‘เซเลนสกี’ เยือนฝรั่งเศส-เยอรมนี ขอความช่วยเหลือเพิ่มให้ยูเครน

Loading

    ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เยือนฝรั่งเศสอย่างไม่มีการประกาศล่วงหน้าในคืนวันอาทิตย์ เพื่อหารือกับประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาคร็อง เรื่องความช่วยเหลือชุดใหม่ที่จะให้กับยูเครนเพื่อใช้ตอบโต้การโจมตีของรัสเซีย   สำนักงานประธานาธิบดีฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีมาคร็องเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับประธานาธิบดีเซเลนสกีในกรุงปารีส และจะยืนยันการสนับสนุนของฝรั่งเศสและยุโรปที่มีต่อยูเครนในการป้องกันตนเอง   นอกจากนี้ คาดว่าผู้นำทั้งสองคนจะหารือกันเรื่องความช่วยเหลือทางทหารและมนุษยธรรมที่จะให้กับยูเครน และมุมมองในการสร้างสันติภาพของยุโรปในระยะยาว   ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ ประธานาธิบดีเซเลนสกีเดินทางเยือนเยอรมนี และพบหารือกับนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ในประเด็นเกี่ยวกับแผนการตอบโต้การโจมตีของรัสเซีย รวมทั้งการยืนยันจากผู้นำยูเครนว่าจะมุ่งเน้นปลดปล่อยพื้นที่ในยูเครนที่รัสเซียครอบครองอยู่ แต่จะไม่โจมตีภายในดินแดนของรัสเซีย     ก่อนหน้านี้ สื่อวอชิงตันโพสต์ รายงานอ้างถึงเอกสารลับที่เล็ดลอดมาจากหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ ว่า เซเลนสกีเคยพิจารณาส่งกำลังทหารยึดครองดินแดนในรัสเซียเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับทางการกรุงมอสโกเพื่อให้เข้าสู่การเจรจาสันติภาพและยุติสงครามในยูเครน   หากเป็นเช่นนั้นจริงจะขัดกับหลักการของชาติตะวันตกที่ส่งความช่วยเหลือด้านอาวุธให้แก่ยูเครนภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่ถูกใช้โจมตีเป้าหมายในรัสเซีย   เมื่อถูกถามถึงรายงานดังกล่าว ปธน.เซเลนสกีกล่าวว่า “เราจะไม่โจมตีในดินแดนของรัสเซีย เราจะปลดปล่อยดินแดนของเราเท่านั้น” พร้อมย้ำว่า “เราไม่มีทั้งเวลาและกำลัง (ในการโจมตีรัสเซีย)” “เราไม่มีอาวุธเหลือพอที่จะทำเช่นนั้นด้วย”   เวลานี้ พื้นที่ที่รัสเซียครอบครองอยู่ คือ แคว้นไครเมีย และบางส่วนของภาคตะวันออกของยุเครนที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย     ครั้งนี้ถือเป็นการเยือนกรุงเบอร์ลินครั้งแรกของประธานาธิบดีเซเลนสกีนับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และก่อนหน้านี้หนึ่งวัน รัฐบาลเยอรมนีเพิ่งประกาศความช่วยเหลือทางทหารชุดใหม่มูลค่ามากกว่า 3,000…

ตูนิเซียสอบเหตุกราดยิงใกล้โบสถ์ยิว ดับอย่างน้อย 5 คน

Loading

  เกิดเหตุกราดยิงที่โบสถ์ยิวแห่งหนึ่งในตูนิเซีย มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน รวมถึงคนสัญชาติฝรั่งเศส ด้านฝรั่งเศสประณามเป็นการโจมตีที่ชั่วร้าย   เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2566 เกิดเหตุการณ์กราดยิงใกล้โบสถ์ยิว บนเกาะ Djerba ของตูนิเซีย จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 5 คน   ผู้ก่อเหตุเป็นสมาชิกกองกำลังพิทักษ์ชาติ ได้สังหารเพื่อนร่วมงาน 1 คน ก่อนมุ่งหน้าไปโบสถ์แห่งนี้ที่กำลังมีคนหลายร้อยคนเข้าร่วมแสวงบุญประจำปี จากนั้นได้ก่อเหตุกราดยิงผู้มาแสวงบุญและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จนทำให้มีผู้แสวงบุญเสียชีวิต 2 คน โดยทั้งคู่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน คนหนึ่งเป็นชาวตูนิเซียอายุ 30 ปี และอีกคนมีสัญชาติฝรั่งเศสอายุ 42 ปี   ส่วนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เสียชีวิตทั้งหมด 3 คน ในจำนวนนี้ 1 คนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสาหัส นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 8 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 4 คน ขณะที่ผู้ก่อเหตุถูกเจ้าหน้าที่ยิงจนเสียชีวิต   ด้านกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ประณามเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าเป็นการโจมตีที่ชั่วร้าย โดยแสดงความกังวลและความโศกเศร้าอย่างสุดซึ้ง ขณะที่กระทรวงมหาดไทยของตูนิเซีย…

ฝรั่งเศสวางแผนเป็นประเทศแรกใช้ AI กับระบบกล้องวงจรปิดในโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส!

Loading

    ณ ตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การใช้เทคโนโลยี AI กำลังมาแรงอย่างมาก โดยล่าสุดฝรั่งเศสเองก็มีแผนจะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับระบบกล้องวงจรปิดในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 ที่จะจัดขึ้นที่ปารีส   อ้างอิงจาก The Register พบว่าล่าสุดฝรั่งเศสได้ปรับใช้มาตรา 7 ของกฎหมายสำหรับกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 เพื่ออนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับวิดีโอจากกล้องวงจรปิดและกล้องโดรน   ตัวระบบจะใช้ในการตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติในที่สาธารณะ เช่น พฤติกรรมที่ผิดแผกไป เหตุการณ์ที่เหมือนมีการวางแผนเอาไว้ หรือเหตุการณ์ที่จำนวนคนล้น เป็นต้น ซึ่งหากแผนการนี้ได้รับการอนุมัติก็จะทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว   อย่างไรก็ตามก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้เช่นกัน โดยมีองค์กรภาคประชาสังคม 38 องค์กรที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวและได้ส่งจดหมายเปิดผนึก มีเนื้อหาว่า มาตรการสอดแนมนั้นละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างไม่อาจยอมรับได้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในความเป็นส่วนตัว, อิสระในการรวมกลุ่ม และสิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติ   “หากจุดประสงค์ของอัลกอริทึม AI ของกล้องทำเพื่อตรวจจับเหตุการณ์น่าสงสัยในพื้นที่สาธารณะ พวกเขาก็จำเป็นที่จะบันทึกภาพและวิเคราะห์ลักษณะทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมของบุคคลในพื้นที่เหล่านี้ เช่น ตำแหน่งร่างกาย, ท่าเดิน, การเคลื่อนไหว หรือรูปลักษณ์ภายใน” เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกระบุ       อ้างอิง Techspot  …

ฝรั่งเศส ร่างกฎหมายห้ามพ่อ-แม่ โพสต์รูปลูกบนโซเชียลมีเดีย หากเด็กไม่ยินยอม เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว

Loading

    ฝ่ายนิติบัญญัติของฝรั่งเศส อนุมัติกฎหมายใหม่เพื่อช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กบนอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายแล้ว และผู้ปกครองในประเทศจะถูกห้ามไม่ให้โพสต์หรือแชร์ภาพถ่ายของลูก ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต   ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกเสนอโดย บรูโน สตูเดอร์ (Bruno Studer) นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (MP) และผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส   เนื้อความในกฎหมาย ระบุว่า ทั้งพ่อและแม่ต้องรับผิดชอบต่อสิทธิในรูปภาพของเด็ก หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการโพสต์รูป ศาลครอบครัวมีสิทธิ์เป็นผู้ตัดสินหรือสั่งห้ามโพสต์ทั้งคู่ หากภาพดังกล่าว “ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีหรือศีลธรรมอันดีของเด็ก” โดยการตัดสินใจว่าจะโพสต์ภาพลูกลงในสื่อออนไลน์หรือไม่ จะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย โดยพิจารณาจากอายุและระดับวุฒิภาวะของเด็กคนนั้น ๆ   และหากผู้ปกครอง ยังฝ่าฝืนโพสต์รูปที่อาจเป็นปัญหาต่อจิตใจของเด็กอย่างร้ายแรงในอนาคต ศาลสามารถเพิกถอนอำนาจและสิทธิของพ่อแม่ได้ทันที   สภาสมาคมเพื่อสิทธิเด็กแห่งฝรั่งเศส อ้างถึงการแจ้งเตือนจากยูโรโพล (Europol) และอินเตอร์โพล (Interpo)l เกี่ยวกับการแพร่กระจายของเนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กทางออนไลน์ และการแพร่หลายของเนื้อหาที่ผลิตขึ้นเองโดยเยาวชนเองหรือคนรอบข้าง   อันจา สตีวิต (Anja Stevic) นักวิจัยด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยเวียนนา เชื่อว่าจำเป็นต้องปกป้องเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่มีเสียงพูดต่อต้านภาพที่พ่อแม่แชร์ทางออนไลน์   โดยร่างกฎหมายนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกและได้รับความเห็นชอบจากนักจิตวิทยาเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียด้วย          …

แท็กทีมแบน! ‘ฝรั่งเศส’ สั่งห้าม จนท.รัฐใช้ TikTok บนมือถือทำงาน

Loading

    รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศห้ามข้าราชการใช้แอปพลิเคชัน TikTok บนโทรศัพท์มือถือสำหรับทำงาน โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   สตานิสลาส เกรินี รัฐมนตรีกระทรวงข้าราชการของฝรั่งเศส ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า “เพื่อรับรองความมั่นคงทางไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐและข้าราชการ รัฐบาลจึงตัดสินใจห้ามการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสันทนาการต่างๆ เช่น TikTok บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการทำงานของข้าราชการ”   เกรินี ย้ำว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศหุ้นส่วนทั้งในยุโรปและนานาชาติต่างก็ใช้มาตรการจำกัด/แบนการดาวน์โหลดและติดตั้ง TikTok เนื่องจากแอปพลิเคชันเพื่อสันทนาการเหล่านี้มีระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลผู้ใช้ไม่มากพอที่จะใช้งานบนอุปกรณ์ของรัฐ   คำสั่งแบนนี้มีผลบังคับใช้ทันที และทางการฝรั่งเศสจะติดตามผลการปฏิบัติตามคำสั่งของข้าราชการด้วย   รัฐบาล และสถาบันต่างๆ ของตะวันตกเริ่มทยอยสั่งแบน TikTok กันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น รัฐสภาอังกฤษ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเบลเยียม และรัฐสภานิวซีแลนด์ เป็นต้น   เมื่อปลายเดือน ก.พ. คณะกรรมาธิการยุโรปและคณะมนตรียุโรปซึ่งเป็น 2 องค์กรบริหารใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป (อียู) ก็ได้ประกาศห้ามเจ้าหน้าที่ใช้แอป TikTok โดยอ้างเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์เช่นกัน   หลายประเทศต่างแสดงความวิตกกังวลว่ารัฐบาลจีนอาจจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ TikTok เช่น สถานที่อยู่ หรือรายชื่อผู้ติดต่อผ่านทางฐานข้อมูลของ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่สัญชาติจีน…

“กษัตริย์ชาร์ลส์” เลื่อนเยือนฝรั่งเศส หลังม็อบประกาศยกระดับการชุมนุม

Loading

ภาพ: รอยเตอร์   ทางการอังกฤษและฝรั่งเศสได้ประกาศเลื่อนการเสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศสของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ที่มีกำหนดในวันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค.แล้ว ท่ามกลางความวุ่นวายในฝรั่งเศส ขณะที่สหภาพแรงงานประกาศยกระดับการชุมนุมประท้วง โดยการนัดหยุดงานทั่วประเทศในวันที่ 28 มี.ค.   รัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศสทำการตัดสินใจดังกล่าว หลังจากที่ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3   ทั้งนี้ กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา มีกำหนดการเยือนฝรั่งเศสในระหว่างวันที่ 26-29 มี.ค.   การเดินทางดังกล่าวนับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 นับตั้งแต่ที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในเดือนก.ย.2565   อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสกำลังเผชิญเหตุการณ์วุ่นวาย ขณะที่สหภาพแรงงานประกาศผละงานประท้วงครั้งใหญ่ โดยล่าสุดประกาศนัดหยุดงานทั่วประเทศในวันที่ 28 มี.ค. เนื่องจากไม่พอใจต่อมาตรการปฏิรูประบบบำนาญของประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ซึ่งใช้อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญในการอนุมัติกฎหมายเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 ปี เป็น 64 ปีโดยไม่ผ่านการลงมติในรัฐสภา   นอกจากนี้ ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกการเดินทางเยือนฝรั่งเศสของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 โดยเตือนว่า ประมุขแห่งสหราชอาณาจักรอาจตกเป็นเป้าหมาย…