นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถอ่านใจสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อทดสอบและประเมินความจงรักภักดี เทคโนโลยีนี้เรียกว่า มาตรวัดระดับการศึกษาทางการเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart Political Education Bar ซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการอ่านการแสดงออกทางสีหน้าและคลื่นสมองเพื่อจำแนกระดับการยอมรับอุดมการณ์และการศึกษาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อที่จะสามารถประเมินระดับความซื่อสัตย์และความพร้อมจะทำตามพรรค อย่างไรก็ดี บทความและคลิปวีดิโอที่เกี่ยวกับโครงการนี้ได้ถูกลบออกไปจากโซเชียลมีเดียของจีนอย่างรวดเร็ว หลังจากที่มีการโพสต์ลงไปไม่นาน ในคลิปที่ถูกลบไป เผยให้เห็นถึงนักวิจัยที่นั่งประจำอยู่หน้าจอขนาดใหญ่ จอนี้จะคอยเฝ้าดูข้อมูลชีวมิติ (biometric) ของตัวนักวิจัย อาทิ ภาพใบหน้า ความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง และคลื่นไฟฟ้าสมอง จากนั้นนักวิจัยคนดังกล่าวเลือกชมเนื้อหาที่เกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยตัวปัญญาประดิษฐ์จะคำนวณความตั้งใจในการเรียนรู้และอารมณ์ความรู้สึกระหว่างการรับชม จากข้อมูลชีวมิติ เพื่อนำไปสู่การแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ผู้วิจัยอ้างว่า “การใช้พลังของปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยให้เรามีเสรีภาพในการกำหนดการศึกษาพรรคได้มากขึ้น ซึ่งการจำแนกผลการเรียนรู้จะทำให้เราสามารถโน้มน้าวสมาชิก [พรรคคอมมิวนิสต์] ให้รู้สึกปลาบปลื้ม เชื่อฟัง และทำตามพรรคให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม” ที่มา Telegraph พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส…

จีนวิจัยเอไอช่วยทำนายวิถีขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก

Loading

    เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจจับขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกได้   South China Morning รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนการเตือนภัยล่วงหน้ากองทัพอากาศของจีนพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) คาดคะเนวิถีของขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก หรือขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงที่กำลังพุ่งเข้าสู่เป้าหมายที่ความเร็วที่เร็วกว่าความเร็วของเสียง 5 เท่า   นักวิจัยระบุว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ขับเคลื่อนโดย AI สามารถประมาณการวิถีการสังหารที่เป็นไปได้ของขีปนาวุธที่กำลังมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย และหาทางตอบโต้ภายในเวลา 3 นาที   จางจุนเปียว นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากโรงเรียนการเตือนภัยล่วงหน้ากองทัพอากาศในเมืองอู่ฮั่นของจีนเผยว่า “มหาอำนาจทางการทหารของโลกกำลังแข่งขันกันพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกอย่างดุดัน ทำให้เกิดความท้าทายครั้งใหม่ที่รุนแรงต่อความปลอดภัยทางอากาศและในอวกาศ”   “การทำนายเส้นทางมีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้กับการประเมินเจตนาและการสกัดกั้นการป้องกันการบินและอวกาศ” จางระบุในวารสาร Journal Of Astronautics ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา   ขีปนาวุธร่อนไฮเปอร์โซนิกถูกปล่อยจากอากาศและสามารถเดินทางเข้าและออกจากชั้นบรรยากาศได้ราวกับก้อนหินกระโดดอยู่บนผืนน้ำและเบี่ยงไปทางซ้ายหรือขวา ทำให้ยากต่อการตรวจจับหรือสกัดกั้น   ด้วยความเร็วระดับ 5 มัคทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศแทบจะไม่มีเวลาตอบโต้ และขณะนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่มีอยู่สามารถหยุดยั้งขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกได้เลย   ทว่าจางเผยว่า AI สามารถทำได้ฝ่ายที่ต้องตั้งรับไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับน้ำหนัก ขนาด รูปร่าง ระบบควบคุมกลศาสตร์ หรือจุดประสงค์ของอาวุธของศัตรู แต่ AI สามารถคาดเดาได้ค่อนข้างแม่นยำด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลการเดินทางของขีปนาวุธที่บันทึกไว้…

เอไอทดลองคิดสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพได้ 40,000 ชนิด ภายในเวลาแค่ 6 ชั่วโมง

Loading

  ความสามารถในการวิเคราะห์และคำนวณขั้นสูงของปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence – AI) ทำให้สมองกลสามารถตรวจพบโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ ๆ จากฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งคิดค้นสูตรยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพได้หลากหลายชนิด   แต่ข้อเสียของเอไอในทางสุขภาพและการแพทย์ก็มีอยู่ หากมีผู้นำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการคิดค้นสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพ ที่อาจคร่าชีวิตมนุษย์จำนวนมหาศาล   ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ทดลองเดินเครื่องปัญญาประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า MegaSyn ซึ่งถูกออกแบบและฝึกฝนมา ให้มีความถนัดในการค้นหาโมเลกุลพิษที่จะทำลายโปรตีนในร่างกายมนุษย์ โดยแต่เดิมนั้นนักวิจัยใช้เอไอดังกล่าวเพื่อการคิดค้นตัวยาที่มีความปลอดภัย ทว่าในคราวนี้ พวกเขาทำการทดลองเพื่อให้มันค้นหาโมเลกุลพิษร้ายแรงที่สามารถจะนำมาทำเป็นอาวุธเคมี-ชีวภาพได้   ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Machine Intelligence ระบุว่า เอไอ MegaSyn สามารถคิดค้นสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตจริงมากถึง 40,000 ชนิด ภายในเวลาเพียงแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวของการใช้เอไอในทางที่ผิด ซึ่งนักวิจัยยุคใหม่ไม่ควรประมาท   รายงานวิจัยข้างต้นระบุว่า “เราใช้เวลานานหลายทศวรรษ พัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเอไอเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ให้ดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้ย่ำแย่ลง แต่เรากลับไม่เคยตระหนักถึงอันตรายของการใช้เอไอเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชั่วร้าย”     ในการทดลองครั้งนี้ เอไอได้รับคำสั่งให้ค้นหาโมเลกุลที่เป็นพิษร้ายแรงคล้ายสารทำลายประสาทวีเอ็กซ์ (VX) โดยนอกจากจะค้นหาสารอินทรีย์ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวทีละชนิดจากฐานข้อมูลแล้ว เอไอยังสามารถทดลองผสมสารหลายชนิดเข้าด้วยกันด้วยการคำนวณ…

โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ

Loading

  โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์แทบจะทุกขณะของจังหวะชีวิต บางคนบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้าที่ทุกคนจดจ้องกับสมาร์ตโฟนในมือตัวเอง หลายคนโอดครวญว่าโซเชียลมีเดียได้พรากเอาเวลาชีวิตอันแสนมีค่าไปจากตน ปัจจุบันเรามีวิธีจัดการเวลาในการใช้โซซียลมีเดียแบบดิจิตอลมินิมัลลิสม์ (digital minimalism) นักปรัชญาจำนวนมากก็ตื่นตัวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตและสังคม     โรแบร์โต ซิมานอฟสกี (Roberto Simanowski) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีสื่อชาวเยอรมัน ที่ตั้งคำถามต่อเทคโนโลยีดิจิตอลได้แหลมคมที่สุดคนหนึ่ง หนังสือ The Death Algorithm and Other Digital Dilemmas (2018) เป็นรวมความเรียงที่แสดงให้เห็นอันตรายของเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งทางออกที่เป็นไปได้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว เขาเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลาง และสามารถใช้ไปในทางที่เป็นคุณหรือโทษก็ได้ โดยไม่ตระหนักว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะของตัวเอง   จริงอยู่เราอาจใช้ปืนพกตอกตะปูได้ แต่ก็ไม่มีใครทำเช่นนั้น การเรียกร้องให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook โดยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังด้วยการคอมเมนต์ในรูปของความเรียง ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ปืนพกไปตอกตะปู   ซิมานอฟสกีเห็นว่าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสารัตถะ (essence) ของมัน เขากลับไปหาแนวคิดของนักปรัชญาเยอรมันอย่างมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ผู้เห็นว่า สารัตถะของเทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย หากแต่เป็นการเปิดเผย (revealing) นั่นคือเทคโนโลยีต้องการเปิดเผยตัวมันเองออกมา เราเห็นได้จากการที่ความเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา  …