จีนกวาดล้างโพสต์โซเชียลมีเดียกว่า 1.4 ล้านรายการ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวว่า โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 1.4 ล้านโพสต์ถูกลบ หลังจากการสอบสวนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน การแสวงหาผลกำไรที่ผิดกฎหมาย และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเวลา 2 เดือน   หน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน หรือ ซีเอซี กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า ได้ปิดบัญชีโซเชียลมีเดีย 67,000 บัญชี และลบโพสต์หลายแสนรายการระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ถึง 22 พฤษภาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2564 จีนได้กำหนดเป้าหมายบัญชีโซเชียลมีเดียหลายพันล้านบัญชี เพื่อพยายาม “ทำความสะอาด” พื้นที่ไซเบอร์สเปซของตน และทำให้ทางการสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น   การปราบปรามครั้งล่าสุดมุ่งเป้าไปที่บัญชีบนแอปโซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน เช่น วีแชต (WeChat), โต่วอิน (Douyin) และ เว่ยป๋อ (Weibo) ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่เผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลทั่วไป แต่ไม่ได้ดำเนินการ หรือได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลหรือรัฐ   ทางการมักจับกุมพลเมืองและเซนเซอร์บัญชีสำหรับการเผยแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่มีความละเอียดอ่อน หรือวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล หรือกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวงกว้าง   ตามรายงานของซีเอซี…

จีนกวาดล้างข่าวปลอม สั่งปิดบัญชีโซเชียลแล้วกว่า 100,000 บัญชี

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีนระบุว่า จีนได้เพิ่มความพยายามในการกวาดล้างข้อมูลข่าวปลอมบนอินเทอร์เน็ต โดยปิดบัญชีออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับการบิดเบือนข้อเท็จจริงไปแล้วกว่า 100,000 บัญชีในช่วงเดือนที่ผ่านมา   หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีน (CAC) ได้เริ่มต้นการดำเนินการพิเศษเพื่อกวาดล้างข้อมูลออนไลน์ครั้งใหญ่ โดยมุ่งเน้นไปกับบัญชีโซเชียลมีเดียที่เผยแพร่ “ข่าวปลอม” และแอบอ้างเป็นสื่อที่รัฐควบคุม โดยหน่วยงานระบุว่าตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน เป็นต้นมา ได้กวาดล้างบัญชีสำนักข่าวปลอมไปแล้วกว่า 107,000 บัญชี และลบข้อมูลข่าวปลอมไปแล้วกว่า 835,000 รายการ   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่จีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังต่อสู้กับข้อมูลข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ โดยมีกฎหมายหลายฉบับที่บังคับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด   อย่างไรก็ตาม การเผยแพร่ข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ของจีนนั้นถูกควบคุมอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว โดยแพลตฟอร์มอย่าง Weibo ที่มีลักษณะคล้ายกับ Twitter ซึ่งนิยมใช้แฮชแท็กที่จัดทำโดยสื่อของรัฐ ขณะเดียวกันทางการก็จะเซ็นเซอร์แฮชแท็กในประเด็นหรือเหตุการณ์ที่ถือว่าละเอียดอ่อน   หน่วยงานระบุว่า จากการตรวจสอบบัญชีที่แอบอ้างเป็นสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ บัญชีเหล่านี้จะทำการปลอมแปลงฉากในสตูดิโอและเลียนแบบผู้ประกาศข่าวมืออาชีพโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)   ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่รัฐบาลจีนออกคำสั่งเพื่อควบคุมและกวาดล้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่เห็นว่าไม่เหมาะสม และเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณะและภาคธุรกิจ ขณะที่ไม่นานมานี้ หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ยังให้คำมั่นว่าจะปราบปรามความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ที่บ่อนทำลายชื่อเสียงของธุรกิจและผู้ประกอบการ            …