‘ประเสริฐ’ สั่งจัดการคนซื้อขายข้อมูล พร้อมเสนอแก้ ก.ม.ปราบ ‘โจรไซเบอร์-คอลเซ็นเตอร์’

Loading

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า  ในช่วงที่ผ่านมา มีปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลประชาชน ตลอดจนการซื้อขายข้อมูลประชาชนตามที่เป็นข่าว ล่าสุดมีเว็บในต่างประเทศประกาศขายข้อมูลคนไทย 30 ล้านคน ซึ่งได้สั่งการให้ประสาน ปิดกั้น ตลอดจนสั่งการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)  ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (สกมช.) และ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เร่งดำเนินการที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว

ป่วนใต้กลับใจอบรม 2 ปี – ขยายถึง “ผู้ต้องสงสัย”

Loading

“รองนายกฯสมศักดิ์” นั่งหัวโต๊ะ กพต. ตั้งคณะอนุกรรมการฯทบทวน “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ-พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ” ชงแก้มาตรา 21 หลังใช้ตั้งแต่ปี 53 มีผู้กลับใจผ่านการอบรมแค่ 7 ราย เงื่อนไขใหม่เข้ากระบวนการนานสุด 2 ปี ขยายถึงกลุ่มต้องสงสัย ด้าน รมช.มหาดไทย “ทรงศักดิ์ ทองศรี” เผย 18 ปีแก้ไฟใต้ 33 อำเภอได้ไม่ถึงครึ่ง ละลายงบลงพื้นที่ เปรียบซื้อเป็ดก็เดินชนกันตาย

1,158 หน่วยงาน ข้อมูลรั่ว “ประเสริฐ” สั่งเร่งแก้ หากยังผิดซ้ำใช้กฎหมายลงโทษ

Loading

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลประชาชน ตลอดจนการซื้อขายข้อมูลประชาชนตามที่เป็นข่าว จึงได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดยแบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน 30 วัน ระยะ 6 เดือน และระยะ 12 เดือน

“สกมช.” แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ก.ม. ไซเบอร์ฯ รับมือภัยคุกคามรุนแรงขึ้น

Loading

  แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จำนวน 65 คน เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) มีภารกิจที่สำคัญที่ต้องดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์   รวมทั้งปฏิบัติการ ประสานงาน สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือหน่วยงาน เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง เหตุการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้น และรูปแบบการโจมตียังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป   ซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวอาจส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้น การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในวันนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ป้องกัน และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ อันจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในวงกว้างได้   ด้าน พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า สกมช. ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จำนวน 65…

“บิ๊กป้อม”ลงนามประกาศการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แล้ว เผยแพร่ ราชกิจจาฯ

Loading

  ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง ลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ มาตรการป้องกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์แต่ละระดับ มีผลบังคับใช้วันนี้ (12 ธ.ค.64 ) 12 ธ.ค.64 ผํู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.64 ราชกิจจาฯเผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง ลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ มาตรการป้องกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์แต่ละระดับ พ.ศ. ๒๕๖๔ ลงนามโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กำหนดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป   ประกาศฉบับดังกล่าว ระบุว่า โดยที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ประกาศกำหนดรายละเอียดของลักษณะ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ มาตรการป้องกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์ แต่ละระดับ…