ผวาทั้งลำ! กัปตันตัดสินใจยกเลิกเทคออฟ หลังผู้โดยสารได้รับรูปซากเครื่องบินตก ผ่าน Airdrop

Loading

  มิร์เรอร์ รายงานเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ระบุว่า เกิดเหตุเครื่องบินที่เตรียมที่จะเทคออฟ ที่สนามบินเบกูเรียน ในเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ต้องยกเลิกเที่ยวบินลงหลังจากผู้โดยสารจำนวนหนึ่งได้รับ “ภาพซากเครื่องบินตก” จากผู้ส่งปริศนา ผ่านทางระบบ Airdrop ของ iPhone โดยเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบกระเป๋าเดินทางซ้ำและสืบสวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด รายงานระบุว่า มีผู้โดยสารจำนวนหนึ่งบนเรื่องบินโบอิ้ง 737 ของสายการบินอนาโดลูเจ็ต สายการบินในเครือของเตอร์กิชแอร์ไลน์ ได้รับรูปซากเครื่องบินของสายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ ที่ประสบอุบัติเหตุตกลงในกรุงอัมสเตอร์ดัม ในปี 2009 ที่ผ่านมา ผ่านทางระบบ Airdrop ของ iPhone ส่งผลให้บรรดาผู้โดยสารบนเครื่องแตกตื่น ขณะที่กัปตันตัดสินใจวนเครื่องกลับและยกเลิกเที่ยวบินเพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวทันที   ภาพที่ผู้โดยสารได้รับจากบุคคลปริศนา รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่ต้องนำกระเป๋าเดินทางทั้งหมดมาตรวจสอบซ้ำ และยังไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งภาพดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าต้องเป็นฝีมือของคนใดคนหนึ่งที่อยู่บนเครื่อง ทั้งนี้ มีผู้โดยสารหลายรายที่ได้รับคำขอส่งภาพเข้าสู่ระบบ Airdrop แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ได้กดรับภาพดังกล่าว โดยนอกจากภาพซากเครื่องเตอร์กิชแอร์ไลน์แล้ว ยังมีภาพซากเครื่องของสายการบินเอเชียนา เที่ยวบิน 214 ที่ตกในเมืองซานฟรานซิสโก ในปี 2013 ด้วย     ที่มา…

“เดลตา แอร์ไลน์” ทดสอบระบบจำใบหน้าลดขั้นตอนตรวจสอบ-ประหยัดเวลา

Loading

    สายการบินเดลตา แอร์ไลน์ของสหรัฐฯ เริ่มทดสอบการใช้งานระบบจดจำใบหน้าของผู้โดยสาร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบและประหยัดเวลามากขึ้น 29 ต.ค.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้โดยสารที่ต้องการเข้าร่วมการทดสอบจะต้องบันทึกข้อมูลในแอปพลิเคชันของสายการบินเดลตา แอร์ไลน์ และต้องลงทะเบียนกับสำนักงานความมั่นคงด้านการคมนาคม หรือ ทีเอสเอ     ซึ่งผู้โดยสารที่ใช้งานระบบจดจำใบหน้าจะต้องนำสัมภาระไปเช็คอินและโหลดลงสายพานด้วยตัวเอง จากนั้นสามารถเดินขึ้นเครื่องบินได้ ด้วยการสแกนใบหน้า เบื้องต้น การทดสอบระบบดังกล่าวจะเริ่มที่เมืองแอตแลนตา จากนั้นจะขยายไปที่เมืองดีทรอยต์     ผู้อำนวยการสายการบินเดลตา แอร์ไลน์ กล่าวว่า แนวคิดที่จะใช้ระบบจดจำใบหน้ากับผู้โดยสารมีขึ้นก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อเกิดการระบาดขึ้น     จำนวนผู้โดยสารลดลงอย่างมาก ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ที่จะใช้เวลาในช่วงดังกล่าวสร้างระบบและทดสอบการใช้งาน เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารยังมีไม่มาก เท่ากับว่าการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่วางแผนไว้ ที่มา : AP   —————————————————————————————————- ที่มา : ThaiPBS            / วันที่เผยแพร่ 29 ต.ค.2564 Link…

สนามบินสิงคโปร์ชางงีเริ่มทดสอบระบบจำแนกใบหน้าเพื่อตามหาตัวผู้โดยสารที่ไม่มาขึ้นเครื่อง

Loading

  ปัญหาของผู้โดยสารหายไม่มาขึ้นเครื่องจนสายการบินต้องประกาศตามนั้นเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เที่ยวบินล่าช้า เนื่องจากผู้โดยสารอาจกำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ภายในสนามบินจนอาจลืมดูเวลาไม่ได้มาขึ้นเครื่องบินตามกำหนด ล่าสุดท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีเริ่มทดสอบระบบจำแนกใบหน้าเพื่อตามหาผู้โดยสารหายมาใช้งานในสนามบินแล้ว โดยจะใช้ภาพจากกล้องเปรียบเทียบกับภาพบุคคลในฐานข้อมูลเพื่อตามผู้โดยสารที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของท่าอากาศยานให้มาขึ้นเครื่อง เพื่อลดระยะเวลาล่าช้าของเที่ยวบินลง Steve Lee หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของกลุ่มท่าอากาศยานชางงีกล่าวว่า “เรามีรายงานผู้โดยสารที่หายไปจำนวนมาก ดังนั้นหนึ่งในวิธีที่เราคิดได้คือจะต้องสืบและค้นหาผู้โดยสารที่กำลังจะเดินทาง แน่นอนว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากสายการบินด้วย” ปัจจุบัน T4 ซึ่งเป็นเทอร์มินัลใหม่ของสนามบินชางงีก็ได้นำมาใช้ในระบบบริการตนเองบ้างแล้ว เช่น เช็คอิน, แบ็คดรอป, ตรวจคนเข้าเมือง, ขึ้นเครื่องบิน ซึ่งท่าอากาศยานก็เตรียมนำระบบจำแนกใบหน้ามาปรับปรุงใช้ในเทอร์มินัล 1-3 ด้วย ซึ่ง Lee บอกว่าในอนาคตอาจจะสามารถใช้ไบโอเมตริกแทนพาสปอร์ตได้ Lee เผยว่านอกจากระบบรู้จำใบหน้าแล้ว ท่าอากาศยานชางงียังทดสอบเทคโนโลยีใหม่อยู่เรื่อย ๆ อย่างเช่นการใช้เซนเซอร์ตรวจสอบเมื่อเครื่องบินถอยกลับจากเกทหรือเมื่อเทคออฟ ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจสั่งการบนหอบังคับการบินดีขึ้น และลดเวลา taxiing ของเครื่องบินลงได้ถึง 90 วินาทีต่อเที่ยวในช่วงพีค หรือระบบ AI ที่ทำนายสภาพอากาศ, ลม และเส้นทางการแลนดิ้งของเครื่องบินเพื่อทำนายเวลาถึงสนามบินได้แม่นยำขึ้น   —————————————————————————————————————– ที่มา : Blognone nutmos / วันที่ 1…