ภัยไซเบอร์ เป็นปัญหาระดับชาติ ชวนดู วิธีการแก้ไข กับ สัมภาษณ์พิเศษ พร้อมๆกัน

Loading

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นอะไรที่เป็นปัญหาของแต่ละประเทศมาก และเรื่องนี้ ทำให้เกิดคำถามแก่ผู้เสียหายหลายคนว่า ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีเท่าไหร่นัก วันนี้ Spring จะชวนมาแก้ไขปัญหาของภัยไซเบอร์ที่เรียกได้ว่าเสมือนกับระดับชาติ ไปกับ คุณปิยะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทาง Spring ผ่านบทความนี้กันค่ะ

ความปลอดภัยไซเบอร์ “โรงงานอัจฉริยะ”ต้องคำนึงถึงในยุคปฏิวัติระบบดิจิทัล

Loading

ระบบรักษาความปลอดภัยควรผสานรวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจทางเทคนิคและสถาปัตยกรรมระบบในทุกส่วน ตั้งแต่การก่อตั้งและออกแบบโรงงานไปจนถึงการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ภาคการผลิตจำเป็นต้องใช้แนวทางใหม่ในการปกป้องระบบโรงงานอัจฉริยะ จากเดิมที่มองข้ามความสำคัญต่อการลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และการป้องกัน ก่อนตกเป็นเป้าของคนร้าย

เปิด ‘ความเสี่ยงไซเบอร์’ องค์กรไทย หวั่น ‘มัลแวร์-แฮ็กบัญชี’ โจมตีหนัก

Loading

  ‘พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ขณะที่องค์กรไทยหนักใจ “มัลแวร์” มากสุด   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบอดีต   ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญเหล่านั้นต้องเผชิญกับการโจมตีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่าภาคส่วนอื่น ๆ     ข้อกังวลอันดับต้น ๆ องค์กรไทย   ขณะที่ ประเภทการโจมตีที่องค์กรในไทยมีความกังวลมากที่สุด ได้แก่ มัลแวร์ 57% และการเข้าควบคุมบัญชีผู้ใช้ 57% และการโจมตีรหัสผ่าน 53% ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ต้องพึ่งพาบริการและแอปพลิเคชันระบบคลาวด์มากขึ้น ธุรกิจในไทยระบุว่า…

Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนในไทย

Loading

  กรุงเทพฯ – 31 กรกฎาคม 2566, พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ GTP-4 ของ OpenAI เพื่อมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีความสนใจในเครื่องมือ ChatGPT   โทรจัน Meterpreter ที่ปลอมตัวเป็นแอป “SuperGPT” และ “ChatGPT” มีพฤติกรรมในการส่งข้อความพิเศษค่าบริการราคาแพงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ในไทย ทำให้ผู้ใช้โดนคิดเงินอย่างไม่รู้ตัวและสร้างรายได้แก่คนร้ายมหาศาล ที่น่ากังวลก็คือ ผู้ใช้ Android สามารถดาวน์โหลดแอปได้จากหลายช่องทางนอกเหนือไปจาก Google Play Store ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะได้รับแอปซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก Google   ข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจมีดังนี้   •   การปลอมตัวเป็น ChatGPT: มัลแวร์ใหม่บน Android มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยปลอมตัวเป็น ChatGPT และถูกปล่อยออกมาในช่วงที่มีการเปิดตัว GPT-3.5…

สู้ภัยกลโกงการเงินด้วยระบบไบโอเมตริก หลอกระบบด้วยรูปภาพ-สวมหน้ากากไม่ได้!

Loading

  เปิดเหตุผลทำไมการเสริมการป้องกันกลโกงการเงิน จึงทำได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก? โดยหนึ่งในเหตุผลนั้น คือระบบไบโอเมตริกวันนี้เฉลียวฉลาดสุด ๆ และไม่สามารถ “หลอก” ด้วยรูปภาพ หรือการสวมหน้ากากใด ๆ   นายธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค และแนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน   “ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น”   ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์   พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ประเมินสถานการณ์วันนี้ว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร.) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์   เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง…

66% ของมัลแวร์แพร่ระบาดผ่านไฟล์ PDF ตามข้อมูลรายงานฉบับล่าสุดจาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์

Loading

    ช่องโหว่และรูรั่วต่างๆ ยังคงเป็นวิธีการที่คนร้ายนิยมใช้แพร่กระจายมัลแวร์สู่เป้าหมาย โดยเมื่อปีที่ผ่านมามีความพยายามโจมตีช่องโหว่ต่างๆ เพิ่มขึ้นถึง 55%   กรุงเทพฯ – 12 มิถุนายน 2566 – วันนี้ พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ (NASDAQ: PANW) ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผย รายงานวิจัยแนวโน้มภัยคุกคามบนเครือข่ายฉบับที่ 2 จาก Unit 42 ที่วิเคราะห์ข้อมูลทางไกลทั่วโลกจาก ไฟร์วอลล์รุ่นใหม่หรือ Next-Generation Firewalls (NGFW), Cortex Data Lake, ระบบกรอง URL ขั้นสูง หรือ Advanced URL Filtering และ Advanced WildFire โดยสามารถตรวจพบแนวโน้มภัยคุกคามของมัลแวร์และให้ข้อมูลการวิเคราะห์แนวโน้มมัลแวร์ที่สำคัญส่วนใหญ่ซึ่งกำลังแพร่ระบาดทั่วไปในวงกว้าง   ที่ผ่านมาอัตราการโจมตีช่องโหว่ไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ในปี 2564 มีความพยายามราว 147,000 ครั้ง และเพิ่มขึ้นเป็น 228,000…