จีนออกกฎใหม่ บังคับผู้ให้บริการแอปฯ มือถือทุกราย ต้องยื่นเอกสารธุรกิจ

Loading

  เว็บไซต์แชนแนลนิวส์เอเชียรายงานว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน (MIIT) กล่าวเมื่อวันอังคาร (8 ส.ค.) ว่า จะกำหนดให้ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือทุกรายในประเทศ ส่งข้อมูลรายละเอียดธุรกิจให้กับรัฐบาล โดยนับเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการควบคุมอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด   MIIT ระบุว่า แอปฯ ที่ไม่ได้ดำเนินการยื่นข้อมูลรายละเอียดธุรกิจอย่างถูกต้อง จะถูกลงโทษหลังจากพ้นระยะเวลาผ่อนผัน ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2567 โดยผู้เชี่ยวชาญมองว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจจำกัดจำนวนแอปฯ และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผู้พัฒนารายย่อย   นายโหย่ว อวิ๋นถิง ทนายความจากสำนักงานกฎหมายเดอบุนด์ ในนครเซี่ยงไฮ้ แสดงความเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวง กฎใหม่นี้มุ่งเป้าต่อสู้กับการฉ้อโกงทางออนไลน์ แต่กลับจะส่งผลกับแอปฯ ทั้งหมดในประเทศ   ขณะเดียวกัน นายริช บิชอป ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้านแอปพลิเคชันอย่าง แอปอินไชน่า (AppInChina) ระบุว่า กฎใหม่นี้มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้พัฒนาจากต่างชาติ ซึ่งสามารถเปิดตัวแอปฯ ผ่านแอปสโตร์ของแอปเปิ้ลได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องยื่นเอกสารต่อรัฐบาลจีน   นายบิชอปเสริมว่า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎใหม่นั้น บรรดาผู้พัฒนาแอปฯ จำเป็นจะต้องมีบริษัทตั้งอยู่ภายในประเทศจีน หรือทำงานร่วมกับผู้ให้บริการแอปฯ ในท้องถิ่นเท่านั้น   อย่างไรก็ดี แอปเปิ้ลยังไม่ได้ตอบกลับคำขอความคิดเห็นจากแชนแนลนิวส์เอเชียใด ๆ…

“DPS” กลไกกำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล หวังลดโกงออนไลน์อุ้มคนไทย

Loading

  กำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 21 ส.ค นี้  สำหรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS  (Digital Platform Services)   หลังได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.65 ซึ่งทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ภายใต้ การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้   การที่รัฐต้องตรากฎหมายนี้ออกมาก เพื่อหวังให้เป็นกลไกในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้มีความโปร่งใส และมีแนวทางในการคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้ใช้บริการ ได้อย่างเป็นธรรม!?!   หลังจากที่ผ่าน ๆ มา คนไทยที่ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล พอเกิดความเสียหาย ก็ไม่รู้ต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแจ้งไปที่ไหน หรือติดต่อผู้ให้บริการได้อย่างไร เพื่อขอความช่วยเหลือ!!   ภาพ pixabay.com   เช่นหลังจากในปีที่ผ่านมามีการร้องเรียนเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม และถูกฉ้อโกง ซื้อขายออนไลน์ กว่า 6 หมื่นเรื่อง!! แล้วใครบ้างล่ะ? ที่เข้าข่ายต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของก.ม. นี้?   หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ …