ตร.เกาหลีใต้ จะพัฒนาระบบตรวจจับ Deepfake

Loading

ตำรวจเกาหลีใต้จะทุ่มงบประมาณ 9,100 ล้านวอน (ราว 210 ล้านบาท) พัฒนาระบบที่สามารถตรวจจับดีปเฟก (Deepfake) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปลอมแปลงข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) และการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ (misinformation)

PwC คาดปี 68 การใช้งาน GenAI พุ่งแรงในไทย

Loading

PwC ประเทศไทย คาด GenAI จะถูกนำมาใช้งานเพื่อบรรลุกลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้นในปี 2568 แนะผู้ประกอบการบูรณาการ AI เข้ากับกระบวนการและรูปแบบการทำงานเพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจใหม่ ระบุการใช้งาน AI อย่างมีความรับผิดชอบจะเป็นพื้นฐานสำหรับความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ประเทศน้อย-ใหญ่ชะตากรรมเดียวกัน วิกฤติขาดกำลังคนด้าน Big Data และ AI

Loading

เทคโนโลยีบิ๊กดาต้า (Big Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยในการตัดสินใจ คาดการณ์ และพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบโจทย์ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน จนนำไปสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลให้ความต้องการกำลังคนที่มีทักษะด้าน Big Data และ AI เพิ่มสูงขึ้นก้าวกระโดดในทุกอุตสาหกรรม

กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับโกหก และช่วยสอบสวนคดีความ

Loading

  กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับ “โกหก” และช่วยสอบสวนคดีความ   “การโกหก” เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงนิสัยของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ ช่างเรียนรู้และช่างปรับตัว เมื่อใดก็ตามที่โกหก เราสามารถสังเกตโดยวิธีง่าย ๆ ด้วยการสังเกตสีหน้าและกิริยาท่าทาง หากพยายามจะปกปิดความจริง จะมีอาการหัวใจเต้นแรงหรือเลือดลมสูบฉีด อาการเหล่านี้เกิดจากความกลัวที่อาจถูกจับเท็จได้   หากแม้โกหกสำเร็จไปแล้วโดยเข้าใจว่าไม่มีผู้ใดทราบว่าตนพูดเท็จ ก็อาจจะหายใจแรงอย่างโล่งอก แต่ถ้าถูกจับเท็จได้ก็อาจรู้สึกร้อนหน้า กัดริมฝีปาก หลบสายตา พูดเสียงอ่อย หรือฝืนหัวเราะ ตลอดจนเคลื่อนไหวมือหรือเท้าที่มีลักษณะแสดงความไม่สบายใจ   มนุษย์ (ที่ชอบโกหก) เมื่อทราบว่ากิริยาอาการเหล่านั้น เป็นอาการ “เลิ่กลั่ก” จนทำให้ “โป๊ะแตก” เขาก็เรียนรู้และปรับตัว พยายามควบคุมสติ ควบคุมร่างกาย เพื่อปิดบังอาการเหล่านั้น และเมื่อไม่สามารถจับเท็จด้วยวิธีการดังนี้ได้แล้ว มนุษย์ก็เรียนรู้ได้ว่าจะต้องหากลวิธีใหม่มาจับเท็จ นั่นจึงนำไปสู่การสร้าง “เครื่องจับเท็จ” (Lie-Detector)   ตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อพิสูจนผู้ต้องสงสัยว่าใคร “โกหก” ใครเป็นผู้กระทําความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์   ตุลาการจีนเคยใช้ “สรีรวิทยา”…

ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…

ญี่ปุ่นเตรียมใช้ “เอไอ” จัดการเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ “มังงะ-อนิเมะ”

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ว่า กลุ่มผู้จัดพิมพ์ในญี่ปุ่น กล่าวเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ว่ามีเว็บไซต์อย่างน้อย 1,000 แห่ง ให้บริการดาวน์โหลดเนื้อหาภาษาญี่ปุ่นฟรีอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมังงะที่มีชื่อเสียงระดับโลก