อลเวง Deepfake! วิธีสังเกต-ป้องกันตัวเองจากวิดีโอปลอม

Loading

  หลังจากมีข่าวว่ากูเกิล (Google) ได้แบนอัลกอริธึม “ดีพเฟค” (deepfake) ให้หมดจากบริการกูเกิลคอลาบอราทอรี่ (Google Colaboratory) ซึ่งเป็นบริการคอมพิวติ้งฟรีพร้อมการเข้าถึง GPU โลกก็รู้ว่ากูเกิลไม่ได้เป็นเจ้าเดียวที่พยายามควบคุม deepfake แต่หลายรัฐในสหรัฐฯ ต่างมีกฎหมายควบคุมอย่างจริงจัง แม้แต่ประเทศจีนก็มีการร่างกฎหมายกำหนดให้มีการระบุสื่อที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ และกำหนดกฎระเบียบ AI ของสหภาพยุโรป หรือ EU โดยในอนาคตอาจรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะนี้ด้วย นายวลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูล แคสเปอร์สกี้ ได้ออกมาอธิบายถึงตัวตนของ deepfake และวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันรอบด้าน เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า Deepfake เป็นตัวอย่างสำคัญของเทคโนโลยีที่พัฒนาได้เร็วกว่าที่ผู้ใช้จะเข้าใจและสามารถจัดการความยุ่งยากได้ ด้วยเหตุนี้ deepfake จึงถูกมองว่าเป็นชุดเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูล เป็นความท้าทายสิ่งที่สังคมคิดว่าสามารถไว้วางใจได้ ***deepfake คืออะไร? แคสเปอร์สกี้ให้นิยามดีพเฟค หรือ Deepfake ว่า โดยทั่วไปหมายถึง สื่อสังเคราะห์ประเภทต่างๆ ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนและสร้างขึ้นด้วยโครงข่ายประสาทเทียมระดับลึก deepfake อาจเป็นวิดีโอ ภาพถ่าย หรือการบันทึกเสียง การใช้การเรียนรู้เชิงลึกแทนเทคนิคการตัดต่อภาพแบบดั้งเดิมได้ช่วยลดความพยายามและทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการสร้างภาพปลอมที่น่าเชื่อถือได้ “ในช่วงแรก คำว่า deepfake นี้หมายถึงซอฟต์แวร์ชิ้นหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมใน Reddit…