CrowdStrike หน้าที่และความรับผิดตาม PDPA เป็นของใคร

Loading

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กำหนดหน้าที่ขององค์กรที่อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ CrowdStrike ไว้ดังนี้

แนวทางในการคัดเลือก เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

Loading

  เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer:DPO) ถือเป็นบุคคลสำคัญในการกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดหน้าที่ในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ โดยให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มี DPO ในกรณีดังต่อไปนี้   (1) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (2) การดำเนินกิจกรรมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอโดยเหตุที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (3) “กิจกรรมหลัก” ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26   ในปัจจุบัน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่ได้มีการออกประกาศตามข้อ (1) และ (2) ดังกล่าวข้างต้น   ในส่วนของบุคคลที่จะทำหน้าที่ DPO กฎหมายกำหนดว่าอาจเป็นพนักงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญาก็ได้เช่นกัน   หน้าที่หลัก ๆ ของ DPO คือ การให้คำแนะนำและตรวจสอบองค์กรนั้น ๆ ในการปฏิบัติและดำเนินการให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ…

หน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม

Loading

  พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งการไม่มีมาตรการที่เหมาะสมอาจมีความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ ดังนี้ 1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ และต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(1))   2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(4))   3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น (มาตรา 40(2)) จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล : บทบาทและหน้าที่ตามกฎหมาย

Loading

  “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นคำใหม่ในระบบกฎหมายไทยและมีความหมายเฉพาะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ   HIGHLIGHTS ในแต่ละองค์กร ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือองค์กรที่เป็นนิติบุคคล ไม่ใช่พนักงานหรือส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งภายในองค์กร สถานะ หน้าที่และความรับผิดในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถมอบหมายไปยังบุคคลอื่นได้ พนักงานภายในองค์กรในบริบทของสัญญาจ้างพนักงานไม่ใช่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในบริบทของกิจกรรมการประมวลผลหนึ่ง ๆ บุคคลธรรมดาที่จะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามในกฎหมายนี้ต้องไม่ใช่ผู้ที่ทำการประมวลผลในนามหรือตามคำสั่งขององค์กรที่ตนสังกัด เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ต้องการให้แยกการดำเนินการของบุคคลต่าง ๆ ในองค์กรออกจากองค์กรที่ตนเองสังกัด บุคคลธรรมดาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ในกรณีที่ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียวโดยที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลที่เป็นเจ้าของ   พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม ได้แก่ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบ   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล   จากบทนิยามดังกล่าว อาจจำแนกลักษณะและองค์ประกอบของความเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล…