สู้ภัยกลโกงการเงินด้วยระบบไบโอเมตริก หลอกระบบด้วยรูปภาพ-สวมหน้ากากไม่ได้!

Loading

  เปิดเหตุผลทำไมการเสริมการป้องกันกลโกงการเงิน จึงทำได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก? โดยหนึ่งในเหตุผลนั้น คือระบบไบโอเมตริกวันนี้เฉลียวฉลาดสุด ๆ และไม่สามารถ “หลอก” ด้วยรูปภาพ หรือการสวมหน้ากากใด ๆ   นายธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค และแนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน   “ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น”   ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์   พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ประเมินสถานการณ์วันนี้ว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร.) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์   เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง…

66% ของมัลแวร์แพร่ระบาดผ่านไฟล์ PDF ตามข้อมูลรายงานฉบับล่าสุดจาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์

Loading

    ช่องโหว่และรูรั่วต่างๆ ยังคงเป็นวิธีการที่คนร้ายนิยมใช้แพร่กระจายมัลแวร์สู่เป้าหมาย โดยเมื่อปีที่ผ่านมามีความพยายามโจมตีช่องโหว่ต่างๆ เพิ่มขึ้นถึง 55%   กรุงเทพฯ – 12 มิถุนายน 2566 – วันนี้ พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ (NASDAQ: PANW) ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผย รายงานวิจัยแนวโน้มภัยคุกคามบนเครือข่ายฉบับที่ 2 จาก Unit 42 ที่วิเคราะห์ข้อมูลทางไกลทั่วโลกจาก ไฟร์วอลล์รุ่นใหม่หรือ Next-Generation Firewalls (NGFW), Cortex Data Lake, ระบบกรอง URL ขั้นสูง หรือ Advanced URL Filtering และ Advanced WildFire โดยสามารถตรวจพบแนวโน้มภัยคุกคามของมัลแวร์และให้ข้อมูลการวิเคราะห์แนวโน้มมัลแวร์ที่สำคัญส่วนใหญ่ซึ่งกำลังแพร่ระบาดทั่วไปในวงกว้าง   ที่ผ่านมาอัตราการโจมตีช่องโหว่ไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ในปี 2564 มีความพยายามราว 147,000 ครั้ง และเพิ่มขึ้นเป็น 228,000…

‘พาสเวิร์ด’!! รหัสอันตราย เปิดวิธี ‘ตั้งรหัสผ่าน’แบบไหนไม่โดนแฮ็ก !!

Loading

    เปิดวิธีตั้งพาสเวิร์ดแบบไหน ปลอดภัยที่สุด ‘พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์’ ผู้นำด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เปิดบทวิเคราะห์ “รหัสผ่าน” หรือพาสเวิร์ด ที่หากเจ้าของละเลย ไม่ระวัง จะนำไปสู่ต้นตอ การถูกละเมิดข้อมูล สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง   ในบทวิเคราะห์นี้ ระบุว่า รหัสผ่านที่หละหลวม เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามอันใหญ่หลวง และเป็นหนึ่งในจุดเปราะบางสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาการละเมิดข้อมูล การหลอกลวงด้วยฟิชชิง และการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   การเริ่มต้นใช้รหัสผ่านในยุค 1960 ทำให้โลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้ “รหัสผ่าน” ได้กลายเป็นวิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ใช้กันจนคุ้นชินโดยไม่ต้องท่องจำ ตั้งแต่ชื่อสัตว์เลี้ยงตัวแรกไปจนถึงชื่อจังหวัดเกิดของเรา วันนี้รหัสผ่านเป็นปราการหลักที่คอยปกป้องความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนเรื่องธนาคารและการเงิน   อย่าคิดว่า “รหัสผ่าน” จะปลอดภัย   แม้จะทราบเช่นนั้น แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมองว่ารหัสผ่านเป็นมาตรการที่ปลอดภัยเพียงพอ ทั้งที่จริงเป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยเพราะคาดเดาได้ง่ายก็ตาม เพราะชื่อสุนัข ชื่อคู่สมรส วันเกิด หรือถ้อยคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคุณซึ่งพบเห็นได้บนโพรไฟล์โซเชียล มีเดีย ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้โจมตีสืบเสาะได้ง่ายเช่นกัน   จริงที่ว่าหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลตกเป็นภาระของบริษัทที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว แต่ผู้บริโภคก็ทำอะไรได้หลายอย่างเพื่อปกป้องข้อมูลการเข้าสู่ระบบของตนเองเช่นกัน    …

“Unit 42″เผยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ก่อปัญหาการข่มขู่เพิ่มขึ้น 20 เท่า ไทยติดอันดับ 6 ในภูมิภาค

Loading

    Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เปิดเผยรายละเอียดยุทธวิธีล่าสุดของแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ในแถบญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ บริการเฉพาะด้านและบริการทางกฎหมาย รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ตกเป็นเป้าหมายหลักในไทย   รายงานฉบับใหม่จากพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ พบว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่และวายร้ายขู่กรรโชกกำลังใช้เทคนิคที่รุนแรงยิ่งขึ้นเพื่อกดดันองค์กรต่างๆ โดยมีการข่มขู่เพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2564  ตามข้อมูลการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42™ การข่มขู่ดังกล่าวมีทั้งทางโทรศัพท์และอีเมลที่มุ่งเป้าเป็นรายบุคคล โดยมากมักเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือแม้แต่ลูกค้าของบริษัท เพื่อกดดันให้องค์กรยอมจ่ายค่าไถ่ตามที่เรียกร้อง   โดย รายงานมัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขู่กรรโชกประจำปี 2566 จาก Unit 42 เผยข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมจากการรับมืออุบัติการณ์ประมาณ 1,000 กรณี โดย Unit 42 ตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยการเรียกร้องของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของหลายองค์กรในช่วงปีที่ผ่านมา มีการจ่ายเงินสูงถึงกว่า 7 ล้านดอลลาร์ในบางกรณีที่ Unit 42 ทราบเรื่อง ค่ามัธยฐานของค่าไถ่อยู่ที่ 650,000 ดอลลาร์ ในขณะที่ค่ามัธยฐานของการจ่ายค่าไถ่อยู่ที่ 350,000 ดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิภาพช่วยลดจำนวนค่าไถ่ที่ต้องจ่ายจริง   เวนดี วิตมอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าทีม Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าว กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่และนักกรรโชกทรัพย์บีบบังคับเหยื่อ  โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเพิ่มโอกาสที่จะได้เงินค่าไถ่ การข่มขู่เกิดขึ้นกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทุกๆ 1 ใน 5 กรณี ที่เราตรวจพบในช่วงหลัง จนเห็นได้ชัดถึงความพยายามของกลุ่มคนเหล่านี้ในการเรียกร้องเงิน…