นอร์เวย์เตรียมหยุดให้สถานะผู้ลี้ภัย “โดยอัตโนมัติ” แก่ชาวยูเครน
หลังจากรัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครน เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 ทางการนอร์เวย์ตัดสินใจที่จะให้ “การคุ้มครองร่วม” แก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนทุกคน ด้วยการมอบสถานะผู้ลี้ภัยโดยอัตโนมัติ
หลังจากรัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครน เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 ทางการนอร์เวย์ตัดสินใจที่จะให้ “การคุ้มครองร่วม” แก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนทุกคน ด้วยการมอบสถานะผู้ลี้ภัยโดยอัตโนมัติ
โปแลนด์สงสัยมานานแล้วว่าเบลารุสพยายามจัดตั้งกลุ่มคนที่แสวงหาความคุ้มครองจากภูมิภาคที่มีภาวะวิกฤตเพื่อนำไปถึงชายแดนด้านนอกของสหภาพยุโรป ขณะนี้มีการตั้งเขตกันชนบริเวณชายแดนแล้ว ปัจจัยในการตัดสินใจคือเหตุการณ์ร้ายแรง
คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นมีมติเห็นชอบให้เริ่มการบังคับใช้กฎหมายคัดกรองคนเข้าเมืองฉบับใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายนนี้ ส่งผลให้ผู้ที่อาจถูกเนรเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้น
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทด้านอวกาศและดาวเทียมของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) โดยกล่าวหาว่าสเปซเอ็กซ์เลือกปฏิบัติในการจ้างงานต่อผู้ลี้ภัยและผู้ที่ยื่นขอลี้ภัย แถลงการณ์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2018 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2022 สเปซเอ็กซ์มักกีดกันผู้ลี้ภัยในการยื่นสมัครงานและปฏิเสธที่จะจ้างงานพวกเขา เนื่องจากสถานะความเป็นพลเมือง ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติของสหรัฐฯ แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า ประกาศรับสมัครงานของสเปซเอ็กซ์และแถลงการณ์ต่อสาธารณะตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สเปซเอ็กซ์มีการกล่าวอ้างอย่างไม่ถูกต้องว่าภายใต้กฎระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หรือกฎหมายควบคุมการส่งออก ทำให้บริษัทฯ สามารถจ้างงานเฉพาะพลเมืองสหรัฐฯ และผู้อยู่อาศัยถาวรตามกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “ผู้ถือกรีนการ์ด” เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการอ้างอิงถึงข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ หรือ X (ชื่อเดิมทวิตเตอร์) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2020 ของ อีลอน มัสก์ ซึ่งระบุว่าสเปซเอ็กซ์จำเป็นต้องจ้างงานเฉพาะผู้ถือกรีนการ์ดเท่านั้น เนื่องจากกฎข้อบังคับการจราจรอาวุธระหว่างประเทศ ซึ่งถูกใช้กับบริษัทที่ผลิตยานอวกาศและจรวด ต้องจำกัดไม่ให้ชาวต่างชาติเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับยานพาหนะดังกล่าว เนื่องจากจรวดเป็นเทคโนโลยีอาวุธขั้นสูงและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ชี้แจงว่ากฎระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ขัดขวางสเปซเอ็กซ์จากการว่าจ้างผู้ลี้ภัย…
AFP สถานการณ์ที่ชายแดนระหว่างโปแลนด์และเบลารุสกำลังมาถึงจุดพีค กองทหารวากเนอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน เฮลิคอปเตอร์ของเบลารุส และผู้ลี้ภัยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลในกรุงวอร์ซอ เฮลิคอปเตอร์จากเบลารุสบินต่ำเกินไปที่ระบบเรดาร์จะตรวจจับได้ แต่ผู้คนในหมู่บ้านของโปแลนด์ที่อยู่บริเวณชายแดนสามารถได้ยินเสียงกระหึ่มดังของเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้น วอร์ซอวิจารณ์ถึงสิ่งที่มินสค์ปฏิเสธ นั่นคือ น่านฟ้าของโปแลนด์กำลังถูกละเมิด ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ โปแลนด์ส่งกองกำลังไปที่ชายแดนมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกในฤดูร้อนนี้ นับตั้งแต่รู้ข่าวว่ากองทหารวากเนอร์เข้าไปแฝงตัวอยู่ในเบลารุส โปแลนด์ก็ระส่ำระสายแล้ว กระทรวงกลาโหมยืนยันว่าพวกเขากำลังฝึกซ้อมร่วมกับกองทัพของเบลารุส ยิ่งปรากฏมีภาพวิดีโอบันทึกการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย กับอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชงโกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม แล้วกองทหารถามเขาว่าพวกเขาสามารถเคลื่อนไปทางตะวันตกได้หรือไม่ ยิ่งทำให้โปแลนด์เกิดความกังวลหนักขึ้นอีก นอกจากนี้ในการสนทนากัน พวกเขายังกล่าวถึงโปแลนด์ ลูกาเชงโกให้คำมั่นกับปูตินว่าจะให้กองทหารประจำการที่เบลารุส-ตามที่ตกลงกันไว้ และในตอนท้ายของประโยคมีเสียงหัวเราะของลูกาเชงโกด้วย ดูเป็นการยั่วยุที่ไม่มีใครในโปแลนด์ขำตาม กองทหารวากเนอร์มีอยู่ราว 4,000 นายในเบลารุส แต่ไม่ใช่ว่ากองทหารวากเนอร์อยู่ในบริเวณใกล้ชายแดนเท่านั้นที่ทำให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลโปแลนด์ยังเกรงว่ากองทหารวากเนอร์อาจช่วยผู้อพยพข้ามพรมแดนไปฝั่งโปแลนด์ด้วย ทุกวันนี้จำนวนผู้อพยพที่พยายามข้ามพรมแดนสูงถึง 16,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนทั้งหมดในปี 2022 การอพยพผ่านเส้นทางที่เรียกว่า ‘Belarus Route’ ทำให้โปแลนด์ต้องหวนนึกถึงความหลังเมื่อปี 2021 ที่ผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสหภาพยุโรปผ่านทางเบลารุส หลายคนต้องพักค้างอยู่ในป่าบริเวณชายแดนนานหลายสัปดาห์ จนกลายเป็นเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม ตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วที่เบลารุสตกเป็นเป้าสงสัยว่าเป็นฝ่ายช่วยลักลอบพาผู้อพยพข้ามพรมแดน วันนี้บริเวณเส้นพรมแดนปรากฏรั้วยาว…
รัฐบาลลอนดอนมีแผนที่จะออกกฎหมายใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อพยพที่เดินทางข้ามช่องแคบอังกฤษ เข้ามาอยู่อาศัยในสหราชอาณาจักร ขณะที่รัฐบาลพยายามควบคุมจำนวนคน ซึ่งหลั่งไหลเข้าประเทศจากชายฝั่งทางตอนใต้ ด้วยเรือขนาดเล็กมากขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีริชี ซูแน็ก ผู้นำสหราชอาณาจักร ประกาศแผนยุทธศาสตร์ 5 ด้านใหม่ ในการจัดการกับการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รวมถึงแผนเร่งติดตามการกลับมาของผู้แสวงหาที่ลี้ภัยชาวแอลเบเนีย และสะสางคดีค้างดั้งเดิมของผู้ลี้ภัยเกือบ 150,000 คดี ภายในสิ้นปีหน้า โดยเพิ่มจำนวนคนทำคดีเป็น 2 เท่า UK prime minister Rishi Sunak has pledged to curb the record number of migrants coming to Britain in small boats across the English Channelhttps://t.co/OcEGV3F5of…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว