ETDA เปิด 4 ภัยออนไลน์ ที่ธุรกิจต้องเจอยุคดิจิทัล แนะช่องทางนักธุรกิจรุ่นเก๋า-หน้าใหม่ เสริมภูมิคุ้มกันปิดช่องโหว่มิจฉาชีพ

Loading

ทุกวันนี้ โมเดล ‘ปลาเร็วกินปลาช้า’ ได้กลายเป็นแนวคิดการทำธุรกิจของหลายๆ อุตสาหกรรม ที่ต่างต้องเขย่าโครงสร้าง รูปแบบการทำงานขององค์กรและทีมงาน เพื่อปรับตัวให้ธุรกิจเติบโตเท่าทันโลกยุคดิจิทัล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่หลายธุรกิจ ทั้งนักธุรกิจมือเก๋าผู้บริหารธุรกิจมานานหลายปี และนักธุรกิจมือใหม่ไฟแรง ล้วนมองเห็นโอกาสตรงกันที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจตนเอง และขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเลี่ยงหนีไม่ได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์” โดยมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมการซื้อ-ขายสินค้าผ่านออนไลน์ การเปิดให้สมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์ การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ รวมถึงการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจผันตัวมาทำงานบนโลกออนไลน์มากขึ้นแล้ว โอกาสที่ได้เจอมิตรแท้ทางธุรกิจก็มีมาก แต่แนวโน้มเสี่ยงเจอมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในรูปแบบ ‘ภัยออนไลน์’ ก็มีมากเช่นกัน ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยทางออนไลน์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะด้านธุรกิจทั้งในมุมเจ้าของธุรกิจ คนทำงาน รวมถึงคนทั่วไป ETDA จึงได้ก่อตั้งสถาบัน ADTE by ETDA (เอ็ดเต้ บาย เอ็ตด้า) ที่ได้รวบรวมหลักสูตรดิจิทัลด้านต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้พัฒนาองค์ความรู้ เรียนรู้การเติมทักษะดิจิทัล ความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในมิติที่สำคัญ พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์จากการศึกษาเคสกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง แต่ก่อนจะไปรู้ว่ามีหลักสูตรจำเป็นใดบ้าง ไปรู้จักภัยออนไลน์ที่ธุรกิจต้องเจอในยุคดิจิทัลกันว่ามีประเภทใดบ้าง…

มัลแวร์ล้างข้อมูล โจมตี ‘ยูเครน’ หวั่น ‘ไทย’ โดนหางเลข แนะปิดช่องโหว่

Loading

  สกมช.เตือนภัยไซเบอร์ พบมัลแวร์ล้างข้อมูล โจมตี ยูเครน หวั่นกระทบไทย เหตุเครือข่ายเน็ตเชื่อมโยงถึงกัน แนะป้องกันปิดช่องโหว่ก่อนถูกโจมตีแบบไม่รู้ตัว เร่งประชุมหน่วยงาน ภายใต้กฎหมายวางแผนป้องกัน เผยประชาชนทั่วไป หน่วยงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายต้องระวัง นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า จากกรณีความขัดแย้งระหว่าง “รัสเซีย กับ ยูเครน” ทำให้มีการปฏิบัติการโจมตีทางทหาร และ การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น โดยมีเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ในระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ในรูปแบบ DDoS (Distributed-denial-of-service) หรือการก่อกวนเว็บไซต์ของหน่วยงานสำคัญระดับประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และภาคธนาคาร โดยทำการเข้าถึงหลายเว็บไซต์พร้อมๆ กัน ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ส่งผลให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตล่ม และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Hermetic Wiper ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่เน้นการล้างข้อมูลของเป้าหมายบนระบบเครือข่ายภายในประเทศยูเครน ทั้งนี้ บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์เปิดเผยว่ามัลแวร์นี้จะสร้างความเสียหายให้กับ Master Boot Record (MBR) ทำให้คอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ไม่สามารถทำงานได้ และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Cyclops…